HTR & Re.HTr Club Webboard
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

เอกลักษณ์แห่งกรุงเทพมหานคร

5 posters

หน้า 1 จาก 2 1, 2  Next

Go down

เอกลักษณ์แห่งกรุงเทพมหานคร Empty เอกลักษณ์แห่งกรุงเทพมหานคร

ตั้งหัวข้อ by Volwar Sun Jul 04, 2010 12:25 pm


กรุงเทพมหานครชื่อเดิมว่าบางกอก ถูกสถาปนาเป็นเมืองหน้าด่านเมื่อรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (ครองราชย์ พ.ศ. 2091 -พ.ศ. 2111) โดยมีนามว่า เมืองทณบุรีศรีมหาสมุทร เป็นเมืองที่คอยเก็บค่าภาษีผ่าทาง เป็นเมืองท่าที่จะต้องแวะก่อนเดินทางไปสู่กรุงศรีอยุธยาจึงมีวัดมากมายในกรุงเทพมหานครที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยแต่เดิมนั้นเมืองบางกอกคือ 2 ฝากฝั่งแม่น้ำ ต่อมาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงสถาปนาเป็นเมืองหลวง คือกรุงธนบุรี เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2313 โดยทั้งฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรีในปัจจุบันนั้นเป็นเมืองหลวงไม่ใช่ว่า แค่ฝั่งธนบุรีในปัจจุบันเท่านั้นเป็นเมืองหลวง ต่อมาสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) ทรงสถาปนาให้เมืองบางกอก เป็นราชธานีแค่ฝั่งเดียว เพราะเมืองบางกอกเดิมมีแม่น้ำผ่ากลางเป็นเมืองอกแตกยากแก่การรักษาเมือง เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2325 ต่อมาเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2514 รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจรได้รวม จังหวัดพระนคร และ จังหวัดธนบุรี เข้าด้วยกันเป็น นครหลวงกรุงเทพธนบุรี และภายหลังการปรับปรุงการปกครองใหม่เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515 จึงได้เปลี่ยนเป็นชื่อเป็น กรุงเทพมหานคร แต่นิยมเรียกกันว่า กรุงเทพฯ

*อ้างอิง th.wikipedia.org
www.youtube.com
** ข้อมูลอาจจะมีการเพิ่มเติมมากขึ้นใหม่ได้

ต่อไปคือรายชื่อสถานที่ท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร




แก้ไขล่าสุดโดย Volwar เมื่อ Fri Feb 04, 2011 4:21 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
Volwar
Volwar
Webmaster
Webmaster

จำนวนข้อความ : 572
คะแนน : 770
คะแนนชื่อเสียง : 14
Join date : 23/01/2010
Age : 30
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ถนนไม่มีรถเมล์ กทม.

ขึ้นไปข้างบน Go down

เอกลักษณ์แห่งกรุงเทพมหานคร Empty รายชื่อสถานที่ท่องเที่ยวกรุงเทพมหานครทั้ง 50 เขต

ตั้งหัวข้อ by Volwar Sun Jul 04, 2010 1:08 pm

1. เขตคลองเตย
การท่าเรือแห่งประเทศไทย
ตลาดปีนัง
ตำหนักปลายเนิน
พิพิธภัณฑ์เภสัชกรรมไทย
โรงงานยาสูบ
วัดคลองเตยนอก
วัดคลองเตยใน
วัดสะพาน
ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลอง)
สวนเบญจกิติ
องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก
อุทยานเบญจสิริ

2. เขตคลองสาน
ท่าเรือคลองสาน
บ้านพาทยากุล
ป้อมป้องปัจจามิตร
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เขตคลองสาน
พิพิธภัณฑ์สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
วัดทองธรรมชาติวรวิหาร
วัดทองนพคุณวรวิหาร
วัดพิชยญาติการาม
วัดอนงคงคารามวรวิหาร
ศาลกวนอู
สมาคมเผยแผ่คุณธรรม "เต็กก่า" จีจินเกาะ
อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
อนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสิน *

3. เขตคลองสามวา
ซาฟารีเวิลด์
บางกอกฟาร์ม
มัสยิดมาลุลอิสลาม
มารีนปาร์ค
วัดพระยาสุเรนทร์
วัดสัมมาชัญญาวาส
แหล่งเพาะพันธุ์ปลาสวยงาม

4. เขตคันนายาว
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเขตคันนายาว
วัดราษฎร์ศรัทธาธรรม (บางชัน)
ศูนย์การค้าแฟชั่นไอร์แลนด์
สวนสยาม

5. เขตจตุจักร
ตลาดนัดสวนจตุจักร
ธนาคารเชื้อพันธุ์พืชแห่งชาติ
พิพิธภัณฑ์กรมวิทยาศาสตร์ทหารบก
พิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์ทางสัตวแพทย์
พิพิธภัณฑ์ดิน
พิพิธภัณฑ์เด็ก
พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย ธนาคารไทยพาณิชย์
พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา กรุงรัตนโกสินทร์
พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาการประมง
พิพิธภัณฑ์ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พิพิธภัณฑ์พยาธิวิทยา
พิพิธภัณฑ์พืชสิรินธร
พิพิธภัณฑ์มด
พิพิธภัณฑ์ศาลไทย
พิพิธภัณฑ์สัตววิทยา
พิพิธภัณฑ์อัยการไทย
รัชดาไนท์ คืนวันเสาร์
วัดเสมียนนารี
ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ศูนย์หัตถกรรมทองลงหิน
สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำจืดกรุงเทพฯ
สวนจตุจักร
สวนรถไฟ
สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
สำนักพิพิธภัณฑ์และวัฒนธรรมการเกษตร
หอเกียรติภูมิรถไฟ
หอประวัติกรมวิชาการเกษตร
หอประวัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
อุทยานพี่เสื้อและแมลงกรุงเทพมหานคร

6. เขตจอมทอง
การท่องเที่ยวคลอง
คลองด่าน
ตลาดน้ำวัดไทร
ตำหนักพระเจ้าเสือ
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เขตจอมทอง
พิพิธภัณฑ์วัดหนัง
วัดแก้วไพฑูรย์
วัดไทร
วัดนางนองวรวิหาร
วัดบางขุนเทียนกลาง
วัดบางขุนเทียนนอก
วัดบางขุนเทียนใน
วัดบางประทุนนอก
วัดยายร่ม
วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร
วัดศาลาครืน
วัดหนังราชวรวิหาร

7. เขตดอนเมือง
ตลาดฝั่งโขง
ตลาดใหม่ดอนเมือง
บ่อตกปลาเทพนคร
พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เขตดอนเมือง
พิพิธภัณฑ์หน่วยบัญชากรป้องกันภัยทางอากาศ
เรือนรัตนโกสินทร์
วัดดอนเมือง
วัดพรหมรังษี
วัดสีกัน

8. เขตดินแดง
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เขตดินแดง
พิพิธภัณฑ์นักศึกษาวิชาทหาร
ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น)
หอประวัติมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

9. เขตดุสิต
ตึกไทยคู่ฟ้า
ทำเนียบรัฐบาล
โบสถ์ฟรังซิส เซเวียร์
พระตำหนักสวนจิตรลดารโหฐาน
พระตำหนักสวนกุหลาบ
พระตำหนักสี่ฤดู
พระที่นั่งอนันตสมาคม
พระที่นั่งอภิเษกดุสิต
พระที่นั่งอัมพรสถาน
พระบรมรูปทรงม้า
พระราชวังสวนสุนันทา
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ วัดเบญจมบพิตร
พิพิธภัณฑ์กรมขนส่งทางบก
พิพิธภัณฑ์กรมการทหารสื่อสาร
พิพิธภัณฑ์เครื่องราชูปโภค และพระสาทิสลักษณ์
พิพิธภัณฑ์เด็กเกียกกาย
พิพิธภัณฑ์ช้างต้น
พิพิธภัณฑ์ตำรวจ
พิพิธภัณฑ์ทหารการวิจัยและพัฒนากองทัพบก
พิพิธภัณฑ์ทหารสรรพาวุธ กรมสรรพาวุธทหารบก
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เขตดุสิต
พิพิธภัณฑ์นาฬิกาโบราณ
พิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณ
พิพิธภัณฑ์พระที่นั่งวิมานเมฆ
พิพิธภัณฑ์ภาพถ่าย ฝีพระหัตถ์
พิพิธภัณฑ์ภาพพระราชพิธี
พิพิธภัณฑ์ในโรงเรียนเซนต์คาเบรียล
พิพิธภัณฑ์รถม้าพระที่นั่ง
พิพิธภัณฑ์และจดหมายเหตุรัฐสภา
พิพิธภัณฑ์ศิลปาชีพ พระที่นั่งอภิเษกดุสิต
พิพิธภัณฑ์สวนสัตว์ดุสิต
พิพิธภัณฑ์หนังสือพิมพ์ไทย
รัฐสภา
วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร
วัดราชาธิวาส
วังกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
วังกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
วังกรมหลวงลพบุรีราเมศร์
วังจันทรเกษม
วังปารุสกวัน
สถาบันราชภัฏสวนดุสิต (วิทยาลัยครูสวนดุสิต)
สวนสัตว์ดุสิต (เขาดินวนา)
สะพานกรุงธน *
หอเกียรติภูมินายกรัฐมนตรี
หอสมุดแห่งชาติ

10. เขตตลิ่งชัน
ตลาดน้ำคลองลัดมะยม
ตลาดน้ำตลิ่งชัน
ตลาดน้ำวัดสะพาน
บ้านจักรยาน
บ้านหัตถกรรม พิพิธภัณฑ์เรือจำลองตลิ่งชัน
วัดเกาะ
วัดไก่เตี้ย
วัดจำปา
วัดชัยพฤกษมาลา
วัดตลิ่งชัน
วัดรัชฎาธิฐาน
วัดสะพาน
วัดอินทราวาส
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินทร

11. เขตทวีวัฒนา
คลองมหาสวัสดิ์ **
ตลาดนัดธนบุรี (สนามหลวง 2)
ถนนอุทยาน (อักษะ)
บ้านพิพิธภัณฑ์
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เขตทวีวัฒนา
พิพิธภัณฑ์พระกำนันชูชาติ
วัดปุรณาวาส
สวนทวีวนารมย์
อุทยานแมวไทยโบราณ

12. เขตทุ่งครุ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี (บางมด)
วัดบางมดโสธราราม (วัดกลางนา)
วัดพุทธบูชา
วัดหลวงพ่อโอภาสี
ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ
ศูนย์วัฒนธรรมอิสลามแห่งประเทศไทย
สวนธนบุรีรมย์
สวนส้มบางมด
สำนักงานเขตทุ่งครุ

13. เขตธนบุรี
ชุมชนกุฎีจีน
ตลาดพลู
บ้านเครื่อง
บ้านศิลปะไทย (ชุมชนวัดบางไส้ไก่)
โบสถ์ซางตาครู้ส (กุฎีจีน)
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เขตธนบุรี
พิพิธภัณฑ์บ้านสมเด็จเจ้าพระยา
พิพิธภัณฑ์พระ ประยูรภัณฑาคาร
วงเวียนใหญ่
วัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร
วัดประยุรวงศาวาส วรวิหาร
วิหารสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอินทาราม
ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
สะพานกรุงเทพ *
สะพานพระปกเกล้า *
สะพานพระพุทธยอดฟ้ายอดฟ้าจุฬาโลก *

