HTR & Re.HTr Club Webboard
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย

5 posters

หน้า 1 จาก 4 1, 2, 3, 4  Next

Go down

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Empty ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย

ตั้งหัวข้อ by Volwar Tue May 11, 2010 2:50 pm

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย 320px-Map_TH_provinces_by_geographic

ประเทศไทยมี 6 ภาคแบ่งตามภูมิศาสตร์ได้ดังนี้

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Emerald_BirdEyeView_Easternside
ภาคกลาง มี 22 จังหวัด
1. กรุงเทพมหานคร
2. กำแพงเพชร
3. ชัยนาท
4. นครนายก
5. นครสวรรค์
6.นครปฐม
7. นนทบุรี
8. ปทุมธานี
9. พระนครศรีอยุธยา
10. เพชรบูรณ์
11. พิจิตร
12. พิษณุโลก
13. ลพบุรี
14. สมุทรปราการ
15. สมุทรสงคราม
16. สมุทรสาคร
17. สระบุรี
18. สิงห์บุรี
19. สุโขทัย
20. สุพรรณบุรี
21. อ่างทอง
22. อุทัยธานี

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Pangku
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี 20 จังหวัด
1. กาฬสินธุ์
2. ขอนแก่น
3. ชัยภูมิ
4. นครพนม
5. นครราชสีมา
6. บึงกาฬ
7. บุรีรัมย์
8. มหาสารคาม
9. มุกดาหาร
10. ยโสธร
11. ร้อยเอ็ด
12. เลย
13. สกลนคร
14. สุรินทร์
15. ศรีษะเกษ
16. หนองคาย
17. หนองบัวลำภู
18. อำนาจเจริญ
19. อุดรธานี
20. อุบลราชธานี

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย %E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%A5_%282%29
ภาคตะวันออก มี 7 จังหวัด
1. จันทบุรี
2. ฉะเชิงเทรา
3. ชลบุรี
4. ตราด
5. ปราจีนบุรี
6. ระยอง
7. สระแก้ว

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Teelorsu1
ภาคตะวันตก มี 5 จังหวัด
1. กาญจนบุรี
2. ตาก
3. ประจวบคิรีขันธ์
4. เพชรบุรี
5. ราชบุรี

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Chiangmai-zoo02
ภาคเหนือ มี 9 จังหวัด
1. เชียงราย
2. เชียงใหม่
3. น่าน
4. พะเยา
5. แพร่
6. แม่ฮ่องสอน
7. ลำปาง
8. ลำพูน
9. อุตรดิตถ์

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Mskresak
ภาคใต้ มี 14 จังหวัด
1. กระบี่
2. ชุมพร
3. ตรัง
4. นครศรีธรรมราช
5. นราธิวาส
6. ปัตตานี
7. พังงา
8. พัทลุง
9. ภูเก็ต
10. ยะลา
11. ระนอง
12. สงขลา
13. สุราฎร์ธานี
14. สตูล


แก้ไขล่าสุดโดย Volwar เมื่อ Thu Dec 22, 2011 11:02 pm, ทั้งหมด 6 ครั้ง (Reason for editing : แก้ไขรูปภาพ)
Volwar
Volwar
Webmaster
Webmaster

จำนวนข้อความ : 572
คะแนน : 770
คะแนนชื่อเสียง : 14
Join date : 23/01/2010
Age : 30
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ถนนไม่มีรถเมล์ กทม.

ขึ้นไปข้างบน Go down

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Empty Re: ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย

ตั้งหัวข้อ by Volwar Tue May 11, 2010 2:51 pm

อ้างอิงจาก วิกิพีเดียทั้งรูปภาพและข้อมูล
Volwar
Volwar
Webmaster
Webmaster

จำนวนข้อความ : 572
คะแนน : 770
คะแนนชื่อเสียง : 14
Join date : 23/01/2010
Age : 30
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ถนนไม่มีรถเมล์ กทม.

ขึ้นไปข้างบน Go down

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Empty ขนมไทยภาคกลาง

ตั้งหัวข้อ by Volwar Tue May 11, 2010 4:09 pm

กรุงเทพมหานคร

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Kanom-farang-kudeejeen

ขนมฝรั่งกุฎีจีน
เป็นขนมพื้นเมืองของชุมชนกุฎีจีน แขวงกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร เป็นขนมที่มีผลิตเฉพาะในชุมชนแห่งนี้เท่านั้น ชุมชนกุฎีจีนเป็นชุมชนชาวโปรตุเกสที่อพยพมาจากรุงศรีอยุธยาในสมัยกรุงศรีอยุธยาแตกเป็นครั้งที่ 2 ชาวบ้านได้สืบทอดขนมเหล่านี้มาจนถึงปัจจุบัน ปัจจุบันมีขนมฝรั่งกุฎีจีนเพียง 2 ยี่ห้อเท่านั้นคือ ลูกหลานแม่เป้า กับ ธนูสิงห์ ขนมชนิดนี้มาจากขนมโปรตุเกสที่ชื่อว่า คาสเตลล่า (Castella) ซึ่งของโปรตุเกสไม่ใส่น้ำตาลแต่ของไทยใส่น้ำตาลลงไป ทำให้ขนมกรอบอร่อย สูตรดั้งเดิมไม่มีลูกเกด ปัจจุบันนิยมใส่ ในอดีตขนมฝรั่งกุฎีจีนใช้ไม้จากป่าชายเลนในการทำเพราะว่าให้ความร้อนได้ดี ปัจจุบันไม่ใช้กันแล้วเพราะทำลายธรรมชาติของป่าชายเลน เคล็ดลับความอร่อยขนมฝรั่งกุฎีจีนก็คือ ใช้ไข่จากเป็ดที่ไม่ลงน้ำ เพราะน้ำที่เป็ดลงไปเล่นน้ำทำให้นำเข้าไปในไข่เป็ด ทำให้ไข่เป็ดไม่อร่อย

กำแพงเพชร

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Kayasart-1

กระยาสารท
กระยาสารทเป็นขนมที่พบได้ทั่วไป ทั่วประเทศ นับว่ากระยาสารทเป็นภูมิปัญญาไทยในการถนอมอาหาร ในฤดูที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์ จึงเก็บอาหารที่เหลือไว้รับประทานในฤดูขาดแคลน การรับประทานกระยาสารทให้อร่อยสุดยอดต้องรับประทานกับกล้วยไข่โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้วยไข่ที่ปลูกในแผ่นดินกำแพงเพชร กระยา หมายถึง เครื่อง สิ่งของ เครื่องกิน สารท หมายถึง เทศกาลทำบุญในวันสิ้นเดือนสิบ โดยนำพืชพรรณธัญญาหารแรกเก็บเกี่ยวมาปรุงเป็นข้าวทิพย์ และข้าวมธุปายาส ถวายพระสงฆ์

ชัยนาท

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย 1198596297

ขนมกง
ขนมกงหรือขนมกงเกวียน ซึ่งหมายถึงกงเกวียนที่หมุนไปข้างหน้าเช่นเดียวกับพระธรรมจักร ความหมายที่ต้องการสื่อถึงงานแต่งงานก็คือ ต้องการให้คู่บ่าวสาวรักและครองคู่อยู่ด้วยกันชั่วนิจนิรันดร์ ขนมกงเป็นขนมโบราณ มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาตอนต้น จากคำให้ การขุนหลวงหาวัดประดู่ทรงธรรม ในเอกสารหอหลวงสมัยอยุธยา “ย่านป่าขนม ชาวบ้านนั้นทำขนมขายและนั่งร้านขายขนมชะมด กงเกวียน ภิมถั่ว สำปนี” ขนมกงเกวียนก็คือขนมกงนั่นเอง รูปร่างก็เป็นล้อเกวียนสมชื่อสำหรับคนไทย ขนมกงดูจะแพร่หลายมากเป็นพิเศษในจังหวัดภาคกลาง โดยเพราะอย่างยิ่งแถบจังหวัดอยุธยา อ่างทอง สุพรรณบุรี สิงห์บุรี ฯลฯ เป็นที่รู้กันดีว่าขนมกงเป็น ขนมมงคล ที่นิยมใช้ในพิธีแต่งงานในฐานะขนมขันหมาก นอกจากขนมกงวงเล็ก ที่ทำกินกันตามปกติแล้วยังมีขนมกงขนาดใหญ่ ที่ทำขึ้น ในโอกาสพิเศษอย่างงานแต่ง นอกจากขนาดที่ใหญ่แล้ว บางที่จะประดิษฐ์โดยการเอาตอกมาเสียบสี่มุมของตัวกง รวบปลายตอกแล้วมัดยอดด้วยตอกให้เหมือนทรงกระโจม นำแป้งที่ใช้ชุบตัวกงมาสลัดในกระทะให้เป็นแพฝอย ๆ นำแพแป้งที่ลักษณะเหมือนแหนี้มาคลุมตัวกระโจมดังกล่าว เพิ่มความสวยงามไปอีกแบบ จากนั้นก็จะนำใส่สาแหรกหาบไปในพิธีแห่ขันหมากขนมกงขาดไม่ได้ในงานหมั้นงานแต่ง จนคนไทยสมัยก่อน ถึงกับ มีสำนวนพูดสัพยอกว่า “เมื่อไรจะได้กินขนมกงเสียที” ซึ่งหมายความว่าเมื่อไรจะแต่งงานนั้นเอง ขนมกงเป็นขนมมงคล ด้วยเชื่อว่าจะทำให้คู่บ่าวสาวมีใจคอหนักแน่นและครองรักกันตลอดไปเหมือนกงล้อของเกวียนที่หมุนไปเรื่อย ๆ สมัยก่อน ในงานหมั้นงานแต่งจะใช้ขนมกงควบคู่กับขนมสามเกลอ แต่ปัจจุบันขนมสามเกลอเสื่อมความนิยมไปมากแล้ว คงเหลือแต่ขนมกงที่คนไทยภาคกลางยังนิยมใช้เป็นขนมแต่งงานกันแพร่หลาย ดังนั้นแถวอยุธยา อ่างทอง สุพรรณบุรี ชัยนาท จึงมีแม่ค้าทำขนมกงขายตามสั่ง ซึ่งจะมีมากในเดือนที่นิยมพิธีแต่งงาน อย่างไรก็ตามทุกวันนี้จะหาศิลปินนักทำขนมกงอร่อย ๆ ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ

นครนายก

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Medium_%25E0%25B8%2582%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2581%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%2599

ขนมดอกโสน
ขนมดอกโสน เป็นขนมโบราณของไทยแท้ๆ ปัจจุบันยังมีดอกโสนออกดอกบานสะพรั่งให้เห็นช่วงฤดูฝนอยู่ แต่ขนมดอกโสนกลับไม่ค่อยนิยมทำกัน ทั้งที่เป็นขนมที่อร่อย ทำก็ไม่ยาก ขนมนี้รูปร่างหน้าตาก็คล้ายๆ ขนมกล้วย ใช้ดอกโสนหอมๆ สีเหลืองเหมือนทอง แทนกล้วย ทำให้น่ากินมากขึ้น

นครสวรรค์

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Mj1

ขนมโมจิ
ขนมโมจิของจังหวัดนครสวรรค์นั้นถูกพัฒนามาจาก ขนมเปี๊ยะนมข้นหวาน เมื่อ 30 กว่า ปี ที่แล้ว

นครปฐม

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย ขนมผิง%2001

ขนมผิง
เป็นขนมที่ท่านท้าวทองกีบม้าทำขึ้นมา เป็นขนมที่มาจากโปรตุเกส ขนมผิงในสมัยก่อนจะมีรสหวาน กลิ่นหอมที่ยั่วยวนใจ สีน้ำตาล และเมื่อรับประทานจะละลายในปากทันที ซึ่งต่างกับในสมัยปัจจุบันที่ทำสีสันเพิ่มเติม อาทิ สีชมพู สีเขียว และสีเหลือง นอกจากนั้นเนื้อแป้งยังแข็งขึ้นกว่าแต่ก่อน ทั้งนี้ก็เพราะว่าป้องกันไม่ให้ขนมผิงที่บรรจุห่อขายนั้นแตกหักได้ง่าย แต่เดิมนั้นขนมผิงจะถูกบรรจุอยู่ในโหลแก้วเล็ก ๆ และประดับด้วยโบว์ เพื่อใช้เป็นของขวัญใน วันปีใหม่ หรือ วันแห่งความรัก

นนทบุรี

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย 3chook-h-03

ขนมจ่ามงกุฎ
ขนมจ่ามงกุฏ เป็นขนมที่มีมาแต่โบราณและมักจะนิยมใช้ในงานมงคลต่าง ๆ อาทิเช่น งานแต่งงาน งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น และในสมัยก่อนขนมจ่ามงกุฏจะนิยมให้กันมากในโอกาสที่ได้รับเลื่อนตำแหน่ง เลื่อนยศถาบรรดาศักดิ์ นอกจากชื่อของขนมจ่ามงกุฏเป็นชื่อที่เป็นมงคลแล้ว ยังมีความหมายที่ดีอีกด้วย ซึ่งมีความหมายคือ หัวหน้าผู้ซึ่งเป็นใหญ่ และด้วยวิธีทำที่ค่อนข้างยุ่งยาก ขนมจ่ามงกุฏจึงจะถูกมอบให้เฉพาะบุคคลที่ได้รับการยกย่องจริงๆ เท่านั้น และด้วยวิธีการทำที่ยุ่งยากนี้เอง ในปัจจุบันจึงเป็นขนมที่ค่อนข้างหาทานได้ยาก

ปทุมธานี
ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Bbaahdb8ga5b9hf8acbk8
[color=olive]ข้าวเกรียบมอญโบราณ
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ข้าวเกรียบงาปิ้ง อยู่คู่จังหวัดปทุมธานีมามากว่า ร้อยปี โดยเข้ามาพร้อมกับการอพยพของชาวมอญจากเมืองหงสาวดี ประเทศพม่า อพยพเข้ามาอยู่บริเวณเขตอำเภอเมืองปทุมธานี และอำเภอสามโคกในปัจจุบัน ข้าวเกรียบมอญโบราณเป็นอาหารประเภทขนม หรืออาหารกินเล่นของคนมอญอพยพ สาเหตุการอพยพนี้เอง จึงทำให้การทำอาหารของชาวมอญในสมัยก่อน ไม่ว่าจะเป็นอาหารคาวหรืออาหารหวาน ต้องไม่ยุ่งยากในการจัดเตรียม แต่จะทำแบบมีส่วนผสมของอาหารง่ายๆ หาวัสดุอุปกรณ์ได้ในพื้นที่ และเก็บไว้ได้เป็นระยะเวลานานๆ เช่นข้าวเกรียบมอญโบราณ สามารถเก็บไว้ได้นานเกิน 3 เดือน ทั้งที่ไม่ใช้ยากันบูดในการทำ แต่การเก็บจะต้องเก็บไว้ในที่แห้ง ไม่ชื้น หรืออากาศเข้าไม่ได้ เพราะจะทำให้ข้าวเกรียบเหนียว ไม่กรอบ และไม่อร่อย

พระนครศรีอยุธยา
ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย IMG_7748
โรตีสายไหม
โรตีสายไหม เป็นอาหารประเภทขนมหวานชนิดหนึ่งมีส่วนประกอบหลักอยุ่สองส่วน คือ แผ่นแป้ง และ ส่วนไส้ที่เป็น น้ำตาลเคี่ยวทำเป็นเส้นฝอยที่เรียกว่า สายไหม เวลารับประทานจะนำแผ่นแป้งมาห่อไส้และม้วน เพื่อรับประทาน โรตีสายไหม ผลิตมากและขึ้นชื่อที่จังหวัดอยุธยา และเป็นผลิตโอทอปของ ตำบลคานหาม อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีการผลิตมี 5 ขั้นตอนคือ “การหม่าแป้ง” “การแต้มแป้ง” “การทำหัวเชื้อ” “การเคี่ยวน้ำตาล” และ “การดึงเส้นสายไหม

เพชรบูรณ์

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Picture2010%5C272255310073

ขนมมะขามแปรรูป
เนื่องจากว่าจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นจังหวัดที่มีมะขามมากมายจึงมีการนำมะขามมาแปรรูปเป็นขนม เป็นของฝากที่ขึ้นชื่อของจังหวัด

พิจิตร

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย C002

มะขามแก้วสี่รส
มะขามแก้วสี่รส มีครั้งแรกที่ประเทศไทย จังหวัดพิจิตร โดยผลิตครั้งแรกขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2519

พิษณุโลก

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย 1216732879_31431216732879_3143

ขนมกล้วยตากบางกระทุ่ม
ขนมกล้วยตาก เนื่องจากมีกล้วยน้ำว้าเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงคิดวิธีทดลองถนอมอาหาร โดยการนำกล้วยสุกไปตากแดดเก็บไว้รับประทานและแจกชุมชนใกล้เคียงจนเป็นที่ติดปากและถูกใจ ในรสชาติต่อมาชาวบ้านได้ปรับปรุงและพัฒนาจนปัจจุบันเป็นของฝากที่ขึ้นชื่อของจังหวัดพิษณุโลก