หมู่บ้านลาว 200 ปี
อนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสิน *

14. เขตบางกอกน้อย
กำแพงวังหลัง
ขันลงหินบ้านบุ
คลองบางกอกน้อย
ตรอกข้าวเม่า
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเรือพระราชพิธี
พิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์คองดอน
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เขตบางกอกน้อย
พิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์สงกรานต์ นิยมเสน
พิพิธภัณฑ์ในโรงพยาบาลศิริราช
พิพิธภัณฑ์ปรสิตวิทยา
พิพิธภัณฑ์ประวัติการพยาบาลไทย
พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์การแพทย์ไทย อวย เกตุสิงห์
พิพิธภัณฑ์พยาธิวิทยาเอลลิส
พิพิธภัณฑ์และห้องปฏิบัติการเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ สุด แสงวิเชียร
เรือกสวนไร่นา ในบางกอกน้อย
โรงพยาบาลศิริราช
วังหลัง
วัดชิโนรสาราม วรวิหาร
วัดดุสิดาราม
วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร
วัดศรีสุดาราม
วัดสุวรรณาราม ราชวรวิหาร
วัดอมรินทราราม ราชวรวิหาร
ศาลหลวงพ่อปู่
ศาลาแดง บ้านช่างหล่อ
ศาลาต้นจันทร์
สถานีรถไฟธนบุรี
หอไตรแฝด 3 หลัง

15. เขตบางกอกใหญ่
กุฎีเจริญพาศน์
พระราชวังเดิม
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เขตบางกอกใหญ่
พิพิธภัณฑ์บ้านคุณหลวงฤทธิ์ณรงค์รอน
พิพิธภัณฑ์เพลงลูกทุ่ง
มัสยิดต้นสน
วัดเครือวัลย์ วรวิหาร
วัดประดู่ฉิมพลี
วัดสังข์จาย
วัดโมลีโลกยาราม
วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร
วัดหงส์รัตนาราม
วัดอรุณราชวราราม

16. เขตบางกะปิ
คลองแสนแสบ **
บึงนกเป็ดน้ำ หมู่บ้านดีสมโชค
โบสถ์แม่พระองค์อุปถัมภ์
พิพิธภัณฑ์กีฬาแห่งชาติ
พิพิธภัณฑ์ปราสาท
พิพิธภัณฑ์ไลเคน
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
มัสยิดดารุ้ลอิบาดะห์
วัดพระไกรสีห์ (วัดน้อย)
วัดบึงทองหลาง
วัดศรีบุญเรือง
ศูนย์กีฬาหัวหมาก

17. เขตบางขุนเทียน
จุดชมลิง
ชายทะเลบางขุนเทียน
ป่าชายเลน
พระตำหนักพลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เขตบางขุนเทียน (โรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์)
พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาชาวบ้านโรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์
พิพิธภัณฑ์แสดงว่าวไทย
วัดบางกระดี่
ศาลเจ้าแม่กวนอิม
ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมมอญหรือพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านมอญบางกระดี่
สวนส้มเขียวหวาน

18. เขตบางเขน
ตลาดสะพานใหม่
พิพิธภัณฑ์การฝึกหัดครูไทย
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เขตบางเขน
มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร
วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร
ศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเกริก
สวนกีฬารามอินทรา
สหกรณ์ต้นไม้ กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์
เสถียรธรรมสถาน
อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ

19. เขตบางคอแหลม
แท่นศิลาฤกษ์
พิพิธภัณฑ์สุนทร
มัสยิด อัล อะติ๊ก
วัดจรรยาวาส
วัดบางโคล่นอก
วัดไผ่เงินโชตนาราม
วัดราชสิงขร
สวนเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา
สะพานกรุงเทพ *
สะพานพระราม 9 *


20. เขตบางแค
คลองภาษีเจริญ
บึงนกน้ำธรรมชาติ
วัดบุญยประดิษฐ์
วัดพรหมสุวรรณสามัคคี
วัดม่วง
วัดศาลาแดง
วัดราษฎร์บำรุง
ศาลเจ้าแม่ทับทิม (หลักสอง)
สวนกล้วยไม้
สำนักสงฆ์สวนแสงธรรม
หมู่บ้านเศรฐกิจ

21. เขตบางซื่อ
ชุมชนสะพานไม้
ซอยประชานฤมิตร
บ้านเปรมใจ
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เขตบางซื่อ
วัดทองสุทธาราม
วัดบางโพโอมาวาส
วัดประชาศรัทธาธรรม
วัดมัชฌันติการาม
วัดเลียบราษฎร์บำรุง
วัดเวตวันธรรมาวาส
วัดสร้อยทอง
วัดอนัมมิกายาราม
สถานีรถไฟบางซื่อ
สะพานพระราม 6 *

22. เขตบางนา
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เขตบางนา
มูลนิธิสายใจไทย
เรือนไทยศรีเพียงเพ็ญ
ลิเกเพื่อการศึกษา
วัดบางนาใน
วัดบางนานอก
วัดผ่องพลอยวิริยาราม
วัดศรีเอี่ยม
ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค
หอประวัติอุทกศาสตร์ไทย

23. เขตบางบอน
กองบังคับการตำรวจม้า
วัดบางบอน
สวนสาวน้อยรักษา
หลวงพ่อขาว
แหล่งผลิตดอกไม้

24. เขตบางพลัด
บ้านราชการุณ สถาปัตยกรรมยุโรปหลังงามริมเจ้าพระยา
วัดคฤหบดี
วัดทองสุทธาราม
วัดบวรมงคลราชวรวิหาร
วัดบางโพโอมาวาส
วัดประชาศรัทธาธรรม
วัดประดู่ธรรมาธิปัตย์
วัดมัชฌันติการาม
วัดเลียบราษฎร์บำรุง
วัดเวตวันธรรมาวาส
วัดสร้อยทอง
วัดอนัมนิกายาราม
ศูนย์ฝึกอาชีพวัดเทพากร
สะพานกรุงธน*
สะพานพระราม 6*
สะพานพระราม 8*


25. เขตบางรัก
ซอยละลายทรัพย์
ดับเบิลเอบุ๊คส์ทาวเวอร์
พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก (พิพิธภัณฑ์บางรัก)
พิพิธภัณฑ์เปลือกหอยกรุงเทพฯ
พิพิธภัณฑ์ภาพมุมกว้างกรุงเทพมหานคร
มัสยิดฮารูณ
วัดพระศรีอุมาเทวี (วัดแขก)
วัดมหาพฤฒาราม
วัดสวนพลู
วัดหัวลำโพง
สีลม
ห้องสมุดเนลสัน เฮย์
อาสนวิหารอัสสัมชัญ

26. เขตบึงกุ่ม
บ้านก้ามปู
บึงสำราญ
แปลงสาธิตเกษตรเขตบึงกุ่ม
พิพิธภัณฑ์เสรีไทยอนุสรณ์
วัดสุวรรณประสิทธิ์
สวนเฉลิมพระเกียรติ
สวนเสรีไทย (สวนน้ำบึงกุ่ม)

27. เขตปทุมวัน
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เซ็นทรัล เวิล์ พลาซ่า
นารายณ์ภัณฑ์
ท่าเรือเชิงสะพานเฉลิมโลก
บริการสารนิเทศเฉพาะสาขา ชนเผ่าไท-กะได
พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 6
พิพิธภัณฑ์กุมารศัลยศาสตร์
พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ
พิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา
พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พิพิธภัณฑ์บ้านไทยจิม ทอมป์สัน
พิพิธภัณฑ์โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย
พิพิธภัณฑ์วาจวิทยาวัฑฒน์
พิพิธภัณฑ์สภากาชาดไทย
พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
พิพิธภัณฑ์สมุนไพร
พิพิธภัณฑ์อัญมณีและเครื่องประดับ
มาบุญครอง
เรือนไทยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วัดบรมนิวาส ราชวรวิหาร
วัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร
ศาลเทพตรีมูรติ
ศาลท้าวมหาพหรม เอราวัณ
สถานีรถไฟหัวลำโพง
สนามกีฬาแห่งชาติ ศุภชลาศัย
สยามดิสคัฟเวอรี่
สยามพารากอน
สยามสแควร์
สยามโอเชียนเวิร์ล
สวนงูสภากาชาดไทย
สวนลุมพินี
หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
หอศิลป์จามจุรี

28. เขตประเวศ
ชุมชนเลียบคลองประเวศ
นิคมอุตสาหกรรมอัญธานี
บ้านขนมไทย
บ้านเจียระไนพลอยของคุณสุรเดช หวังเจริญ
บ้านเรือนไทย
บาลาอัตตักวา
พิพิธภัณฑ์พระพุทธรูป 80 ปาง วัดกระทุ่มเสือปลา
พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งพระเกจิอาจารย์ วัดกระทุ่มเสือปลา
มัสยิดดารุ้ลมุตตากีน
มัสยิดยามิอุ้ลอิบาดะห์
มัสยิดอัสสอาดะห์
ริมคลองปักหลัก
วัดกระทุ่ม
ศูนย์กีฬาทางน้ำบึงหนองบอน
ศูนย์อัญธานี
สปัน แกลเลอรี
สภายุวมุสลิมโลก
สวนหลวง ร.9
หอรัชมงคล สวนหลวง ร.9

29. เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
คลองถม
คลองผดุงกรุงเกษม
คลองมหานาค
ชุมชนบ้านบาตร
ตลาดโบ๊เบ๊
พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
พิพิธภัณฑ์วังวรดิศ
ภูเขาทอง วัดสระเกศ
โรงภาพยนต์เฉลิมธานี (หรือโรงหนังนางเลิ้ง)
วงเวียน 22 กรกฎา
วัดคณิกาผล
วัดดิสานุการาม
วัดเทพศิรินทราวาส
วัดเทวีวรญาติ
วัดพระพิเรนทร์
วัดพลับพลาชัย
วัดมังกรกมลาวาส
วัดสิตาราม
วัดสุนทรธรรมทาน
วัดโสมนัสราชวรวิหาร
เวทีมวยราชดำเนิน
หอสมุดดำรงราชานุภาพ
อาคารพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

30. เขตพญาไท
คริสตจักรเมืองไทย
ตลาดนัดหลังกระทรวงการคลัง
บ้านเซเวียร์
พิพิธภัณฑ์กรมสรรพากร
พิพิธภัณฑ์การกระจายเสียง กรมประชาสัมพันธ์
พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากร
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เขตพญาไท
พิพิธภัณฑ์ธนาคารออมสิน
มูลนิธิบำเพ็ญสาธารณประโยชน์
ย่านสะพานควาย
โรงเรียนอายุรเวท
วัดไผ่ตัน
สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5
สนามฝึกขี่ม้า
สวนพญาไทภิรมย์
หอจดหมายเหตุ กรมประชาสัมพันธ์

31. เขตพระโขนง
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เขตพระโขนง
พิพิธภัณฑ์เภสัชกรรมไทย
วัดธรรมมงคลเถาบุญนนท์วรวิหาร
วัดบุญรอดธรรมาราม
วัดราษฏร์ศรัทธาธรรม
วัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร (วัดทุ่ง)
สวนนกโรงกลั่นน้ำมันบางจาก

32. เขตพระนคร
กรมการรักษาดินแดน
ตึกถาวรวัตถุ
ถนนข้าวสาร
ถนนพระอาทิตย์
ท่าพระจันทร์
เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
ธนาคารออมสินลอยน้ำ
นั่งรถราง
ป้อมพระสุเมรุ
ป้อมมหากาฬ
ไปรสนียาคาร
พระที่นั่งและสวนสาธารณะสันติชัยปราการ
พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
พระที่นั่งพิมานรัตยา
พระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์ปราสาท
พระบรมมหาราชวัง
พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 1
พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 3
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป
พิพิธภัณฑ์กรมที่ดิน
พิพิธภัณฑ์กองทัพบกเฉลิมพระเกียรติ
พิพิธภัณฑ์การศึกษาไทย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
พิพิธภัณฑ์เครื่องปันดินเผา
พิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติ หกรอบ ร.9
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เขตพระนคร
พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย
พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ 14 ตุลา
พิพิธภัณฑ์ปืนใหญ่โบราณ
พิพิธภัณฑ์ภักดีภูธร กรมแผนที่ทหาร
พิพิธภัณฑ์รัชกาลที่ 6
พิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์
พิพิธภัณฑ์วังเทวะเวศม์
พิพิธภัณฑ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
พิพิธภัณฑ์สมเด็จย่าโรงเรียนสตรีวิทยา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยศิลปากร
มิวเซียมสยาม
ย่านบางลำภู
โรงละครแห่งชาติ
วรรณศิลป์สโมสร วัดเทพธิดาราม (กุฏิสุนทรภู่)
วัดชัยชนะสงคราม
วัดเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิราม)
วัดเทพธิดาราม
วัดบวรนิเวศวิหาร
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ ราชวรมหาวิหาร
วัดราชนัดดารามวรวิหาร
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร
วัดราชบูรณะ
วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
วัดสุทัศเทพวราราม
วัดอินทรวิหาร
วิทยาลัยนาฏศิลป์
ศาลเจ้าพ่อเสือ
ศาลเจ้าพ่อหอกลอง
ศาลหลักเมือง
ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์ไทย
ศาลาเฉลิมกรุง
สนามหลวง
สวนรมมณีนาท
สวนสราญรมย์
สะพานพระปกเกล้า *
สะพานพระพุทธยอดฟ้ายอดฟ้าจุฬาโลก *
สะพานพระราม 8 *

เสาชิงช้า
หอนาฬิกา
หอประวัติศาสตร์เกียรติยศ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ห้องอนุสรณ์สถานปรีดี พนมยงค์
ห้างภิรมย์พลาซ่า
อนุสาวรีย์ทหารอาสา
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
อนุสาวรีย์ทหารอาสาสงครามโลกครั้งที่ 1
อุทกทาน
อาคารพิพิธภัณฑ์ ภปร. วัดบวรนิเวศวิหาร

33. เขตภาษีเจริญ
วัดคูหาสวรรค์
วัดนวลนรดิศวรวิหาร
วัดนางชีวรวิหาร
วัดนิมมานรดี
วัดปากน้ำ
วัดอัปสรสวรรค์

34. เขตมีนบุรี
คลองแสนแสบ **
ชุมชนคลองโตนด
ชุมชนสามัคคีคลองต้นนุ่น
ชุมชนอัลอุดา
พิพิธภัณฑ์เรือจิ๋ว (อู่เรือจิ๋ว)
พิพิธภัณฑ์เรือไทย โรงเรียนมีนประสาทวิทยา
พิพิธภัณฑ์เศรษฐบุตร
มัสยิดกมาลุ้ลเอี๊ยะห์ซาน
มัสยิดซอลีฮุสสลาม
มัสยิดซีรอยุดดีน
มัสยิดนูรุ้ลอิสลาม
มัสยิดนูรุ้ลฮูดา
มัสยิดนูรุ้ลฮิดายะห์
มัสยิดเราะห์มาตุ้ลอิสลามียะห์
มัสยิดอันนูรอยน์
มัสยิดอัตตั๊กวา
มัสยิดอัลบุซรอ
มัสยิดอัลเอี๊ยะห์ซาน
มัสยิดอิดด์ฮาดร์อุลูมุดดีน
ไร่หญ้ามีนบุรี
วัดทองสัมฤทธิ์
วัดบางเพ็งใต้
วัดบำเพ็ญเหนือ
วัดศรีกุเรซา
วัดแสนสุข
วัดใหม่ลำนกแขวก
อาคารไม้สำนักงานเขตมีนบุรี หลังเก่า (ศาลากลางจังหวัดเก่า)

35. เขตยานนาวา
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตยานนาวา
พิพิธภัณฑ์สินค้าปลอมและเลียนแบบติลลีกี แอนด์กิบบินส์
พิพิธภัณฑ์ไหม
วัดคลองภูมิ
วัดคลองใหม่
วัดช่องนนทรี
วัดช่องลม
วัดดอกไม้
วัดด่าน
วัดทองบน
วัดปริวาศ
วัดโพธิ์แมนคุณาราม
สะพานพระราม 9 *

36. เขตราชเทวี
ชุมชนบ้านครัวเหนือ
ตึกใบหยกสกาย
พระราชวังพญาไท
พิพิธภัณฑ์กรมสารวัตรทหารบก
พิพิธภัณฑ์การแพทย์ทหารบก
พิพิธภัณฑ์ทรัพยากรธรณี
พิพิธภัณฑ์บ้านตุ๊กตา (บางกอกดอลล์)
พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย
พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด
พิพิธภัณฑ์วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก
พิพิธภัณฑ์สตางค์ มงคลสุข
สวนสันติภาพ
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

37. เขตราษฎร์บูรณะ
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เขตราษฎร์บูรณะ
พิพิธภัณฑ์ธนาคารกสิกรไทย
วัดแจงร้อน
วัดบางปะกอก
วัดประเสริฐสุทธาวาส
วัดสน
สวนสมุนไพร
สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา (ฝั่งธนบุรี)
สะพานพระราม 9 *

38. เขตลาดกระบัง
คลองในเขตลาดกระบัง
ตำหนักพระแม่กวนอิม
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เขตลาดกระบัง
วัดทิพพาวาส
วัดลาดกระบัง
วัดลานบุญ
วัดสาครสุ่นประชาสรรค์
ศาลเจ้าแป๊ะโค้วเซี่ยงงี้
สถาบันเรียนวิศวกรรม
สวนอนุรักษ์นกพุฒขาว นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง
สวนพระนคร

39. เขตลาดพร้าว
ตำหนักพระแม่กวนอิม โชคชัย 4
ทุ่งทานตะวันถนนเกษตร-นวมินทร์
วัดลาดปลาเค้า
วัดลาดพร้าว
วัดสาครสุ่นประชาสรรค์
วัดสิริกมลาวาส

40. เขตวังทองหลาง
โกลเด้น เพลซ
ผ.ประดิษฐ์ลาดพร้าว 86
พิพิธภัณฑ์เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เขตวังทองหลาง
ศูนย์ประติมากรรมกรุงเทพฯ
สวนสาธารณะวังทอง

41. เขตวัฒนา
ซอยทองหล่อ
บ้านช่างไทย
พิพิธภัณฑ์การศึกษา
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เขตวัฒนา
วัดภาษี
สถาบันปรีดี พนมยงค์
สวนพฤกษศาสตร์ วัฒนาวิทยาลัย
สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมถ์

42. เขตสวนหลวง
บ้านกลางน้ำ
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เขตสวนหลวง
พิพิธภัณฑ์บ้านจิตรกร กวี อังคาร กัลยาณพงศ์
พิพิธภัณฑ์พุทธศิลปะ
มัสยิดอัลกุ๊บรอ
มัสยิดอัลเอี๊ยะติซอม
มูลนิธิสมาคมสตรีอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย
เรือนแม่นาคพระโขนง
วัดขจรศิริ
วัดต้นไทรย์
วัดใต้
วัดทองใน
วัดปากบ่อ
วัดมหาบุศย์
วัดยาง
ศาลเจ้าแปะกง
ศูนย์กลางศาสนาอิสลามแห่งประเทศไทย
ศูนย์หนังสือมานพ เสงี่ยมวงศ์

43. เขตสะพานสูง
โครงการพัฒนาส่วนพระองค์สะพานสูง ถนนรามคำแหง เขตสะพานสูง กทม.
บ้านทรงไทย
มัสยิดอัลยุซรอ (หลอแหล)
วัดลาดบัวขาว (ราชโยธา)

44. เขตสัมพันธวงศ์
คลองถม *
ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา
ธนาคารไทยพิณิชย์สาขาตลาดน้อย
โบสถ์กาลหว่าร์
พิพิธภัณฑ์ทองคำห้างทองตั้งโต๊ะกัง
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เขตสัมพันธวงศ์
ย่านสำเพ็ง
เยาวราช
มหามณฑปหลวงพ่อทองคำ วัดไตรมิตรวิทยาราม
วัดกันมาตุยาราม
วัดชัยชนะสงคราม
วัดไตรมิตรวิทยาราม
วัดสัมพันธวงศาราม
ศาลเจ้าเล่งบ๋วยเอี้ย
สะพานหัน
สะพานเหล็ก
หอศิลป์กรุงไทย

45. เขตสาทร
บ้าน ม.ร.ว. ศึกฤทธิ์ ปราโมช
พิพิธภัณฑ์กรุงเทพประกันภัย
พิพิธภัณฑ์จักรเย็บผ้า
ย่านบ้านเก่าริมถนนสาทร
วัดยานนาวา
สะพานปลากรุงเทพ
สุสานแต้จิ๋ว

46. เขตสายไหม
วังปลาสวาย (คลองหกวา)
วัดราษฎร์นิยมธรรม (หนองผักชี)
วัดอมราวราราม
ศูนย์มาลัยสายไหม

47. เขตหนองแขม
คลองสวยน้ำใส
ซุ้มประตูเมืองหนองแขม
ต้นมะฮอกกะนี
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เขตหนองแขม
พิพิธภัณฑ์เรือจำลอง
พิพิธภัณฑ์อนันต์ชัยไทยโบท
วัดศรีนวลธรรมวิมล
วัดหนองแขม
ศูนย์วัฒนธรรมมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
สวนกล้วยไม้
สวนพุทธรักษ์
สำนักดาบพุทธไธสวรรค์

48. เขตหนองจอก
การทำกรงนกจากเขาสัตว์
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เขตหนองจอก
ฟาร์มไก่ชนกำนันวิเชียร
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
มัสยิดดารุ้ลมุดตะกีน (คู้)
ร้านอาหารครัวบึงเตย
ศูนย์บริหารกิจการศาสนาอิสลามแห่งชาติ
สวนหนองจอก
สำนักจุฬาราชมนตรี และสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย

49. เขตหลักสี่
การเคหะแห่งชาติบางบัว
ชุมชนตลาดบางเขน
วัดหลักสี่
วิหารหลวงปู่ขาว
สวนเกษตรดาดฟ้า
สวนวนารมย์
สวนศิลปะอมันตี
หอประวัติและพิพิธภัณฑ์ ดร.ไสว สุทธิพิทักษ์,มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
องค์พระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ

50. เขตห้วยขวาง
พิพิธภัณฑ์ของจิ๋ว
พิพิธภัณฑ์เครื่องเล่นกระบอกเสียงและหีบเสียงไทย
พิพิธภัณฑ์เฉลิมพระนคร
พิพิธภัณฑ์ธงสยาม
พิพิธภัณฑ์นาฬิกาโบราณ
โรงละครกรุงเทพ
วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก
วัดอุทัยธาราม
ศาลต้นไทรคู่
ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
หอศิลป์ตาดู
หอไทยนิทัศน์


* สถานที่ท่องเที่ยวนี้มีพื้นที่กว้างควบถึงเขตอื่นๆ ด้วย
** เชื่อม จ. อื่นด้วย
ภาพจาก th.wikipedia.org
ข้อมูลค้นหาจากหลายๆ แห่ง แล้วก็ข้อมุลอาจจะเปลี่ยนแปลงได้
Mad


แก้ไขล่าสุดโดย Volwar เมื่อ Wed Nov 16, 2011 3:02 pm, ทั้งหมด 4 ครั้ง (Reason for editing : แก้ไขข้อมูล)
Volwar
Volwar
Webmaster
Webmaster

จำนวนข้อความ : 572
คะแนน : 770
คะแนนชื่อเสียง : 14
Join date : 23/01/2010
Age : 30
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ถนนไม่มีรถเมล์ กทม.