ลพบุรี

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Lbr50102

เห็ดวุ้นน้ำมะพร้าว
เห็ดวุ้นน้ำมะพร้าว ในรูปแบบที่ชาวลพบุรีผลิตออกจำหน่ายนั้น ตัววุ้นจะมีความแตกต่างจากวุ้นที่ได้จากการทำขนมทั่วไป โดยเป็นวุ้นที่เกิดขึ้นในกระบวนการหมัก เช่นเดียวกับน้ำส้มสายชู โดยใช้น้ำมะพร้าวแก่กับจุลินทรีย์ที่ผลิตกรดน้ำส้ม (Acetobacter Xylinum) แผ่นวุ้นที่เกิดลอยอยู่บนผิวหน้าของน้ำส้มสายชูหมัก จะมีสีขาวคล้ายเห็ดที่ขยายตัวหนาขึ้นเรื่อยๆ ตามระยะเวลาของการหมัก จึงเรียกว่า เห็ดวุ้นน้ำมะพร้าว ปัจจุบันมีการขยายการผลิตหลายราย ผู้ผลิตรายหลังๆ ต่อมาจึงเรียกว่า วุ้นน้ำมะพร้าวซึ่งฟังดูเข้าใจง่าย มีวิธีแปรรูป ได้หลายวิธีทั้งอาหารคาวและหวาน โดยหั่นแล้วต้มในน้ำเดือดเพื่อล้างกรดน้ำส้มออก ต้ม 2-3 ครั้ง แล้วจึงนำไปแปรรูป ซึ่งอาจใช้ทำ อาหารคาว เช่น ยำเซี่ยงไฮ้ แกงเผ็ด แต่ที่นิยมคือ นำไปต้มในน้ำเชื่อมซึ่งเก็บไว้ได้นาน โดยใช้กระบวนการเช่นเดียวกับอาหารกระป๋อง รับประทานกับน้ำแข็งเป็นขนมหวาน

สมุทรปราการ

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย 1216910498

ขนมจาก
ขนมจาก เป็นขนมพื้นบ้านในย่านจังหวัดสมุทรปราการและบริเวณที่ติดชายฝั่งทะเลอื่นๆ ทำด้วยแป้งข้าวเหนียว ส่วนมากนิยมใช้ข้าวเหนียวดำ มะพร้าวทึนทึกขูดหยาบๆ น้ำตาลมะพร้าว และเกลือเล็กน้อย ที่เรียกว่าขนมจาก เพราะเป็นขนมที่ห่อด้วยใบจากสด ที่ได้จากต้นจากซึ่งเป็นพืชในวงศ์ปาล์มชนิด ขึ้นเป็นกออยู่ตามป่าชายเลนและบริเวณริมน้ำเค็ม ขนมนี้ทำให้สุกด้วยการย่างไฟคล้ายการเผาข้าวหลามแต่ใช้ความร้อนน้อยกว่า

สมุทรสงคราม

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย IMG_7291Small

กะละแมรามัญ
กะละแมรามัญ เป็นขนมหวานของชาวมอญที่หากินได้ไม่ง่ายนัก ปัจจุบันกลุ่มชาวมอญบ้านบางจะเกร็งได้รวมตัวกันทำกะละแมจำหน่ายที่ลานวัดศรัทธาธรรม และย่านดอนหอยหลอด ทั้งแบบแท่งและแบบตัดเป็นก้อนเล็กๆ พอดีคำห่อด้วยกาบหมากแห้ง วิธีเลือกซื้อ กะละแมที่ดีต้องไม่แข็งหรือเหนียวมาก ไม่เหม็นหืน รสชาติหวานมัน เพราะใส่กะทิเยอะ

สมุทรสาคร
ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย F18348_2366s
ขนมหมี่กรอบสูตรไทยโบราณ
ขนมหมี่กรอบ เป็นขนมไทยโบราณที่สืบทอดกันมาช้านานโดยนิยมรับประทานกันเป็นอาหารว่าง สามารถหาวัตถุดิบในการผลิตได้ในท้องถิ่นคือส่วนผสมที่เป็นกุ้งก็มีแหล่งเลี้ยงกุ้ง ไข่เป็ดก็มีการเลี้ยงเป็ด และน้ำตาลมะพร้าวชาวบ้านก็ปลูกมะพร้าวกันอย่างมาก จึงเป็นปัจจัยหลักในการผลิตขนมชนิดนี้

สระบุรี

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย CIMG2516

ขนมกระหรี่พัฟ
กระหรี่พัฟ เป็นขนมของท้าวทองกีบม้า มาจากภาษาอังกฤษคำว่า Curry puff

สิงห์บุรี

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย 1253627023

ขนมเค้กปลาช่อน
เป็นขนมที่เกิดขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2539 โดยเป็นขนมเค้กใส่ส่วนผสมของปลาช่อน มีการดับกลิ่นคาวปลาโดยการใช้สมุนไพรไทย

สุโขทัย

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Bankanom134281

ขนมเกลียว
ขนมเกลียว เป็นของฝากประเภทขบเคี้ยวที่ขึ้นชื่อของจังหวัดสุโขทัย ทำจากแป้งหมี่ผสมไข่ ปรุงรสด้วยพริกไทย เกลือ เคล้าให้เข้ากันก่อนจะนำมาปั้นเป็นเกลียว ทอดจนหอมกรอบ แล้วนำมาคลุกน้ำตาล มีรสหวาน

สุพรรณบุรี

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Dtawanbooks_20080801144948

ขนมสาลี่
เป็นขนมขึ้นชื่อของจังหวัดสุพรรณบุรี แต่ไม่มีใครรู้ประวัติความเป็นมาของขนมสาลี่

อ่างทอง

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Exit2118

ขนมเกสรลำเจียก
เป็นขนมขึ้นชื่อของอำเภอวิเศษไชยชาญ จังหวัดอ่างทอง

อุทัยธานี

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Kong3

ขนมกงหนองแก
เป็นขนมหวานที่ผลิตจากหมู่บ้านหนองแกที่มีรสอร่อยหวานหอมตามตำรับเดิม ซึ่งมีชื่อเสียงดังคำกล่าวขานที่ว่า น้ำยาน้ำทรง ขนมกงหนองแก และทำขึ้นจำหน่ายวันต่อวัน

อ้างอิง
www.nairobroo.com
th.wikipedia.org
www.dek-d.com
vide.google.com
http://kpp.nfe.go.th
food-recipes.vzazaa.com
gotoknow.org
www.oknation.net
www.moohin.com
www.hamanan.com
www.kruaklaibaan.com
taiyou.multiply.com
www.lannaworld.com
student.psu.ac.th
www.bloggang.com
www.weekendhobby.com
padee-reusedshop.tarad.com
weloveshopping.com
www.rd1677.com
kanchanapisek.or.th
www.maeklongtoday.com
www.cmadong.com
market.mthai.com
thaifood.m-culture.go.th
www.thongteaw.com
www.sambig.com
flash-mini.com
www.dtawanbooks.com
travel.lakkai.com
www.bloggang.com
หนังสือแกะรอยขนม ไทย โดยวิชชุตตา โกสุมพันธ์ พิมพ์ครั้งที่ 1 ปี 2553 โดยสำนักพิม์นานมีบุ๊คส์


แก้ไขล่าสุดโดย Volwar เมื่อ Sat Oct 22, 2011 2:41 pm, ทั้งหมด 6 ครั้ง (Reason for editing : แก้ไขรูปภาพและข้อมูล)
Volwar
Volwar
Webmaster
Webmaster

จำนวนข้อความ : 572
คะแนน : 770
คะแนนชื่อเสียง : 14
Join date : 23/01/2010
Age : 30
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ถนนไม่มีรถเมล์ กทม.

ขึ้นไปข้างบน Go down

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Empty ขนมไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ตั้งหัวข้อ by Volwar Wed May 12, 2010 4:58 pm

กาฬสินธุ์

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย 1229578050

มัฟฟินข้างโพด
ขนมมัฟฟินข้าวโพด เป็นขนมอบส่วนผสมเป็นแป้งเค้กและข้าวโพดเป็นหลัก รสชาติของขนมมีความหอมและหวานในรสชาติของข้าวโพด เป็นขนมที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เหมาะสำหรับเป็นของฝากแก่ผู้ที่มาแวะเยี่ยมจังหวัดกาฬสินธุ์

ขอนแก่น

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Maifa

ขนมไหมฟ้า
หรือขนมหนวดมังกรเป็นขนมที่มาจากฮ่องกงหาทานได้ยากมาก

ชัยภูมิ

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Ooooo

ขนมดอกจอก
ดอกจอก เดิมคือวัชพืชประเภทจอกและแหนที่เกิดตามห้วยหนองคลองบึง ซึ่งใบของดอกนั้นจะอัดเรียงกันสวยงาม มีกลุ่มชาวบ้านได้แนวคิดทำขนมในรูปแบบของดอกจอก ทำจากแป้งข้าวเจ้า น้ำตาล กะทิ เนย มีคุณค่าทางอาหารคือโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต ดอกจอกถือว่าเป็นขนมไทยดั้งเดิมชนิดหนึ่งเหมือนกัน

นครพนม

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย 327945

ขนมเทียนแก้ว
ขนมเทียนมีอีกชื่อหนึ่งว่าขนมนมสาว ทางภาคเหนือเรียก ขนมจ็อก ซึ่งเป็นขนมที่นิยมใช้ในงานบุญของชาวเชียงใหม่โดยเฉพาะเทศกาลสงกรานต์ แต่เดิมมีไส้มะพร้าวและไส้ถั่วเขียว แต่ในปัจจุบันมีการดัดแปลงไส้ขนมจ็อกออกไปหลากหลายมาก ชาวจีนใช้ขนมเทียนในการไหว้บรรพบุรุษช่วงวันตรุษและวันสารท ไส้เป็นถั่วเขียวกวนบด ถ้าแบบเค็มจะใส่พริกไทยและเกลือ แบบหวานใส่มะพร้าวและน้ำตาลลงไปเพิ่ม ถ้าตัวแป้งทำด้วยแป้งถั่วเรียกขนมเทียนแก้ว ในพิธีกรรมของชาวชอง (ชาวชองคือชนเผ่าพื้นเมืองทางจังหวัดจันทบุรีและระยอง มีภาษาและวัฒนธรรมของตนเอง) จะใช้ขนมเทียนในพิธีไหว้ผีหิ้งด้วย

นครราชสีมา

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย 5-1-1

ข้าวตังหมูหยอง
ข้าวตังหมูหยอง ได้รับความนิยมจากผู้บริโภครสชาติที่อร่อย ข้าวตังที่หอมซึ่งผลิตจากข้าวหอมมะลิชั้นดีโรยหน้าด้วยหมูหยองเป็นที่ถูกปากทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ มีการส่งเป็นสินค้าไปยังต่างประเทศด้วย มีคุณค่าทางอาหารเช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ธาตุเหล็ก

บึงกาฬ

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย FB221148_1434
ขนมลูกหยียักษ์
เป็นลูกหยีที่มีขนาดใหญ่ของจังหวัดบึงกาฬ ซึ่งเป็นจังหวัดที่ 77 ของไทย
บุรีรัมย์

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย 310701014901-52-Group
บุหงากระยาสารท
บุหงากระยาสารท เป็นขนมที่ทำด้วยงาและข้าวเม่าข้าวตอก กวนกับน้ำตาล แต่เดิมนิยมทำกันเฉพาะในเทศกาลเดือนสิบ ต่อมาลูกค้ามาสั่งซื้อเป็นของฝากตลอดทั้งปี จึงได้ทำขายอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน มีจำหน่ายทั่วไปในจังหวัดบุรีรัมย์

มหาสารคาม

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย 010

กะหรี่ปั๊ปไส้มันแกว
ขนมกระหรี่ปั๊ป เป็นขนมที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดมหาสารคามและเป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไป เนื่องจากไส้ทำด้วยมันแกวขูดเป็นฝอย รสชาติ หวาน หอม น่ารับประทาน และเป็นรายแรกและรายเดียวในประเทศไทยที่ทำกระหรี่ปั๊ปไส้มันแกว

มุกดาหาร

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย 1230355046

ข้าวเกรียบ
ในจังหวัดมุกดาหารข้าวเกรียบนั้นยังมีแบบสมุนไพรอีกด้วย

ยโสธร

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย 2006_07180047

ขนมเปี๊ยะ
ขนมเปียะ จังหวัดยโสธร เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย และเป็นที่นิยมซื้อกลับมาเป็นของฝาก เนื่องจากรสชาติของขนมทั้งไส้และแป้ง หอมหวาน อร่อย คุณค่าทางอาหารก็มีครบทั้ง 5 หมู่ เป็นที่ยอมรับของผู้ที่แวะเวียนมาจังหวัดยโสธร

ร้อยเอ็ด

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย M128087

นางเล็ด
ขนมนางเล็ด เป็นขนมที่เกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้าน จำหน่ายเพื่อเป็นรายได้เสริมของครอบครัว มีส่วนผสมข้าวเหนียวตากแห้ง น้ำกะทิ น้ำแตงโม น้ำตาลเป็นหลัก คุณค่าทางอาหารให้พลังงานแก่ร่างกาย

เลย

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย 1213324088

กล้วยสุกทอด
พื้นที่ริมแม่น้ำโขงแถบ อ. เชียงคาน และ อ. ปากชม จ. เลย เป็นแหล่งปลูกกล้วยแหล่งใหญ่ สินค้าแปรรูปที่ทำจากกล้วยจึงเป็นสินค้าพื้นเมืองของที่นี่

สกลนคร

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Snc11724

กล้วยตากแผ่น
กล้วยตากแผ่น เป็นการแปรรูปกล้วยน้ำหว้าให้เก็บไว้ได้นาน ระยะแรกทำเป็นกล้วยตากธรรมดาแต่ไม่เป็นที่นิยม จึงทดลองทำกล้วยตากแผ่นจนเป็นที่นิยมของลูกค้าและได้มีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์เรื่อยมา โดยแปรรูปเป็นกล้วยตากแผ่นแบบบางและหนา กล้วยอบน้ำผึ้ง กล้วยกวน กล้วยทอด มีคุณค่าทางอาหารคือ ให้วิตามิน A, B และ C

สุรินทร์

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย 320900035201-52A

กาละแม ศรีขรภูมิ
กาละแม เป็นขนมไทยที่ใช้ในงานมงคล งานแต่งงานใช้ในขบวนแห่ขันหมาก เป็นของฝากที่เหมาะมอบให้กับคนรัก หรือผู้ใหญ่ที่ให้ความเคารพนับถือ เป็นขนมที่ขึ้นชื่อของจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งได้ทำติดต่อกันมาร่วม 40 ปี และปัจจุบันถือว่าเป็นของฝากประจำจังหวัดสุรินทร์


ศรีษะเกษ

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Kleeblumduan

ขนมกลีบลำดวน
ดอกลำดวนเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดศรีษะเกษ และขนมดอกลำดวนเป็นขนมที่รูปร่างเหมือนดอกลำดวน จึงมีการนำขนมนี้ออกมาเป็นของฝาก ของศรีษะเกษ

หนองคาย

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Knj_4_5942

ขนมจอก
หรือ “ตือคาโค” ขนมโบราณกรอบๆ เค็มๆมันๆ หาทานไม่ง่ายนักในปัจจุบัน ทานเป็นอาหารเช้า หรือ ของทานเล่นเพลินๆ

หนองบัวลำภู

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย 0-78

กล้วยอบเนย
ชาวบ้านจังหวัดหนองบัวลำภูได้นำกล้วยมาแปรรูปเป็นกล้วยอบเนย จนเป็นสินค้าของฝากของชุมชน

อำนาจเจริญ

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย 15-55-thickbox

ทองพับ
ทองพับ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาและคิดค้นกรรมวิธีการผลิตและคุณภาพ จากกลุ่มราษฎรในจังหวัด โดยทดลองปรับปรุงสูตรทำขนมจากเดิม ให้สอดคล้องกับรสนิยมของผู้บริโภคของคนในท้องถิ่น ปัจจุบันขนมทองพับเป็นที่นิยมของคนในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัดใกล้เคียง

อุดรธานี

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย 1165549293

มะพร้าวแก้ว
มะพร้าวแก้ว เป็นขนมที่นิยมทำกินกันในครอบครัวและทำกันในช่วงเทศกาลสำคัญทางพุทธศาสนา ส่วนประกอบและวิธีการทำไม่ยุ่งยากมีเพียงมะพร้าวและน้ำตาล คนทั่วไปนิยมซื้อเป็นของฝาก ต่อมามีการเพิ่มรูปแบบให้มากขึ้นเช่น ทำเป็นแผ่น เป็นเส้น ผสมสีต่างๆ เพื่อให้ดูน่ารับประทาน

อุบลราชธานี

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Baakaf5fdh8fi6f997b5j

ข้าวเกรียบสมุนไพรต่างๆ
ขนมข้าวเกรียบมันเทศ, ฟักทอง, กล้วย เป็นอาหารแปรรูปจากผลผลิตทางการเกษตร แล้วนำมาแต่งกลิ่นสมุนไพร เช่นใบกระเพรา มีคุณค่าทางอาหารให้โปรตีนคาร์โบไฮเดรตสูง ไม่มีสารปรุงรสอื่นที่เป็นอันตราย บรรจุถุงจำหน่ายแบบข้าวเกรียบดิบ หรือนำไปทอดจนสุกแล้วบรรจุจำหน่ายแบบข้าวเกรียบทอด มีการผลิตเพื่อการส่งออกอย่างกว้างขวาง

อ้างอิง
www.amphoe.com
www.thaitambon.com
www.dek-d.com
www.bloggang.com
www.khonkaentoday.com
thaiofficedrama.wordpress.com
www.oknation.net
th.wikipedia.org
fwmail.teenee.com
www.nairobroo.com
www.sakon-nakhon.com
www.taradnoi.com
http://www.hflight.net
www.shop.stpbakery.com
http://www.komchadluek.net

หนังสือเที่ยวไป ช้อปไป ช้อปของดี 76 จังหวัดกับ มผช.


แก้ไขล่าสุดโดย Volwar เมื่อ Fri May 06, 2011 2:02 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
Volwar
Volwar
Webmaster
Webmaster

จำนวนข้อความ : 572
คะแนน : 770
คะแนนชื่อเสียง : 14
Join date : 23/01/2010
Age : 30
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ถนนไม่มีรถเมล์ กทม.