ขึ้นไปข้างบน Go down

เอกลักษณ์แห่งกรุงเทพมหานคร Empty Re: เอกลักษณ์แห่งกรุงเทพมหานคร

ตั้งหัวข้อ by *!!~AlFeiLai~!!* Wed Jul 07, 2010 8:37 pm

อร๊าง เยอะขริงๆ#[]#
*!!~AlFeiLai~!!*
*!!~AlFeiLai~!!*
B Class
B Class

จำนวนข้อความ : 265
คะแนน : 299
คะแนนชื่อเสียง : 21
Join date : 28/03/2010
Age : 28
ที่อยู่ : Thailand

https://twitter.com/spellsunnn

ขึ้นไปข้างบน Go down

เอกลักษณ์แห่งกรุงเทพมหานคร Empty การรวมตัวของกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2514

ตั้งหัวข้อ by Volwar Mon Sep 06, 2010 9:49 pm

กรุงเทพมหานครทั้ง 50 เขต ในปัจจุบันนั้น เกิดจากเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2514 รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจรได้รวม จังหวัดพระนคร และ จังหวัดธนบุรี เข้าด้วยกันเป็น นครหลวงกรุงเทพธนบุรี และภายหลังการปรับปรุงการปกครองใหม่เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515 จึงได้เปลี่ยนเป็นชื่อเป็น กรุงเทพมหานคร แต่นิยมเรียกกันว่า กรุงเทพฯ ซึ่งกรุงเทพมหานครเกิดจากการรวมตัวของจังหวัดพระนคร ธนบุรี มีนบุรี บางส่วนของสมุทรปราการ (พระปะแดง) และบางส่วนของจังหวัดปทุมธานี

1. เขตที่มาจากการรวมตัวของจังหวัดพระนครมี 21 เขตได้แก่
คันนายาว
จตุจักร
ดอนเมือง
ดินแดง
ดุสิต
บางกะปิ
บางเขน
บางซื่อ
บางรัก
บึงกุ่ม
ปทุมวัน
ป้อมปราบศัตรูพ่าย
พญาไท
พระนคร
ราชเทวี
ลาดพร้าว
วังทองหลาง
สะพานสูง
สัมพันธวงศ์
หลักสี่
ห้วยขวาง

2. เขตที่มาจากการรวมตัวของจังหวัดธนบุรี มี 15 เขต ได้แก่ี
คลองสาน
จอมทอง
ตลิ่งชัน
ธนบุรี
ทวีวัฒนา
ทุ่งครุ
บางกอกน้อย
บางกอกใหญ่
บางขุนเทียน
บางแค
บางบอน
บางพลัด
ภาษีเจริญ
ราษฎร์บูรณะ
หนองแขม

3. เขตที่มาจากบางส่วนของจังหวัดสมุทรปราการ (พระปะแดง) มี 9 เขตได้แก่
คลองเตย
บางคอแหลม
บางนา
ประเวศ
พระโขนง
ยานนาวา
วัฒนา
สวนหลวง
สาทร

4. เขตที่มาจากการรวมตัวของจังหวัดมีนบุรีมี 4 เขต ได้แ่ก่
คลองสามวา
มีนบุรี
ลาดกระบัง
หนองจอก

5. เขตที่มาจากบางส่วนของจังหวัดปทุมธานีมี 1 เขต ได้แก่
สายไหม

*** กะจะลงแผนที่แต่ว่าลิขสิทธิ์เพราะแผนที่ตัดต่อภาพเอง อาจจะทำให้ละเมิดลิขสิทธิ์ได้ใครอยากดูแผนที่การรวมตัวของการแบ่งเขตของ กทม. นั้นขอดูได้

ข้อมูลจาก
th.wikipedia.org


แก้ไขล่าสุดโดย Volwar เมื่อ Wed Dec 08, 2010 9:57 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
Volwar
Volwar
Webmaster
Webmaster

จำนวนข้อความ : 572
คะแนน : 770
คะแนนชื่อเสียง : 14
Join date : 23/01/2010
Age : 30
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ถนนไม่มีรถเมล์ กทม.

ขึ้นไปข้างบน Go down

เอกลักษณ์แห่งกรุงเทพมหานคร Empty Re: เอกลักษณ์แห่งกรุงเทพมหานคร

ตั้งหัวข้อ by *!!~AlFeiLai~!!* Tue Sep 07, 2010 8:14 pm

50 เขต =[]=!!
*!!~AlFeiLai~!!*
*!!~AlFeiLai~!!*
B Class
B Class

จำนวนข้อความ : 265
คะแนน : 299
คะแนนชื่อเสียง : 21
Join date : 28/03/2010
Age : 28
ที่อยู่ : Thailand

https://twitter.com/spellsunnn

ขึ้นไปข้างบน Go down

เอกลักษณ์แห่งกรุงเทพมหานคร Empty Re: เอกลักษณ์แห่งกรุงเทพมหานคร

ตั้งหัวข้อ by *!!~AlFeiLai~!!* Wed Dec 29, 2010 8:56 pm

อยากกินคาสเตลล่าอ่าา
*!!~AlFeiLai~!!*
*!!~AlFeiLai~!!*
B Class
B Class

จำนวนข้อความ : 265
คะแนน : 299
คะแนนชื่อเสียง : 21
Join date : 28/03/2010
Age : 28
ที่อยู่ : Thailand

https://twitter.com/spellsunnn

ขึ้นไปข้างบน Go down

เอกลักษณ์แห่งกรุงเทพมหานคร Empty อาสนวิหารอัสสัมชัญ วัดคาทอลิกแห่งประเทศไทย

ตั้งหัวข้อ by Volwar Sun Jan 16, 2011 4:50 pm


ประวัติ
อาสนวิหารอัสสัมชัญ หรือ โบสถ์อัสสัมชัญ เป็นโบสถ์เก่าแก่อายุกว่า 200 ปี สร้างโดยบาทหลวงปาสกัล ซึ่งเป็นชาวไทย-โปรตุเกส โบสถ์หลังปัจจุบันนี้ถูกสร้างขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2452 เพื่อรองรับการขยายตัวของคริสต์ศาสนิกชนที่มีเพิ่มมากขึ้น โดยมีสถาปนิกชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง วัสดุที่ใช้สร้างเช่นหินอ่อนและกระจกสีนั้นก็สั่งมาจากประเทศฝรั่งเศสและอิตาลี
การเดินทาง
แบบสะดวกลงรถไฟฟ้าบีทีเอสสะพานตากสิน แต่ต้องเดินไกลหน่อย หรือลงท่าเรือโอเรียนเต็ล
รถเมล์ 1, 35, 75
สองแถว 1271
เอกลักษณ์แห่งกรุงเทพมหานคร 049db9cc
ภาพจากดาวเทียม
สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง
อาจข้ามฝั่งไปชุมชนวัดสุวรรณ
ตลาดบางรักและสีลมอยู่ไม่ไกลนัก
มัสยิดฮารูณ
เอกลักษณ์แห่งกรุงเทพมหานคร 400px-Assumption_cathedral_Bangkok
ขอขอบพระคุณรูปพระและข้อมูลจาก
assumptioncathedral.catholic.or.th
th.wikipedia.org
www.youtube.com


แก้ไขล่าสุดโดย Volwar เมื่อ Sun Jul 31, 2011 1:46 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง (Reason for editing : เพิ่มภาพ)
Volwar
Volwar
Webmaster
Webmaster

จำนวนข้อความ : 572
คะแนน : 770
คะแนนชื่อเสียง : 14
Join date : 23/01/2010
Age : 30
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ถนนไม่มีรถเมล์ กทม.

ขึ้นไปข้างบน Go down

เอกลักษณ์แห่งกรุงเทพมหานคร Empty สะพานพระราม 6 สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งแรกของโลก

ตั้งหัวข้อ by Volwar Fri Jan 21, 2011 9:02 pm


ประวัติ
สะพานพระราม 6 ตั้งอยู่ ในเขตกรุงเทพมหานครที่เขตบางพลัด และเขตบางซื่อ บางส่วนตั้งอยู่ในเขตนนทบุรี อำเภอบางกรวย
สะพานพระราม 6 เป็นสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาสะพานแรกของประเทศไทย (ของโลก) ลงนามในสัญญาก่อสร้าง เมื่อ เมษายน พ.ศ. 2465 เริ่มการก่อสร้างเมื่อ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2465 วางหีบพระฤกษ์เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2466 โดย กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเชื่อมทางรถไฟฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาให้ติดต่อกัน โดยให้บริษัท เล เอตาบริดจ์มองต์ ไตเต ประเทศฝรั่งเศสเป็นผู้รับเหมา เนื่องจากชนะการประมูลโดยอาศัยค่าเงินฟรังก์ฝรั่งเศสที่อ่อนตัว (1 บาทแลกได้ 5 ฟรังก์) เมื่อเปรียบเทียบกับเงินปอนด์อังกฤษที่ผูกติดกับทองคำ (1 ปอนด์แลกได้ 11 บาท) ในเวลานั้นเงินบาทสยามผูกติดกับเงินปอนด์อังกฤษด้วย โดยค่าก่อสร้างเท่ากับ 2,714,113.30 บาท สะพานสร้างเสร็จในเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2469 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่าสะพานพระราม 6 ซึ่งหมายถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 และโปรดเกล้าฯ ประกอบพิธีเปิดสะพานให้ขบวนรถไฟเดินผ่านข้ามเป็นปฐมฤกษ์ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2469 (นับอย่างปัจจุบันต้องปี พ.ศ. 2470 แล้ว) ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยใช้รถจักรไอน้ำ " บอลด์วิน " ล้อแบบแปซิฟิก หมายเลข 226 ทำขบวนเสด็จ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 สะพานได้ถูกกองทัพสหรัฐและอังกฤษทิ้งระเบิดอย่างหนัก ในที่สุดช่วงกลางสะพานขาดเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488 และได้ซ่อมแซมใหม่โดยบริษัทดอร์แมนลอง (ผู้รับเหมาจากประเทศอังกฤษที่เคยประมูลการก่อสร้างสะพานพระราม 6 แต่แพ้การประมูลเพราะค่าเงินปอนด์แข็งเกินไป) และบริษัทคริสเตียนนี แอนด์ นีลเส็น (ไทย) จำกัด (ผู้รับเหมาเดนมาร์กที่ภายหลังได้เป็นผู้รับเหมาไทยเต็มตัวเมื่อปี พ.ศ. 2535 เพราะย้ายฐานมาเมืองไทย มีสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นผู้ถือหุ้นสำคัญ) ในระหว่าง พ.ศ. 2493 - 2496 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดสะพานพระราม 6 หลังจากซ่อมแซมแล้ว เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2496 โดยใช้รถจักรดีเซลไฟฟ้า " ซูลเซอร์ " หมายเลข 562 ทำขบวนเสด็จ