ขึ้นไปข้างบน Go down

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Empty Re: ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย

ตั้งหัวข้อ by *!!~AlFeiLai~!!* Wed May 12, 2010 9:13 pm

ง่ะ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือพี่วอเอามาแค่15จังหวัดเองอะ>A<;;

อร๊าง ข้าวเกรียบน่ากิน >w<


แก้ไขล่าสุดโดย *!!~AlFeiLai~!!* เมื่อ Wed May 12, 2010 9:14 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง (Reason for editing : พิมพ์ตกไปหน่อย)
*!!~AlFeiLai~!!*
*!!~AlFeiLai~!!*
B Class
B Class

จำนวนข้อความ : 265
คะแนน : 299
คะแนนชื่อเสียง : 21
Join date : 28/03/2010
Age : 28
ที่อยู่ : Thailand

https://twitter.com/spellsunnn

ขึ้นไปข้างบน Go down

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Empty ขนมไทยภาคตะวันออก

ตั้งหัวข้อ by Volwar Thu May 13, 2010 4:38 pm

จันทบุรี

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย 6035685_1258511298

ทุเรียนทอดกรอบ
ทุเรียนเป็นผลไม้ขึ้นชื่อของจังหวัดจันทบุรี และที่จังหวัดจันทบุรีมีการปลูกทุเรียนมากมายและมีการนำมาแปรรูปเป็นทุเรียนทอดกรอบ

ฉะเชิงเทรา

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Image001

ขนมชั้น
เป็นขนมไทยโบราณที่ใช้ในงานพิธีมงคล โดยมีความเชื่อว่าจะต้องหยอดขนมให้ได้ 9 ชั้น จึงจะเป็นสิริมงคลเจริญก้าวหน้าแก่เจ้าภาพ

ชลบุรี

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Shop110-l_1

ข้าวหลามหนองมน
กว่าที่ข้าวหลามหนองมน จะโด่งดังมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวนั้น แรกเริ่มเดิมทีชาวบ้านหนองมนมีอาชีพทำนา เมื่อหมดหน้านาก็จะทำข้าวหลามเป็นของหวานกินกันตามอัตภาพ โดยจะนำข้าวเหนียวไปแลกกับน้ำตาลและมะพร้าวจากหมู่บ้านอื่น ส่วนไม้ไผ่ป่าก็หาตัดกันเองบนเขาบ่อยาง เมื่อมีงานประจำปีที่ศาลเจ้าหลังหนองมน จึงเกิดมีการค้าขายขึ้น พ่อค้าแม่ค้าส่วนจะขายข้าวหลาม ควบไปกับการขายอ้อยควั่นและถั่วคั่ว โดยในยุคนั้นมีขายกันเพียงไม่กี่เจ้า จนเมื่อมีการตัดถนนสุขุมวิท (สายเก่า) ทำให้มีผู้คนแวะเวียนเข้ามาเที่ยวบางแสนมากขึ้น เกิดร้านค้ามากมายเรียงยาวตามเส้นทางสายสุขุมวิท ต.แสนสุข จ.ชลบุรี ที่ไม่ว่าใครผ่านไปผ่านมาต้องแวะลงไปซื้อข้าวหลามติดไม้ติดมือกลับบ้าน ซึ่งปัจจุบันข้าวหลามหนองมนผ่านยุคผ่านสมัยมาเป็นเวลาหลายสิบปีมาแล้ว

ตราด

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Pooyingnaka20090617_211651

ขนมน้ำตาลชักหรือตังเม
ขนมน้ำตาลชักหรือตังเม เป็นขนมชนิดหนึ่งทำจากน้ำตาลหรือน้ำอ้อยที่เคี่ยวจนเหนียววิธีการทำขนมน้ำตาลชักหรือตังเมมีขั้นตอนที่สำคัญ 2 ขั้นตอนคือ การเคี่ยวน้ำตาลและการชักน้ำตาลหรือตีนวลซึ่งเป็นขั้นตอนที่ต้องอาศัยความชำนาญและประสบการณ์ รสชาติหวาน หอม กรอบ สามารถเก็บไว้ได้นาน

ปราจีนบุรี

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Dscn4251

ขนมเขียว
ขนมเขียว เป็นขนมพื้นบ้านของจังหวัดปราจีนบุรี ต้นกำเนิดอยู่ที่อำเภอนาดี เป็นขนมลูกผสมระหว่างข้าวเกรียบปากหม้อกับขนมถั่วแปบ เปลือกที่ใช้ห่อข้างนอกใช้แป้งข้าวเจ้าที่เป็นแป้งโม่ โดยผสมข้าวเจ้าแข็ง น้ำปูนใส ใบเตยสับนำไปโม่ด้วยเครื่องโม่จนได้น้ำแป้งสีเขียว นำไปผสมกับแป้งข้าวเจ้าชนิดและแป้งมัน นำไปละเลงบนผ้าขาวบางที่คลุมอยู่บนปากหม้อที่ตั้งน้ำไว้จนเดือด พอสุกแคะใส่จาน ตักไส้ที่ประกอบด้วยถั่วเหลือง มะพร้าวขูด น้ำตาลทราย และเกลือ พับครึ่ง ตักใส่จาน ขนมนี้ต่างจากข้าวเกรียบปากหม้อที่ไม่ต้องกินกับผัก และไม่ต้องกินกับน้ำตาลทรายโรยเกลือเหมือนขนมถั่วแปบ

ระยอง

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Ray50104

สับปะรดกวน
ระยอง เป็นจังหวัดที่มีสับปะรดหลากหลายชนิด และมีปริมาณมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สับปะรดมีการปลูกมากถึง 93,450 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 5,600 กก./ไร่ เมื่อจังหวัดระยองมีสับปะรดมากจึงมีการนำสับปะรดมากวนเป็นขนมของฝากขาย

สระแก้ว

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย 103594765

ทองม้วนชาววัง
ทองม้วนชาววัง เป็นขนมขบเคี้ยวที่เกิดจากการรวมตัวของสตรี " กลุ่มแม่บ้านนิคมทหาร " เพื่อเสริมอาชีพหลักหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยวพืชผลทางการเกษตร มีคุณค่าทางอาหารให้พลังงานและคาร์โบไฮเดรต

อ้างอิง

www.ubmthai.com
th.wikipedia.org
www.dek-d.com
www.moohin.com
www.pramool.com
student.psu.ac.th
school.obec.go.th
www.horapa.com
www.bloggang.com
kanchanapisek.or.th
Volwar
Volwar
Webmaster
Webmaster

จำนวนข้อความ : 572
คะแนน : 770
คะแนนชื่อเสียง : 14
Join date : 23/01/2010
Age : 30
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ถนนไม่มีรถเมล์ กทม.

ขึ้นไปข้างบน Go down

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Empty Re: ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย

ตั้งหัวข้อ by *!!~AlFeiLai~!!* Thu May 13, 2010 7:24 pm

ทุเรียนทอดกรอบน่ากิน อร่อยๆ XD (จะอ้วนแล้วT^T)
*!!~AlFeiLai~!!*
*!!~AlFeiLai~!!*
B Class
B Class

จำนวนข้อความ : 265
คะแนน : 299
คะแนนชื่อเสียง : 21
Join date : 28/03/2010
Age : 28
ที่อยู่ : Thailand

https://twitter.com/spellsunnn

ขึ้นไปข้างบน Go down

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Empty ขนมไทยภาคตะวันตก

ตั้งหัวข้อ by Volwar Fri May 14, 2010 4:54 pm

ภาคตะวันตก
กาญจนบุรี

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย 11556_8731962325

ขนมทองโย๊ะ
ขนมทองโย๊ะ เป็นชื่อของขนมกะเหรี่ยงชนิด ทำมาจากข้าวเหนียวผสมกับงาที่นิ่มแล้วนำไปตำจนแหลก ปั้นเป็นแผ่นแล้วหั่นเป็นท่อนๆพอดีคำจากนั้นจึงนำไปทอด จิ้มกินกับนมข้นหวานหรือน้ำผึ้งกรอบนอก นุ่มและเหนียวหนึบด้านใน หอมกลิ่นงา หวานจางๆอมเค็มน้อยๆ ในตัวเนื้อขนมซึ่งหากรู้สึกว่ายังไม่หวานได้ใจพอล่ะก็สามารถนำขนมจิ้มนมข้นหวานเพิ่มเติมเสริมความอร่อยได้

ตาก

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Arlava%20

เส่งเผ่และฮาละหว่า
เป็นชื่อของขนมหวานที่มาจากประเทศพม่า “เส่งเผ่” มีลักษณะคล้ายขนมข้าวเหนียวแดง ที่ทำจากข้าวเหนียว น้ำอ้อย กะทิ ต่างกันตรงหน้าเส่งเผ่จะราดด้วยหัวกะทิแล้วปิ้ง หรือ อบหน้าจนเกรียม รสชาติหวานมัน ส่วน “ฮาละหว่า” ตัวขนมทำจากแป้งข้าวเจ้า น้ำตาลทราย กะทิ เมล็ดสาคูเล็ก หน้าขนมทำเช่นเดียวกับเส่งเผ่ มีรสชาติหวานมัน แม่ค้าจะทำขนมนี้บรรจุในถาดกลม และตัดขายเป็นชิ้นเล็ก ๆ มีขายในตลาดสดเทศบาล อำเภอแม่สอด

ประจวบคิรีขันธ์

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย _MG_1419

ขนมเปี๊ยะปิ้งไส้ปลา



เป็นของฝากที่ใหม่ของเมืองหัวหิน

เพชรบุรี

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย 1

หม้อแกง
ขนมหม้อแกงเมืองเพชรบุรีมีประวัติความเป็นมายาวนานตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.4 ครั้ง ที่เสด็จประทับ ณ พระนครคีรี จ.เพชรบุรี พัฒนาจนขนมหม้อแกงกลมกลืนกลายเป็นวิถีชีวิต และเป็นเอกลักษณ์ของ ชาวเพชรบุรีไปในที่สุด ดังนั้นงานพิธีมงคลไม่ว่า งานมงคลสมรส งานบวชนาค งานพิธีขึ้นบ้านใหม่ ขนมหม้อแกง จะเป็นหนึ่งในอาหารคาวหวานมาโดยตลอด ขนมหม้อแกงเมืองเพชรถือว่า หวาน หอม กลมกล่อม และอร่อยที่สุด ส่วนผสมนอกจากไข่สดๆ (ไข่ขาว) หัวกะทิที่เข้มข้น เผือก หรือเมล็ดบัว แล้วยังมีน้ำตาลโตนด ซึ่งผลิตขึ้นในจังหวัดเพชรบุรีเอง ซึ่งถือว่าเป็นส่วนผสมสำคัญที่ทำให้ขนมหม้อแกงเมืองเพชรมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนที่อื่น เมื่อผ่านจังหวัดเพชรบุรีแวะชม หรือซื้อขนมหม้อแกงได้ทุกร้าน อาทิ เช่น ร้านแม่สมาน แม่กิมลั้ง แม่กิมไล้ แม่ละเมียด แม่บุญล้น แม่กิมลุ้ย แม่บุญสม แม่สงวน แม่ปิ่น พ่อเข่ง ชิดชนก และนันทวรรณ เป็นต้น

ราชบุรี

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย 700700694701A

ติ๋มเค้กมะพร้าวอ่อน
เป็นขนมของฝากที่ถือกำเนิดขึ้นในปี 2523

อ้างอิง
www.oceansmile.com
www.thaitambon.com
www.prachuppost.com
www.timcoconutcake.com
http://learners.in.th/
http://jojoe.freetzi.com
www.edtguide.com
Volwar
Volwar
Webmaster
Webmaster

จำนวนข้อความ : 572
คะแนน : 770
คะแนนชื่อเสียง : 14
Join date : 23/01/2010
Age : 30
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ถนนไม่มีรถเมล์ กทม.

ขึ้นไปข้างบน Go down

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Empty Re: ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย

ตั้งหัวข้อ by *!!~AlFeiLai~!!* Fri May 14, 2010 8:12 pm

ขนมทองโย๊ะ เพิ่งเคยได้ยินอ่า=[ ]=
ขนมเปี๊ยะน่ากิน
*!!~AlFeiLai~!!*
*!!~AlFeiLai~!!*
B Class
B Class

จำนวนข้อความ : 265
คะแนน : 299
คะแนนชื่อเสียง : 21
Join date : 28/03/2010
Age : 28
ที่อยู่ : Thailand

https://twitter.com/spellsunnn

ขึ้นไปข้างบน Go down

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Empty Re: ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย

ตั้งหัวข้อ by Hiyura Fri May 14, 2010 8:44 pm

ขนมสาลี่น่ากินจัง
Hiyura
Hiyura
F Class
F Class

จำนวนข้อความ : 10
คะแนน : 20
คะแนนชื่อเสียง : 2
Join date : 11/05/2010
Age : 28
ที่อยู่ : 12/131 ม.1 ต.คลองสอง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120

http://my.dek-d.com/kayka/

ขึ้นไปข้างบน Go down

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Empty ขนมไทยภาคเหนือ

ตั้งหัวข้อ by Volwar Sat May 15, 2010 2:35 pm

เชียงราย

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย 570101574701-52

ข้าวเกรียบสับปะรดนางแล
ข้าวเกรียบสับปะรด เนื่องจากประชาชนประกอบอาชีพทำสวนสับปะรดพันธุ์นางแลจึงได้มีความคิดทำสับปะรดพันธุ์นางแลที่มีอยู่มาทำเป็นข้าวเกรียบเพื่อส่งเสริมให้มีรายได้เพิ่มขึ้น

เชียงใหม่

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย IMG_2921

ขนมจ๊อก
อาหารหวานของทางภาคเหนือ และถือเป็นของหวานที่เป็นขนมยอดนิยม ทำกันทุกบ้านในเวลาเทศกาลโดยเฉพาะ สงกรานต์ หรือเทศกาลเข้าพรรษา เดือนยี่เป็ง เวลาไปทำบุญที่วัด เราจะพบเห็นขนมพื้นบ้านที่ทุกบ้านจะนิยมทำ คือ "ขนมจ๊อก" คำว่า "จ๊อก" เป็นคำกริยาที่หมายถึง การทำสิ่งของ
ให้มีลักษณะเป็นคล้ายๆ กระจุก มียอดแหลม คือ การห่อขนมเทียนของทางภาค กลางนั่นเอง ขนมจ๊อกของภาคเหนือดั้งเดิมนิยมทำไส้หวานจากมะพร้าวเท่านั้น ไม่นิยมทำไส้ถั่วหรือไส้เค็มเลย อาหารหวานของทางภาคเหนือ และถือเป็นของหวานที่เป็นขนมยอดนิยม ทำกันทุกบ้านในเวลาเทศกาลโดยเฉพาะ สงกรานต์ หรือเทศกาลเข้าพรรษา เดือนยี่เป็ง เวลาไปทำบุญที่วัด เราจะพบเห็นขนมพื้นบ้านที่ทุกบ้านจะนิยมทำ คือ "ขนมจ๊อก" คำว่า "จ๊อก" เป็นคำกริยาที่หมายถึง การทำสิ่งของให้มีลักษณะเป็นคล้ายๆ กระจุก มียอดแหลม คือ การห่อขนมเทียนของทางภาค กลางนั่นเอง ขนมจ๊อกของภาคเหนือดั้งเดิมนิยมทำไส้หวานจากมะพร้าวเท่านั้น ไม่นิยมทำไส้ถั่วหรือไส้เค็มเลย

น่าน

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย History6

ข้าวแต๋นสมุนไพร
ข้าวแต๋นสมุนไพร กลุ่มชาวบ้านได้รวบรวมเอาบุคลากรรุ่นหลาน เหลน เข้ามาร่วมกันผลิตข้าวแตน เพื่อให้เป็นสินค้าของชุมชนที่จะร่วมกันรักษาไว้ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของพรรพบุรุษ ซึ่งข้าวแตนมีชื่อเสียงในด้านความอร่อย กรอบ หวาน สามารถเป็นของฝากและของที่ระลึกของจังหวัดน่าน

พะเยา

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Chirai2-501-3-1

ขนมปาด
ขนมปาดซึ่งเป็นขนมพื้นเมืองของชาวไทลื้อ ออกจำหน่ายได้ดี แต่มีปัญหา ไม่สามารถเก็บ ไว้ได้นาน ขนมปาดทำมาจากแป้งข้าวจ้าวกวนกับน้ำอ้อย โรยหน้าด้วยมะพร้าวขูดผสมเกลือ

แพร่

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Q6907

ขนมสามเกลอสูตรแพร่
ขนมพื้นถิ่นของแพร่ ที่รู้จักกันเฉพาะในหมู่คนแก่ เด็ก รุ่นใหม่ ๆ 90% ไม่เคยกินและไม่เคยรู้จัก มีเด็กเพียง 10% ที่เคยกิน นั่นเพราะที่บ้านมีคุณย่า คุณยาย คอยทำให้กิน แต่ ทั้ง 100% ไม่มีใครรู้ว่า ขนมชนิดนั้น มีความเป็นมาอย่างไร กว่าจะมาเป็นขนมชิ้นนั้น

แม่ฮ่องสอน

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย 1237574088

ขนมงา
ขนมงา เดิมชาวแม่ฮ่องสอนทำขนมงาในฤดูหนาวช่วงเดือนธันวาคม - มกราคม เป็นช่วงที่มีการทำน้ำอ้อยเพื่อเก็บไว้ได้ตลอดทั้งปี โดยนำมากวนในน้ำอ้อย เรียกว่า งาโหย่า ต่อมาได้นำงามาปรับปรุงวิธีการผลิตทั้งส่วนผสม รสชาติ และลักษณะ รูปร่าง ให้ได้รสชาติที่คนส่วนใหญ่นิยม

ลำปาง

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย 553000003463701

ข้าวแต๋น
ข้าวแต๋น เป็นขนมพื้นบ้านของจังหวัดลำปาง มีชื่อเสียงมากเนื่องจากมีรูปแบบและขนาดต่างจากข้าวแต๋นท้องที่อื่นๆ มีรูปแบบหลากหลายและมีรสชาติทั้งน้ำอ้อยและแบบดั้งเดิม รสหมูหยอง สมุนไพรและรสน้ำอ้อยผสมงาขาว ปัจจุบันข้าวแต๋นมีชื่อเสียงโด่งดังมีจำหน่ายทั่วทุกภาค

ลำพูน

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Directory

เค้กลำไย
ลำไยเป็นผลไม้ขึ้นชื่อของจังหวัดลำพูน จึงมีการนำลำไยมาทำเป็นเค้กลำไย

อุตรดิตถ์

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย P10004861eu4

ขนมเทียนเสวย
ขนมเทียนเสวย มีส่วนผสมประกอบด้วย แป้งข้าวเหนียว น้ำตาลทราย มะพร้าว และงาคั่ว อบให้หอมด้วยเทียนอบดอกมะลิและกระดังงา เป็นขนมที่ไว้ต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองของคนไทยนั้นสืบทอดกันมาแต่โบราณกาล


แก้ไขล่าสุดโดย Volwar เมื่อ Sun Sep 26, 2010 8:37 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
Volwar
Volwar
Webmaster
Webmaster

จำนวนข้อความ : 572
คะแนน : 770
คะแนนชื่อเสียง : 14
Join date : 23/01/2010
Age : 30
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ถนนไม่มีรถเมล์ กทม.