เอกลักษณ์แห่งกรุงเทพมหานคร Rama-vi-bridge01
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสะพานพระราม 6
วันที่ทำการก่อสร้าง : เดือนธันวาคม พ.ศ. 2465
บริษัทที่ทำการก่อสร้าง : บริษัท Les Etablissements Dayde' แห่งประเทศฝรั่งเศส
รูปแบบการสร้าง : สะพานสร้างตามแบบ Cantilever ประกอบด้วยสะพานเหล็ก 5 ช่วง ส่วนหนึ่งเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็กให้รถยนต์ทุกชนิดผ่าน อีกส่วนหนึ่งเป็นทางรถไฟ พร้อมทางเดินเท้า 2 ด้าน
สูงจากระดับน้ำ : 10 เมตร
ความยาวของสะพาน : 442.08 เมตร
ความกว้างของสะพาน : 10 เมตร

การเดินทาง
สะดวกสุดคือ เรือด่วนเจ้าพระยาลงท่าพระราม 7 ส่วนลงเรือด่วนเจ้าพระยาท่าวัดสร้อยทอง เดินไกลหน่อย (สะพานนี้คนสามารถเดินข้ามไปมาได้)
รถเมล์ : 18, 32, 33, 49, 50, 64, 90, 110, 117, 203
รถปรับอากาศ: 6, 23, 49, 25, 203, ปอ.พ. 1

สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง
วัดสร้อยทอง

เอกลักษณ์แห่งกรุงเทพมหานคร R173mf9
จาก
th.wikipedia.org
www.dek-d.com
www.lib.ru.ac.th
www.tripsthailand.com
Volwar
Volwar
Webmaster
Webmaster

จำนวนข้อความ : 572
คะแนน : 770
คะแนนชื่อเสียง : 14
Join date : 23/01/2010
Age : 30
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ถนนไม่มีรถเมล์ กทม.

ขึ้นไปข้างบน Go down

เอกลักษณ์แห่งกรุงเทพมหานคร Empty วัดยานนาวา วัดในเขตสาทรคือที่มาของชื่อเขตยานนาวา

ตั้งหัวข้อ by Volwar Sat Jan 22, 2011 10:14 pm


ประวัติ
สมัยกรุงศรีอยุธยาชื่อวัดคอกควาย สมัยพระเจ้าตากสินมหาราชชื่อวัดคอกกระบือ วัดยานนาวาที่ได้ชื่อนี้เพราะสมัย รัชกาลที่ 3 มีการสร้างเรือสำเภาจำลองขึ้นมาเพื่อให้คนรุ่นหลังดู เพราะสมัยนั้นกำปั่นฝรั่งเริ่มเข้ามาเมืองสยามแล้ว ในอดีตเขตสาทร บางคอแหลม และเขตยานนาวาคือเขตเดียวกันชื่อว่าเขตยานนาวาเพราะมาจากชื่อวัดยานนาวานี้เอง ต่อมาปี พ.ศ. 2532 เกิดการแยกเขตออกมา 3 เขต คือ เขตสาทร เขตบางคอแหลม และเขตยานนาวาซึ่งมาจากชื่อวัดยานนาวาที่ไปอยู่ในเขตสาทรซะแล้ว

เอกลักษณ์แห่งกรุงเทพมหานคร 1187333958
การเดินทาง
สะดวกสุดคือท่าน้ำสาทรและบีทีเอสสะพานตากสิน
รถเมล์ 1, 15, 17, 35, 75 รถปรับอากาศ ปอ. 504, 547
รถสองแถว 1249, 1256, 1271

สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง
ตลาดบางรัก
พิพิธภัณฑ์จักรเย็บผ้า
ย่านบ้านเก่าริมถนนสาทร

จาก
th.wikipedia.org
www.bloggang.com
www.watyan.net
www.youtube.com


แก้ไขล่าสุดโดย Volwar เมื่อ Sun Sep 11, 2011 1:35 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง (Reason for editing : มีคลิปโดนลบ)
Volwar
Volwar
Webmaster
Webmaster

จำนวนข้อความ : 572
คะแนน : 770
คะแนนชื่อเสียง : 14
Join date : 23/01/2010
Age : 30
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ถนนไม่มีรถเมล์ กทม.

ขึ้นไปข้างบน Go down

เอกลักษณ์แห่งกรุงเทพมหานคร Empty พิพิธภัณฑ์เปลือกหอยกรุงเทพฯ พิพิธภัณฑ์ของแฟนพันธุ์แท้เรื่องเปลือกหอย

ตั้งหัวข้อ by Volwar Sun Jan 23, 2011 5:59 pm


ประวัติ
"พิพิธภัณฑ์เปลือกหอยกรุงเทพฯ" เกิดขึ้นจากความรัก ความรอบรู้ และ ความเชี่ยวชาญในเปลือกหอยของ "คุณจอม : สมหวัง ปัทมคันธิน" สุดยอดแฟนพันธุ์แท้เปลือกหอย 2 สมัย (ปี 2007 และปี 2008) ผู้คว้ารางวัลคะแนนโหวตสูงสุดปี 2008 ทายาทของคุณสมนึก ปัทมคันธิน เจ้าของพิพิธภัณฑ์เปลือกหอย ที่หาดราไวย์ จังหวัดภูเก็ต ภายในมีข้อมูลเปลือกหอยชนิดต่างๆ มากมาย มีทั้งหมด 3 ชั้น ราคาค่าเข้ามชม 100 บาท


เอกลักษณ์แห่งกรุงเทพมหานคร Jom
ภาพ คุณจอม : สมหวัง ปัทมคันธิน สุดยอดแฟนพันธุ์แท้เปลือกหอย 2 สมัย

การเดินทาง
สะดวกสุดคือท่าน้ำสาทรและบีทีเอสสะพานตากสิน แล้วเดินมาสีลม 23 หรือ เดินข้ามฝั่งมาต่อรถสองแถว 1271
รถเมล์ 15, 77, ปอ. 504 ผ่าน

เอกลักษณ์แห่งกรุงเทพมหานคร Image
ภาพด้านหน้าของพิพิธภัณฑ์

สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง
โรงแรมโอเรียนเต็ล
วัดแขก
สีลม
อาสนวิหารอัสสัมชัญ


จาก
www.google.co.th
www.tlcthai.com
www.youtube.com


แก้ไขล่าสุดโดย Volwar เมื่อ Sun Sep 11, 2011 1:37 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง (Reason for editing : มีคลิปเดิมถูกลบ)
Volwar
Volwar
Webmaster
Webmaster

จำนวนข้อความ : 572
คะแนน : 770
คะแนนชื่อเสียง : 14
Join date : 23/01/2010
Age : 30
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ถนนไม่มีรถเมล์ กทม.

ขึ้นไปข้างบน Go down

เอกลักษณ์แห่งกรุงเทพมหานคร Empty Re: เอกลักษณ์แห่งกรุงเทพมหานคร

ตั้งหัวข้อ by *!!~AlFeiLai~!!* Mon Jan 24, 2011 8:21 pm

ชื่อเขตยานนาวามาจากชื่อวัดนี่เอง
ได้ยินบ่อยๆแต่ไม่ยักรู้ที่มา ;w;'a
*!!~AlFeiLai~!!*
*!!~AlFeiLai~!!*
B Class
B Class

จำนวนข้อความ : 265
คะแนน : 299
คะแนนชื่อเสียง : 21
Join date : 28/03/2010
Age : 28
ที่อยู่ : Thailand

https://twitter.com/spellsunnn

ขึ้นไปข้างบน Go down

เอกลักษณ์แห่งกรุงเทพมหานคร Empty พิพิธภัณฑ์บ้านไทย จิม ทอมป์สัน ผู้นำผ้าไหมไทยดังไปทั่วโลก

ตั้งหัวข้อ by Volwar Mon Jan 24, 2011 9:36 pm

เอกลักษณ์แห่งกรุงเทพมหานคร Jimthompson_1
ภาพนายจิม ทอมป์สัน

ประวัติ
เรือนไทยจิม ทอมป์สันเป็นบ้านของ เจมส์ เอช. ดับเบิลยู. ทอมป์สัน นักธุรกิจผู้ประกอบการชาวอเมริกันที่สร้างเนื้อสร้างตัวขึ้นจนร่ำรวย ผู้ก่อตั้งบริษัทอุตสาหกรรมผ้าไหมไทยจิม ทอมป์สันซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก ความสำเร็จของจิม ทอมป์สันในระยะเวลา 25 ปีที่เขามาพำนักอยู่ในราชอาณาจักรไทยส่งผลให้เขา มีกิตติศัพท์ขจรขจายในฐานะ ชาวอเมริกันผู้กลายเป็นตำนานในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2510 นายจิม ทอมป์สันเดินทางไปพักผ่อนกับเพื่อนๆ ที่แคมเมอรอนไฮแลนด์ส ใน ประเทศมาเลเซีย เขาออกเดินเท้าเข้าป่าที่ห้อมล้อมอยู่ไปและไม่ได้กลับมาอีกเลย และหายสาบสูญไปอย่างลึกลับ ส่วนค่าเข้าชมนั้นผู้ที่อายุต่ำกว่า 25 ปี 50 บาท บุคคลทั่วไป 100 บาท


การเดินทาง
บีทีเอสสนามกีฬาแห่งชาติ
เรือคลองแสนแสบสะพานหัวช้าง
รถประจำทาง : 15 47 48 73 204
รถปรับอากาศ : 8 ทางด่วน สาย 38 ปอ.พ.1

เอกลักษณ์แห่งกรุงเทพมหานคร Image
จาก
www.jimthompsonhouse.com
www.manager.co.th
www.thaitravelhealth.com
www.youtube.com
Volwar
Volwar
Webmaster
Webmaster

จำนวนข้อความ : 572
คะแนน : 770
คะแนนชื่อเสียง : 14
Join date : 23/01/2010
Age : 30
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ถนนไม่มีรถเมล์ กทม.