ขึ้นไปข้างบน Go down

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Empty Re: ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย

ตั้งหัวข้อ by *!!~AlFeiLai~!!* Sat May 15, 2010 8:04 pm

ในนี้เคยกินแต่ข้าวแต๋นอะ แฮะๆ อย่างอื่นๆไม่เคยๆ(-- )( --)(-- )
*!!~AlFeiLai~!!*
*!!~AlFeiLai~!!*
B Class
B Class

จำนวนข้อความ : 265
คะแนน : 299
คะแนนชื่อเสียง : 21
Join date : 28/03/2010
Age : 28
ที่อยู่ : Thailand

https://twitter.com/spellsunnn

ขึ้นไปข้างบน Go down

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Empty ขนมไทยภาคใต้

ตั้งหัวข้อ by Volwar Sat May 15, 2010 10:46 pm

กระบี่

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย 415581_1

คุกกี้เม็ดมะม่วงหิมพานต์
คุกกี้เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เกิดจากการแปรรูปมะม่วงหิมพานต์ที่มีมากในเขตพื้นที่จังหวัดกระบี่ ซึ่งมีคุณค่าทางอาหารมากมาย รสชาติ หอม หวาน มัน โดยชาวบ้านได้จัดทำเพื่อจำหน่ายเป็นของฝากของจังหวัดกระบี่

ชุมพร

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย F20747_7207

กล้วยหิมพานต์
กล้วยหิมพานต์ เป็นขนมแปรรูปมาจากกล้วยเล็บมือนางและเม็ดมะม่วงหิมพานต์ที่มีมากในจังหวัดชุมพร มีคุณค่าทางโภชนาการของผลไม้ดีกว่าแป้งและน้ำตาล รสชาติ หอม มัน กรอบ นิยมซื้อเป็นของฝาก

ตรัง

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย 00006_0

ขนมเค้กเมืองตรัง
เป็นขนมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของจังหวัดตรัง ไม่มีแต่งหน้าครีม ที่สำคัญคือ จะมีรูอยู่ตรงกลาง คล้ายโดนัทขนาดใหญ่ เป็นที่นิยมกระทั่งปัจจุบันกลายเป็นสินค้าโอท็อปที่มีการซื้อติดไม้ติดมือเป็นของฝากกันอย่างแพร่หลาย ขนมเค้กเมืองตรังนั้นมีประวัติความเป็นมาและมีสูตรการผลิตที่ตกทอดมานานกว่า 80 ปี ถือกําเนิดหรือผลิตแห่งแรกภายในชุมชนเล็กๆ ตําบลลําภูรา อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ถ้าสืบค้นกลับไปถึงที่มาของ "ขนมเค้กเมืองตรัง" จะพบว่า ขนมเค้กเมืองตรังนั้นพัฒนามาจากขนมไข่ของหมู่คนจีนทั่วๆ ไปตามหัวเมืองต่างๆ ที่คนจีนไหหลำอพยพมาตั้งรกราก คนตรังยุคแรก เรียกว่า "ขนมไข่ไก่" นิยมใส่ขันหมากไปขอภรรยา เพียงแต่หมู่คนจีนเมืองตรังคิดรูปแบบขนมไข่ไก่ใหม่ แทนที่จะเป็นก้อนกลมๆ เล็กๆ เท่ากำปั้นเด็ก ห่อกระดาษแก้ว กระดาษฟางใส ห่อละสามสี่ก้อน ก็พัฒนามาเป็นรูปแบบเค้กวันเกิด บรรจุกล่องสี่เหลี่ยม ต่างกันตรงมีตรา มียี่ห้อที่กล่อง และแต่งหน้าด้วยลูกเกด เติมกลิ่นปรุงแต่งหลายรสชาติ จุดกำเนิดของการผลิตขนมเค้ก เพื่อเป็นของกินคู่กับกาแฟ ซึ่งชาวจีนไหหลำเรียกว่า "ขนมเก็ก" และพัฒนาต่อมาเป็นลำดับ โดยสูตรในการทำขนมเค้กทั้งหมด ยังคงส่วนประกอบหลักของขนมไข่ของคนจีนทั่วๆ ไป เมืองตรังมีการรวมตัวกันพัฒนาขนมเค้กในนาม "ชมรมขนมเค้กจังหวัดตรัง" โดยมีนายยี่เค้ง วงศ์สัมพันธ์ เจ้าของร้านเค้กรสเลิศ เป็นประธานชมรม มีการเผยแพร่และจัดสอนแก่ผู้ผลิตรายย่อยโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เพื่อเป็นการสนับสนุนให้เค้กตรังมีรสชาติ คุณภาพ และมาตรฐานที่เหมือนกัน ปัจจุบันจังหวัดตรังจึงมีการทำขนมเค้ก เป็นกิจการในครัวเรือนที่มีการผลิตกันอย่างแพร่หลาย จำนวน 81 ราย มีรสต่างๆ หลากหลาย เช่น รสกาแฟ ใบเตย เค้กสามรส เค้กสี่รส เค้กนมสด เค้กมะพร้าว เค้กเผือก เค้กส้ม เค้กชาเขียว เค้กขนุน เค้กลิ้นจี่ เค้กเนย เค้กพุทรา เค้กผลไม้ เค้กงาดำ เค้กอบกรอบ ฯลฯ ขนมเค้กเมืองตรัง จึงเป็นที่รู้จักของคนทั่วประเทศ เป็นของฝากที่เป็นเอกลักษณ์ กระทั่งทางจังหวัดและภาคเอกชนหันมาให้ความสนใจจึงริเริ่มให้มีการจัดงาน "เทศกาลขนมเค้ก" ปี พ.ศ.2534

นครศรีธรรมราช

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย La

ขนมลา
ขนมลา เป็นขนมหวานพื้นบ้านของทางภาคใต้ ของประเทศไทย ซึ่งทำมาจากแป้งข้าวเจ้า เป็นขนมสำคัญหนึ่งในห้าชนิดที่ใช้สำหรับจัดหฺมฺรับเพื่อนำไป ถวายพระสงฆ์ในงานประเพณีบุญสารทเดือนสิบ ซึ่งเป็นงานบุญประเพณีที่สำคัญของจังหวัดนครศรีธรรมราชโดยอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับ ชาวนครศรีธรรมราชปรุงขนมลาขึ้นเพื่อเป็นเสมือนแพรพรรณเสื้อผ้า ปัจจุบันขนมลามีจำหน่ายตลอด ทั้งปี ไม่ปรุงเฉพาะในเทศกาลอย่างที่เคยปฏิบัติมา ขนมลามี 2 ชนิดคือลาเช็ดและลากรอบ ขนมลาเช็ดจะใช้น้ำมันน้อย โรยแป้งให้หนา เมื่อสุกพับเป็นครึ่งวงกลม รูปร่างเหมือนแห ลากรอบ นำลาเช็ดมาโรยน้ำตาลแล้วนำไปตากแดด ในปัจจุบันมีการทำลากรอบแบบใหม่ โดยเพิ่มแป้งข้าวเจ้าให้มากขึ้น ใช้น้ำมันมากขึ้น เมื่อแป้งสุกแล้วม้วนเป็นแท่งกลม พักไว้จนเย็นจึงดึงไม้ออก

นราธิวาส

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย 20090918_DSC05339

ข้าวเกรียบปลาสด (กะโป๊ะ)
ข้าวเกรียบปลาสด ทำจากปลาทุกชนิดที่ใช้ทำเป็นลูกชิ้นปลานำมาทำข้าวเกรียบปลาได้ ซึ่งมีวิธีการผลิตใช้เทคนิคและวิธีการด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านและเป็นการถนอมอาหารสามารถเก็บไว้รับประทานได้นาน ข้าวเกรียบปลาสดนิยมนำมารับประทานเป็นอาหารว่างหรือกับแกล้ม แต่ผู้รับประทานมักเข้าใจผิดว่าข้าวเกรียบปลาคงจะมีกลิ่นคาวหรืออร่อยไม่เท่าข้าวเกรียบกุ้ง ชาวบ้านจึงได้พัฒนารสชาติให้ดียิ่งขึ้น