ขึ้นไปข้างบน Go down

เอกลักษณ์แห่งกรุงเทพมหานคร Empty วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร รุ่งอรุณใหม่แห่งกรุงเทพฯ

ตั้งหัวข้อ by Volwar Sat Jan 29, 2011 8:24 pm

เอกลักษณ์แห่งกรุงเทพมหานคร Wat-areun-1
ประวัติ
วัดอรุณราชวรารามเป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา ว่ากันว่าเดิมเรียกว่า วัดมะกอก และกลายเป็นวัดมะกอกนอกในเวลาต่อมา เพราะได้มีการสร้างวัดขึ้นอีกวัดหนึ่งในตำบลเดียวกัน แต่อยู่ในคลองบางกอกใหญ่ ชาวบ้านเรียกวัดที่สร้างใหม่ว่า วัดมะกอกใน (วัดนวลนรดิศ) แล้วจึงเรียกวัดมะกอกซึ่งอยู่ปากคลองบางกอกใหญ่ว่า วัดมะกอกนอก ส่วนเหตุที่มีการเปลี่ยนชื่อเป็นวัดแจ้งนั้น เชื่อกันว่า เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงตั้งราชธานีที่กรุงธนบุรีใน พ.ศ. 2310 ได้เสด็จมาถึงหน้าวัดนี้ตอนรุ่งแจ้ง จึงพระราชทานชื่อใหม่ว่าวัดแจ้ง แต่ความเชื่อนี้ไม่ถูกต้อง เพราะเพลงยาวหม่อมภิมเสน วรรณกรรมสมัยอยุธยาที่บรรยายการเดินทางจากอยุธยาไปยังเพชรบุรี ได้ระบุชื่อวัดนี้ไว้ว่าชื่อวัดแจ้งตั้งแต่เวลานั้นแล้ว เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังที่ประทับนั้น ทรงเอาป้อมวิชัยประสิทธิ์ข้างฝั่งตะวันตกเป็นที่ตั้งตัวพระราชวัง แล้วขยายเขตพระราชฐานจนวัดแจ้งเป็นวัดภายในพระราชวัง เช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์สมัยอยุธยา และเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตที่อัญเชิญมาจากเวียงจันทน์ใน พ.ศ. 2322 ก่อนที่จะย้ายมาประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามใน พ.ศ. 2327 ในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ได้เสด็จมาประทับที่พระราชวังเดิม และได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดแจ้งใหม่ทั้งวัด แต่ยังไม่ทันสำเร็จก็สิ้นรัชกาลที่ 1 สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระองค์ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดแจ้งต่อมา และพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดอรุณราชธาราม”ต่อมามีพระราชดำริที่จะเสริมสร้างพระปรางค์หน้าวัดให้สูงขึ้น แต่สิ้นรัชกาลเสียก่อน จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เสริมพระปรางค์ขึ้นและให้ยืมมงกุฎที่หล่อสำหรับพระพุทธรูปทรงเครื่องที่จะเป็นพระประธานวัดนางนองมาติดต่อบนยอดนภศูล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดอรุณราชธารามหลายรายการ และให้อัญเชิญพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมาบรรจุไว้ที่พระพุทธอาสน์ของพระประธานในพระอุโบสถด้วย เมื่อการปฏิสังขรณ์เสร็จสิ้นลง พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดอรุณราชวราราม” และวัดอรุณแห่งนี้นั้นยังเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 2 อีกด้วย

การเดินทาง
หากต้องการเดินทางแบบสะดวกต้องมาลงเรือที่เรือด่วนเจ้าพระยาท่าเตียน และนั่งเรือข้ามฝากมาอีกทีหนึ่ง
รถเมล์ : 19, 57, 83


จาก
bangkok-guide.z-xxl.com
th.wikipedia.org
www.watarun.org
www.youtube.com
Volwar
Volwar
Webmaster
Webmaster

จำนวนข้อความ : 572
คะแนน : 770
คะแนนชื่อเสียง : 14
Join date : 23/01/2010
Age : 30
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ถนนไม่มีรถเมล์ กทม.

ขึ้นไปข้างบน Go down

เอกลักษณ์แห่งกรุงเทพมหานคร Empty สถานีรถไฟหัวลำโพง มีศิลปะที่สวยงาม

ตั้งหัวข้อ by Volwar Sun Jan 30, 2011 11:42 am


ประวัติ
สถานีรถไฟกรุงเทพ หรือที่นิยมเรียกกันว่า สถานีรถไฟหัวลำโพง เป็นสถานีรถไฟหลักของประเทศไทย และเป็นสถานีที่เก่าแก่ที่สุด สร้างในสมัย รัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2453 สร้างเสร็จและเริ่มใช้งาน วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2459 ในปัจจุบันสถานีรถไฟหัวลำโพง เดิมที สถานีรถไฟกรุงเทพ หรือที่นิยมเรียกกันว่า สถานีรถไฟหัวลำโพง ซึ่งคำว่า หัวลำโพง สันนิษฐานว่าตั้งชื่อตามคลองและทุ่งที่มีฝูงวัวที่วิ่งกันคึกคัก ที่เรียกว่า ทุ่งวัวลำพอง และได้เพี้ยนเสียงมาเป็น หัวลำโพง บ้างก็สันนิษฐานว่าเป็นชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งคือ ต้นลำโพง ซึ่งเคยมีมากในบริเวณนี้ สถานีนี้สร้างในสมัย รัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2453 สร้างเสร็จและเริ่มใช้งาน วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2459 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 สถานีรถไฟหัวลำโพง เดิมเป็นสถานีที่ให้บริการทั้งด้านการขนส่งสินค้า และขนส่งมวลชน ต่อมาการขยายตัวในด้านการโดยสารและขนส่งสินค้ามีมากขึ้น แต่ด้วยพื้นที่อันจำกัดเพียง 120 ไร่ จึงทำให้ต้องย้ายกิจการขนส่งสินค้าไปอยู่ที่ย่านสินค้าพหลโยธิน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 และทำการปรับปรุงสถานีรถไฟหัวลำโพงให้เป็นสถานีรถไฟสำหรับบริการด้านขนส่ง มวลชนเพียงอย่างเดียว เพื่อสามารถรองรับผู้โดยสารจากทั่วทุกสารทิศของประเทศ และบริเวณรอบๆ

เอกลักษณ์แห่งกรุงเทพมหานคร 250px-Bkk-Hualamphong-newlypainted-0802-3
ภายนอกอาคาร

ศิลปะที่งดงามบริเวณสถานี
การก่อสร้างสถานีกรุงเทพ ก่อสร้างในลักษณะโดมสไตล์อิตาเลียนผสมกับศิลปะแบบเรอเนสซองซ์ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับสถานีรถไฟฟรังค์ฟูร์ทในประเทศเยอรมนี การประดับหลัก ประดับด้วยหินอ่อนและเพดานมีการสลักลายนูนต่าง ๆ โดยมีนาฬิกาขนาดใหญ่ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 160 เซนติเมตร ตั้งอยู่กลางสถานีรถไฟเป็นสัญลักษณ์แห่งหนึ่ง ตัวสถานีแบ่งเป็นสองส่วนหลัก ได้แก่ อาคารมุขหน้า มีลักษณะเหมือนระเบียงยาว และอาคารโถงสถานีเป็นอาคารหลังคาโค้งขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิค (Classicism) คือ เป็นงานเลียนแบบสถาปัตยกรรมโบราณของกรีก - โรมัน จุดเด่นของสถานีหัวลำโพงอีกอย่างหนึ่งคือ กระจกสีที่ช่องระบายอากาศ ทั้งด้านหน้าและด้านหลังซึ่งประดับไว้อย่างผสมผสานกลมกลืนกับตัวอาคาร เช่นเดียวกับนาฬิกาบอกเวลาซึ่งติดตั้งไว้กลางส่วนโค้งของอาคารด้านในและด้าน นอก โดยเป็นนาฬิกาที่สั่งทำขึ้นพิเศษเป็นการเฉพาะ ไม่ระบุชื่อบริษัทผู้ผลิตเหมือนนาฬิกาทั่วๆ ไป ที่ผนังด้านซ้ายและขวาของสถานีหัวลำโพงมีภาพเขียนสีน้ำ เป็นภาพสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญๆ ของประเทศ อาทิ พระบรมมหาราชวัง ตลาดน้ำ เขาวัง ภูกระดึง หาดสมิหลา ฯลฯ นอกจากนี้ที่ด้านหน้าสถานีมีสวนหย่อมและน้ำพุสำหรับประชาชน โดยข้าราชการรถไฟได้รวบรวมทุนทรัพย์จัดสร้างอนุสาวรีย์น้อมเกล้าฯ อุทิศส่วนกุศลถวายแด่พระพุทธเจ้าหลวง อนุสาวรีย์ที่ว่านี้เป็นรูป “ช้างสามเศียร” มีพระบรมรูปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แกะสลักเป็นภาพนูนสูงประดิษฐานอยู่ด้านบน

เอกลักษณ์แห่งกรุงเทพมหานคร 000003
ภาพช้างสามเศียร มีพระบรมรูปของ ร. 5 อยู่

การเดินทาง
สะดวกที่สุดคือลงรถไฟฟ้ามหานคร (ใต้ดิน) สถานีหัวลำโพง
รถเมล์
ถนนพระรามที่สี่ สาย 4 21 25 40 53 (วนขวา เทเวศร์-หัวลำโพง-เยาวราช) 73 73ก 159 172 507 529 542
ถนนเลียบทางรถไฟ ข้างสถานีรถไฟหัวลำโพง สาย 7 29 34 109 113 501
ถนนมหาพฤฒาราม สาย 1 (จากท่าช้างไปถนนตก) 75

สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง
ถนนเยาวราช
วงเวียนโอเดียน
วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร
วัดมหาพฤฒาราม

เอกลักษณ์แห่งกรุงเทพมหานคร Hlp-3
ภาพหัวลำโพงในอดีต

จาก
th.wikipedia.org
www.baanmaha.com
www.youtube.com
Volwar
Volwar
Webmaster
Webmaster

จำนวนข้อความ : 572
คะแนน : 770
คะแนนชื่อเสียง : 14
Join date : 23/01/2010
Age : 30
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ถนนไม่มีรถเมล์ กทม.

ขึ้นไปข้างบน Go down

เอกลักษณ์แห่งกรุงเทพมหานคร Empty องค์การสะพานปลากรุงเทพ

ตั้งหัวข้อ by Volwar Tue Feb 01, 2011 9:08 pm


ประวัติ
เป็นท่าเทียบติดแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งอยู่ใน ซอยเจริญกรุง 62 และเจริญกรุง 58 (ซอยทั้ง 2 เชื่อมติดต่อกันได้) ตรงข้ามวัดสุทธิวราราม อยู่ในการดูแลขององค์การสะพานปลา รัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถือเป็นแหล่งขายส่งปลาสำหรับบริโภคที่ใหญ่ที่สุด เป็นตลาดกลางระหว่าง เจ้าของสัตว์น้ำ ผู้ค้าปลีก และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นตลาดการขายส่ง และมีขายปลีกในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาดมาก โดยปลาน้ำน้ำเค็มจะเริ่มขายตอนตี 2 ส่วนปลาน้ำจืดจะเริ่มขายตอน 11 โมงเช้า ที่สะพานปลามีขายราคาเนื้อปลาถูกกว่าตามท้องตลาด องค์การสะพานปลา จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบแพปลา พ.ศ. 2496 เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2496 (พอดีสะพานปลาติดเป็น สถานที่ท่องเที่ยวในเขตสาทรเลยนำมาลง)
* ประวัติไม่ค่อยละเอียดดูคลิปหรือถ้าขี้เกียจดู ฟังเอาก็ได้

เอกลักษณ์แห่งกรุงเทพมหานคร 2010-05-05_003
การเดินทาง
สะดวกสุดคือลงสถานรถไฟฟ้าสะพานตากสินหรือท่าเรือสาทรแล้วเดินลงมาไกลหน่อยหรือต่อรถ
รถเมล์ 1, 15, 17, 35, 75 รถปรับอากาศ ปอ. 504, 547
รถสองแถว 1249, 1256, 1271 สองแถว 1271

สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง
พิพิธภัณฑ์จักรเย็บผ้า
วัดบรมสถล (วัดดอน)
วัดยานนาวา

เอกลักษณ์แห่งกรุงเทพมหานคร Krung_0
ภาพสะพานปลากรุงเทพจากเบื้องบน

จาก
http://61.19.248.96/~org/?q=node/121
เว็บไซต์สำนักงานเขตสาทร
www.fishmarket.co.th
www.foodtravel.tv
www.google.co.th
www.marinerthai.com
Volwar
Volwar
Webmaster
Webmaster

จำนวนข้อความ : 572
คะแนน : 770
คะแนนชื่อเสียง : 14
Join date : 23/01/2010
Age : 30
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ถนนไม่มีรถเมล์ กทม.

ขึ้นไปข้างบน Go down

เอกลักษณ์แห่งกรุงเทพมหานคร Empty Re: เอกลักษณ์แห่งกรุงเทพมหานคร

ตั้งหัวข้อ by Tabutuba Tue Feb 01, 2011 10:38 pm

โอ้ มีปลาเยอะดีจัง เหอๆ
Tabutuba
Tabutuba
B Class
B Class

จำนวนข้อความ : 155
คะแนน : 195
คะแนนชื่อเสียง : 29
Join date : 07/01/2011
Age : 26
ที่อยู่ : kkw Band

ขึ้นไปข้างบน Go down

เอกลักษณ์แห่งกรุงเทพมหานคร Empty พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังสถาปัตยกรรมอิตาเลียน

ตั้งหัวข้อ by Volwar Wed Feb 02, 2011 12:20 pm

เอกลักษณ์แห่งกรุงเทพมหานคร พระที่นั่งอนันต์ขณะก่อสร้าง
ภาพพระที่นั่งอนันตสมาคมขณะก่อสร้าง

ประวัติ
พระที่นั่งอนันตสมาคม เดิมเป็นท้องพระโรงของพระราชวังดุสิต ชื่อของพระที่นั่งนำมาจากพระที่นั่งองค์หนึ่งในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งสร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระที่นั่งองค์นี้ จัดได้ว่า เป็นรัฐสภาแห่งแรกของประเทศไทย เพราะว่า ในช่วงที่เพิ่งเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ได้ใช้พระที่นั่งองค์นี้ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ก่อนที่จะย้ายมาอยู่ ณ รัฐสภาปัจจุบัน ซึ่งอยู่ข้างๆพระที่นั่งองค์นี้ รวมทั้งยังเป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธี รัฐพิธี สำคัญๆมากมาย อาทิ รัฐพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร พระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ


รูปแบบสถาปัตยกรรม
พระที่นั่งอนันตมหาสมาคม มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบนีโอเรอเนสซองส์ (Neo Renaissance) และนีโอคลาสสิก (Neo classic) โดยตกแต่งพระที่นั่งด้วยหินอ่อน ซึ่งสั่งมาจากเมืองคารารา ประเทศอิตาลี โดยมีจุดเด่น คือ มีหลังคาโดมคลาสสิกของโรมอยู่ตรงกลาง และมีโดมเล็กๆโดยรอบอีก 6 โดม รวมทั้งสิ้นมี 7 โดม ขนาดขององค์พระที่นั่ง ฯ ส่วนกว้างประมาณได้ 49.50 เมตร ยาว 112.50 เมตร และสูง 49.50 เมตร ภายในพระที่นั่ง บนเพดานโดมมีภาพเขียนเฟรสโก เขียนบนปูนเปียก ซึ่งภาพจะติดทนกว่าภาพที่เขียนบนปูนแห้ง (ภาพจิตรกรรมไทยนิยมเขียนแบบปูนแห้ง) เกี่ยวกับ พระราชกรณียกิจที่สำคัญ ของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 1-6 จำนวน 6 ภาพ โดยฝีมือเขียนภาพของ นายซี. รีโกลีและศาสตราจารย์แกลิเลโอ กินี

เอกลักษณ์แห่งกรุงเทพมหานคร Ananda08
การเข้าชม
เข้าชมได้นะแม้ว่าดูเหมือนว่าห้ามเข้าก็ตาม เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมได้ทุกวัน ปิดวันจันทร์ วันหยุดเทศกาลปีใหม่ และเทศกาลสงกรานต์ นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ 150 บาท นักเรียนนักศึกษา ในเครื่องเแบบ หรือแสดงบัตรประจำตัว 75 บาท วันพ่อวันแม่วันเด็ก ชาวไทยชมฟรี ห้าม ถ่ายรูปด้านในและควรต่งกายให้สุภาพมิดชิดด้วย
เอกลักษณ์แห่งกรุงเทพมหานคร E78e8750
ภาพจากดาวเทียม
สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง
พระบรมรูปทรงม้า
วังปารุสกวัน
สวนสัตว์ดุสิต (เขาดิน)

การเดินทาง
รถประจำทาง: สาย 70, 72, ปอ.50


วงดุริยางค์ ออร์เคสตร้า หน้าพระที่นั่งอนันตสมาคม เมื่อช่วงวันพ่อ ปี พ.ศ. 2552

จาก
th.wikipedia.org
www.bangkokgoguide.com
www.panyathai.or.th
www.vimanmek.com
www.youtube.com


แก้ไขล่าสุดโดย Volwar เมื่อ Fri Aug 12, 2011 10:11 am, ทั้งหมด 2 ครั้ง
Volwar
Volwar
Webmaster
Webmaster

จำนวนข้อความ : 572
คะแนน : 770
คะแนนชื่อเสียง : 14
Join date : 23/01/2010
Age : 30
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ถนนไม่มีรถเมล์ กทม.

ขึ้นไปข้างบน Go down

เอกลักษณ์แห่งกรุงเทพมหานคร Empty Re: เอกลักษณ์แห่งกรุงเทพมหานคร

ตั้งหัวข้อ by Tabutuba Wed Feb 02, 2011 7:44 pm

ชอบเพลงมารช์ราชวัลลภที่สุดเลย เพราะมากๆ ^^
Tabutuba
Tabutuba
B Class
B Class

จำนวนข้อความ : 155
คะแนน : 195
คะแนนชื่อเสียง : 29
Join date : 07/01/2011
Age : 26
ที่อยู่ : kkw Band

ขึ้นไปข้างบน Go down

เอกลักษณ์แห่งกรุงเทพมหานคร Empty วัดหัวลำโพง วัดนี้สร้างก่อนสถานีรถไฟหัวลำโพง

ตั้งหัวข้อ by Volwar Wed Feb 02, 2011 9:00 pm


ประวัติ
เดิมชื่อวัดวัวลำพอง เป็นวัดราษฎร์ ใครเป็นคนสร้างและสร้างเมื่อใด ไม่ปรากฏหลักฐาน แต่คาดว่าคงสร้างในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประมาณรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 3 ทั้งนี้โดยอาศัยการสันนิษฐานจากรูปทรงของอุโบสถหลังเก่าและเจดีย์ด้านหลัง ซึ่งสร้างคู่กันมา ความเป็นมาของวัดนี้ มีผู้รู้ประมวลไว้ โดยอาศัยจากการเล่าต่อๆ กันมาว่า ในปี พ.ศ. 2310 กรุงศรีอยุธยาถูกพม่าทำลายเผาผลาญบ้านเมือง ตลอดวัดวาอารามจนในที่สุดได้เสียกรุงแก่ข้าศึก เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2310 ซึ่งเป็นการเสียกรุงครั้งสุดท้ายในประวัติศาสตร์ การสงครามครั้งนี้ประชาชนเสียขวัญและได้รับความเดือดร้อน บางพวกไม่สามารถที่จะอาศัยอยู่ถิ่นเดิมต่อไปได้ จึงพากันอพยพครอบครัว ลงมาทางใต้ตั้งถิ่นฐานที่บริเวณวัดหัวลำโพงในปัจจุบันนี้เห็นว่าเป็นทำเลที่เหมาะ ยังไม่มีเจ้าของถือกรรมสิทธิ์ มีลำคลองเชื่อมโยงสะดวกต่อการสัญจรไปมา จึงได้ตั้งหลักฐานและจับจองที่ดิน นานปีเข้าต่างก็มีหลักฐานมั่นคงเป็นปึกแผ่นทั่วกัน
ต่อมาจึงได้ร่วมกันสร้างวัดขึ้นตามวิสัยอันดีงามเช่น บรรพบุรุษชาวพุทธทั้งหลาย และให้ชื่อว่า วัดวัวลำพอง ตามความนิยมที่ชื่อของวัดจะพ้องกับชื่อหมู่บ้าน เพราะชาวบ้านกับวัดส่วนใหญ่ของไทยเรา มักมีชื่อเหมือนกัน หรือมีความหมายเดียวกัน ปีรัตนโกสินทรศก 109 ตรงกับปี พ.ศ. 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 หรือที่ประชาชนทั่วประเทศพร้อมใจกันขนานพระนามพระองค์ท่านว่า สมเด็จพระปิยมหาราช ซึ่งเป็นยุคทองของการพัฒนาประเทศชาติในระบบใหม่ ได้ทรงสร้างทางรถไฟขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย คือจากสถานีกรุงเทพฯ ขึ้นไปบริเวณนอกเมืองใกล้กับคูเมืองชั้นนอกคือคลองผดุงเกษม พระราชทานนามว่า สถานีหัวลำโพง ซึ่งอยู่ห่างจากวัดวัวลำพอง ประมาณ 2 กิโลเมตร ประมาณปี พ.ศ. 2447 ราวเดือนตุลาคมหรือเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นฤดูกาลทอดกฐิน จากหลักฐานและคำบอกเล่านั้นว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระกฐินในครั้งนั้น วันเดียวกันถึง 3 วัด ตามลำดับดังนี้ คือ วัดสามจีน (วัดไตรมิตรวิทยาราม) วัดตะเคียน (วัดมหาพฤฒาราม) และวัดวัวลำพอง (วัดหัวลำโพง)

การเดินทาง
สะพดวกสุดคือสถานีรถไฟฟ้ามหานคร (ใต้ดิน) สามย่าน
รถเมล์ สาย 4, 21, 25, 34, 40, 46, 67, 73, 109, 113
รถเมล์ปรับอากาศ สาย ปอ.4, ปอ.17, ปอ.29, ปอ.67

สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง
พิพิธภัณฑ์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จาก
wathualampong.com
www.moohin.com
www.youtube.com
Volwar
Volwar
Webmaster
Webmaster

จำนวนข้อความ : 572
คะแนน : 770
คะแนนชื่อเสียง : 14
Join date : 23/01/2010
Age : 30
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ถนนไม่มีรถเมล์ กทม.

ขึ้นไปข้างบน Go down

เอกลักษณ์แห่งกรุงเทพมหานคร Empty Re: เอกลักษณ์แห่งกรุงเทพมหานคร

ตั้งหัวข้อ by *!!~AlFeiLai~!!* Thu Feb 03, 2011 8:31 pm

อยากลองกินขนมฝรั่งกุฎีจีนง่าา -..- ซักครั้งก็ยังดี แง้ ~ T^T
*!!~AlFeiLai~!!*
*!!~AlFeiLai~!!*
B Class
B Class

จำนวนข้อความ : 265
คะแนน : 299
คะแนนชื่อเสียง : 21
Join date : 28/03/2010
Age : 28
ที่อยู่ : Thailand

https://twitter.com/spellsunnn

ขึ้นไปข้างบน Go down

เอกลักษณ์แห่งกรุงเทพมหานคร Empty สวนสันติภาพ สวนสาธารณะที่ระลึกถึงวันสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติ

ตั้งหัวข้อ by Volwar Fri Feb 04, 2011 10:56 am



ประวัติ
สวนสันติภาพ เป็นสวนสาธารณะในกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บริเวณถนนราชวิถีกับถนนรางน้ำ เขตราชเทวี ใกล้กับอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เป็นพื้นที่ที่กรุงเทพมหานครเช่าจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ป้ายชื่อสวนเป็นแบบจำลองลายมือของท่านพุทธทาสภิกขุ โดยเริ่มสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 โดยที่ชื่อสวนนั้น หมายถึง สันติภาพจากสงคราม โดยทำการเปิดให้บริการวันแรกคือวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2541 อันตรงกับวันครบรอบการที่สงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง ไปแล้ว 53 ปี

เอกลักษณ์แห่งกรุงเทพมหานคร S4
สัญลักษณ์ของสวน
ตั้งอยู่ในสระน้ำเป็น "รูปนกพิราบ คาบช่อดอกมะกอก 5 ดอก" ทำจากทองเหลืองรมดำ แทนความ หมาย"สื่อสันติภาพของโลก" จำลองจากผลงานของ ปิกัสโซ ศิลปินวาดภาพชื่อก้องโลก

เอกลักษณ์แห่งกรุงเทพมหานคร S2
ป้ายชื่อสวน
จำลองแบบจากลายมือของ ท่านพุทธทาสภิกขุ พระภิกษุที่ชาวไทย เคารพ นับถือ กันทั้งประเทศ และท่านเป็น พระภิกษุที่ตระหนักและให้ความสำคัญกับสันติภาพของโลกตลอดมา

สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

การเดินทาง
สะดวกสุดคือลงสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิแล้วเดินมาไกลหน่อยหรือต่อรถ
รถเมล์สาย 12 14 17 24 36 38 61 63 69 74 77 92 204 ปอ.14 ปอ. 140

ขอขอบพระคุณรูปภาพและข้อมูลจาก
th.wikipedia.org
www.healthcorners.com
www.oknation.net
www.yourhealthyguide.com
Volwar
Volwar
Webmaster
Webmaster

จำนวนข้อความ : 572
คะแนน : 770
คะแนนชื่อเสียง : 14
Join date : 23/01/2010
Age : 30
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ถนนไม่มีรถเมล์ กทม.

ขึ้นไปข้างบน Go down

เอกลักษณ์แห่งกรุงเทพมหานคร Empty สวนธนบุรีรมย์ อดีตสวนส้มบางมด

ตั้งหัวข้อ by Volwar Fri Feb 04, 2011 4:17 pm

เอกลักษณ์แห่งกรุงเทพมหานคร 47425_31214
ประวัติ
บริเวณที่ตั้งสวนสาธารณะแห่งนี้เคยเป็นสวนผลไม้และทุ่งหญ้ามาก่อนโดยเฉพาะสวนส้มบางมดที่ขึ้นชื่อ กรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ กรุงเทพมหานครเป็นผู้เช่าทำประโยชน์ใน พ.ศ. 2503 ผู้บริหารกรุงเทพมหานครขณะนั้น คือนายชำนาญ ยุวบูรณ์ ได้มีนโยบายให้ปรับปรุงสถานที่แห่งนี้ โดยพัฒนาไปเป็น " สถานที่เพาะชำต้นไม้บางมด" เพราะความเหมาะสมในด้านทำเลที่ตั้ง และความอุดมสมบูรณ์ของดินและน้ำ จนใน พ.ศ. 2511 พระยามไหสวรรย์ นายกเทศ มนตรีนครธนบุรี ได้เห็นความเหมาะสม ของพื้นที่ จึงดำเนินการปรับปรุงให้เป็นสวนสาธารณะ เพื่อการพักผ่อนของประชาชนในย่านฝั่งธนบุรีและเปลี่ยนชื่อเป็น " สวนธนบุรีรมย์" จุดเด่นของสวนธนบุรีมย์ คือ เป็นแหล่งรวมพันธุ์ไม้ชนิดต่าง ๆ ที่เป็นสมุนไพร ซึ่งในอนาคต สวนธนบุรีรมย์จะได้มีการพัฒนาให้เป็น "สวนสมุนไพรเมืองร้อน" เพื่อการศึกษาและเรียนรู้ด้วย

เอกลักษณ์แห่งกรุงเทพมหานคร 5_1236311499
สิ่งที่น่าสนใจภายในสวน
- มีดอกบัวหลากหลายสายพันธุ์ให้ชม
- พันธุ์ไม้แปลกตาหายาก ภายในสวนสามารถพบไม้ท้องถิ่นหาดูยากใน กรุงเทพมหานคร เช่น ทุ้งฟ้า คงคาเดือด
- มีนกกว่า 30 ชนิดให้ชม

เอกลักษณ์แห่งกรุงเทพมหานคร 1266020591
ภาพบัววิกตอเรีย (ชื่ออื่นๆ เช่น บัวกระด้ง, บัวอะเมซอน) ที่สวนธนบุรีรมย์

สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง
วัดพุทธบูชา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

การเดินทาง
รถเมล์สาย 75 (หากคิดว่าไกลไปขึ้นไม่ถูกลองหาที่ขึ้นได้จากตรง สถานีรถไฟฟ้ามหานครหรือใต้ดินหัวลำโพง เดินลงมาแล้วขึ้น สถานีรถไฟฟ้าสะพานตากสิน ท่าน้ำสาทร)


ขอขอบพระคุณข้อมูลและรูปภาพจาก
news.mediathai.net
th.wikipedia.org
www.bloggang.com
www.healthcorners.com
www.yourhealthyguide.com
www.youtube.com
Volwar
Volwar
Webmaster
Webmaster

จำนวนข้อความ : 572
คะแนน : 770
คะแนนชื่อเสียง : 14
Join date : 23/01/2010
Age : 30
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ถนนไม่มีรถเมล์ กทม.

ขึ้นไปข้างบน Go down

เอกลักษณ์แห่งกรุงเทพมหานคร Empty Re: เอกลักษณ์แห่งกรุงเทพมหานคร

ตั้งหัวข้อ by *!!~AlFeiLai~!!* Fri Feb 04, 2011 7:48 pm

ทุ้งฟ้าเป็นยังไงอะ 0[]0;;
*!!~AlFeiLai~!!*
*!!~AlFeiLai~!!*
B Class
B Class

จำนวนข้อความ : 265
คะแนน : 299
คะแนนชื่อเสียง : 21
Join date : 28/03/2010
Age : 28
ที่อยู่ : Thailand

https://twitter.com/spellsunnn

ขึ้นไปข้างบน Go down

เอกลักษณ์แห่งกรุงเทพมหานคร Empty เสาชิงช้า เลิกโล้ชิงช้าแล้ว

ตั้งหัวข้อ by Volwar Fri Feb 04, 2011 11:05 pm


ประวัติ
เสาชิงช้า เป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบพิธีโล้ชิงช้า ในพระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวายของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู โดยทั่วไปหมายถึงเสาชิงช้าที่ตั้งอยู่หน้าวัดสุทัศน์เทพวราราม และลานหน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (ลานคนเมือง) ใกล้กับเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ ในพื้นที่แขวงเสาชิงช้าและแขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของกรุงเทพมหานคร จดหมายเหตุกรุงรัตนโกสินทร์บันทึกไว้ว่าพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ หรือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 โปรดให้สร้างเสาชิงช้าในพระนครขึ้นตรงหน้าเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ เมื่อวันพุธ เดือน 5 แรม 4 ค่ำ ปีมะโรง บริเวณลานด้านเหนือของวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร ต่อมาย้ายมาสร้างใหม่ ณ ที่ตั้งปัจจุบันบริเวณหน้าวัดสุทัศน์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากข้อจำกัดด้านสถานที่ แม้พิธีโล้ชิงช้าได้เลิกไปแล้วตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ก็ตาม นอกจากนี้ ในประเทศไทยยังมีเสาชิงช้าอีกแห่งหนึ่งที่หน้าหอพระอิศวร เมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งมีการประกอบพิธีโล้ชิงช้ามาแต่โบราณเช่นกัน แต่ได้เลิกไปก่อนที่จะมีการก่อสร้างขึ้นใหม่ในภายหลัง โดยจำลองแบบมาจากเสาชิงช้าที่กรุงเทพมหานคร เสาชิงช้าที่กรุงเทพมหานครแห่งนี้ มีลักษณะเป็นเสาชิงช้าขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนแท่นหินขนาดใหญ่ สูง 21.15 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางฐานกลมประมาณ 10.50 เมตร ฐานกลมก่อเป็นฐานปัทม์ทำด้วยหินล้างสีขาว พื้นบนปูกระเบื้องดินเผาสีแดง มีบันได 2 ขั้น ทั้ง 2 ด้าน ตามแนวโค้งของฐานติดแผ่นจารึกประวัติเสาชิงช้า เสาไม้แกนกลางคู่และเสาตะเกียบ 2 คู่ เป็นเสาหัวเม็ด ล้วนทำด้วยไม้สักกลึงกลม โครงยึดหัวเสาทั้งคู่แกะสลักอย่างสวยงาม กระจังและหูช้างไม้เป็นลวดลายไทย ทั้งหมดทาสีแดงชาด ติดสายล่อฟ้าจากลวดลายกระจังด้านบนลงดิน กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเสาชิงช้าเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 นับตั้งแต่สร้างครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2327 จนถึงการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งล่าสุดซึ่งเสาชิงช้าคู่เดิมถูกถอดเปลี่ยนเมื่อปี พ.ศ. 2549 เสาชิงช้ามีอายุรวม 222 ปี

เอกลักษณ์แห่งกรุงเทพมหานคร พิธีโล้ชิงช้า
ภาพขณะทำพิธีโล้ชิงช้า ตึกทางซ้ายมือเป็นตึกตลาดเสาชิงช้าที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งได้รื้อหมดแล้ว กลายเป็นลานหน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน

จาก
th.wikipedia.org
www.youtube.com
Volwar
Volwar
Webmaster
Webmaster

จำนวนข้อความ : 572
คะแนน : 770
คะแนนชื่อเสียง : 14
Join date : 23/01/2010
Age : 30
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ถนนไม่มีรถเมล์ กทม.

ขึ้นไปข้างบน Go down

เอกลักษณ์แห่งกรุงเทพมหานคร Empty Re: เอกลักษณ์แห่งกรุงเทพมหานคร

ตั้งหัวข้อ by Tabutuba Sat Feb 05, 2011 11:05 am

เสาชิงช้า
Tabutuba
Tabutuba
B Class
B Class

จำนวนข้อความ : 155
คะแนน : 195
คะแนนชื่อเสียง : 29
Join date : 07/01/2011
Age : 26
ที่อยู่ : kkw Band

ขึ้นไปข้างบน Go down

หน้า 1 จาก 2 1, 2  Next

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