ปัตตานี

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย DSC00242

ขนมลูกหยี
ขนมลูกหยี ประกอบด้วย ลูกหยี เกลือ น้ำตาลทราย พริก มีรสชาติเปรี้ยว คนในท้องถิ่นได้คิดค้นสูตรในการทำลูกหยีฉาบ ลูกหยีกวน ลูกหยีทรงเครื่อง ได้รสชาติเป็นที่ติดใจของลูกค้าเป็นการหารายได้จุนเจือครอบครัวอีกด้วย

พังงา

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Tour-songtaew-phuket14

ขนมเต้าสอ
ขนมเต้าส้อ เป็นขนมพื้นเมืองที่ชาวพังงาทำมานาน มีไส้ให้เลือกรับประทานหลายชนิด เช่น ไส้เค็ม ไส้หวาน ไส้ถั่วแดง เอกลักษณ์ในรสชาติความอร่อยไม่เปลี่ยนแปลง อีกทั้งมีคุณค่าทางอาหารมากมาย ไม่ว่าจะเป็นโปรตีนหรือคาร์โบไฮเดรต

พัทลุง

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Putth2-501-2-1

ขนมก้านบัว
เป็นขนมพื้นเมืองของจังหวัดพัทลุง และจังหวัดใกล้เคียง

ภูเก็ต

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย HudroX177987-02

ขนมอาโป๊ง
อาโป๊ง เป็นขนมพื้นเมืองที่ชาวภูเก็ตนิยมทานกับน้ำชาตอนเช้า วิธีการทำอาโป๊ง ก็เริ่มตั้งแต่การเตรียมส่วนประกอบต่างๆ ได้แก่ แป้งข้าวเจ้า ไข่ไก่(เอาแต่ไข่แดง) น้ำตาลทราย น้ำกะทิ น้ำ และยีสต์ โดยนำส่วนผสมทั้งหมดมาผสมกัน เวลาทำให้ราดบนกระทะหลุมใบเล็ก กลิ้งน้ำแป้งให้เป็นแผ่นวงกลม แล้วปิดฝา ตั้งเอาไว้บนอั้งโล่สักพัก ควบคุมไฟอย่างให้ร้อนจนเกินไป หมั่นเปิดฝาดู พอสุกเหลืองให้ลอกออกม้วนตั้งทิ้งไว้ ความอร่อยอยู่บนความบางกรอบของเนื้อขนมแต่ตรงกลางหนานุ่ม

ยะลา

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย FB18450_1394A

กล้วยหินฉาบ
กล้วยหินฉาบ จะมีคุณลักษณะเฉพาะที่มีความแข็งกว่ากล้วยชนิดอื่น ทำให้เก็บรักษาไว้ได้นาน กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จึงได้รวมตัวกันทำการแปรรูปกล้วยหินเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น กล้วยหินฉาบเค็ม กล้วยหินฉาบหวาน และอื่นๆ ออกวางจำหน่ายจนได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป จนปัจจุบันถือว่ากล้วยฉาบหินเป็นของฝากจังหวัดยะลา

ระนอง

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย 1225121752

ซาลาเปาทับหลี
ซาลาเปาทับหลี เป็นชื่อแฟรนไชส์ซาลาเปา เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสินค้าจากโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ของ บ้านทับหลี ตำบลมะมุ อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง ซาลาเปาทับหลี เป็นชื่อแฟรนไชส์ซในปี 2495 ได้เกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ในตลาดท่าข้าม ร้านค้าของนายยกกว้างถูกไฟไหม้หมดเนื้อหมดตัว จึงเดินทางกลับบ้านมาอาศัยอยู่กับครอบครัวดั้งเดิมและเริ่มทำซาลาเปาขายช่วยเหลือครอบครัว ได้ถ่ายทอดวิธีทำซาลาเปา ให้นายไฮ้กว้าง และ นาย ฮ่อกว้าง ฮั่นบุญศรี น้องชาย ได้ดำเนินกิจการสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยคุณนิตยา ฮั่นบุญศรี ลูกสาวของนายฮ่อกว้าง ฮั่นบุญศรี เป็นผู้ดำเนินกิจการต่อ นับว่าเป็นภูมิปัญญาของบ้านทับหลี ที่ได้สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น เป็นระยะเวลากว่า 50 ปี และได้ถ่ายทอดไปยังคนในหมู่บ้าน ทำให้ปัจจุบันสองข้างทางถนนในหมู่บ้านจะมีร้านจำหน่ายซาลาเปาทับหลี สองข้างถนน กว่า 1 กม. จำนวน 48 ร้าน ซึ่งแต่ละร้านมีคุณภาพ รสชาติใกล้เคียงกัน
ซาลาเปา เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสินค้าจากโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ของ บ้านทับหลี ตำบลมะมุ อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง

สงขลา

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย 03

ขนมบอก
เป็นขนมพื้นเมืองของจังหวัดสงขลา ไม่พบในจังหวัดอื่น มีเฉพาะที่สงขลาเท่านั้น ปัจจุบันหาทานกันได้ยาก

สตูล

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย 4

บุหงาบูดะ
คำว่า บุหงา เป็นภาษามาเลย์ แปลว่าดอกไม้ เป็นขนมพื้นเมืองของอำเภอละงู ขนมบุหงาบูด๊ะมักนิยมใช้กันเยี่ยมญาติ ในวันสำคัญๆ ทางศาสนาอิสลาม และงานต่างๆ ในจังหวัดสตูล เช่น วันฮารีรายอ งานบุญต่างๆ เป็นต้น

สุราษฎร์ธานี

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Suratcenter_com_0063_2_6_img1_2858

ขนมจั้ง
นิยมทำกันมากในอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประกอบด้วยข้าวเหนียว น้ำ และน้ำด่าง โดยนำข้าวเหนียวแช่น้ำด่างประมาณ 3-5 ชั่วโมง จากนั้นนำข้าวเหนียวมาห่อด้วยใบไผ่แนะ แล้วนำจั้งไปต้มจนกว่าจะสุก รับประทานกับน้ำเชื่อม หรือน้ำกะทิก็ได้

อ้างอิง
www.dek-d.com
www.trangzone.com
th.wikippedia.org
www.tourthai.com
www.oknation.net
www.kumpangcity.go.th
www.travel.siamhits.com
rattanabakery.wordpress.com
www.212cafe.com
www.thaitambon.com
www.bcc.ac.th
kangaroolife.diaryclub.com
cs.udru.ac.th
yutphuket.wordpress.com
kanchanapisek.or.th
www.home1click.com
www.tat.or.th
phuendernthang.9nha.com


แก้ไขล่าสุดโดย Volwar เมื่อ Tue Apr 26, 2011 2:15 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
Volwar
Volwar
Webmaster
Webmaster

จำนวนข้อความ : 572
คะแนน : 770
คะแนนชื่อเสียง : 14
Join date : 23/01/2010
Age : 30
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ถนนไม่มีรถเมล์ กทม.

ขึ้นไปข้างบน Go down

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Empty Re: ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย

ตั้งหัวข้อ by *!!~AlFeiLai~!!* Sun May 16, 2010 8:59 am

ขนมลาเคยกินอะ อร่อยดี
คุกกี้เม็ดมะม่วงหิมพานต์น่ากินๆ>0<
*!!~AlFeiLai~!!*
*!!~AlFeiLai~!!*
B Class
B Class

จำนวนข้อความ : 265
คะแนน : 299
คะแนนชื่อเสียง : 21
Join date : 28/03/2010
Age : 28
ที่อยู่ : Thailand

https://twitter.com/spellsunnn

ขึ้นไปข้างบน Go down

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Empty ดอกไม้ไทยภาคกลาง

ตั้งหัวข้อ by Volwar Sun May 16, 2010 2:41 pm

กรุงเทพมหานคร-ไม่มี

กำแพงเพชร-พิกุล

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย T

เป็นดอกไม้ที่มีประวัติไม่มากนัก
ดอกไม้ประจำจังหวัด : กำแพงเพชร, ยะลา, ลพบุรี
ชื่อสามัญ : Bullet Wood, Spanish Cherry
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mimusops elengi Linn.
วงศ์ : SAPOTACEAE
ชื่ออื่น : กุน (ภาคใต้), แก้ว (ภาคเหนือ), ซางดง (ลำปาง), พิกุลป่า (สตูล), พิกุลเขา พิกุลเถื่อน (นครศรีธรรมราช), พิกุล (ทั่วไป)
ลักษณะทั่วไป : พิกุลเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ 8–15 เมตร เป็นพุ่มทรงกลมใบออกเรียงสลับกันใบมนรูปไข่ปลายแหลม ลักษณะโคนใบมน สอบขอบใบโค้งเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบเป็นมันสีเขียว ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกดอกเป็นกระจุกตามง่ามใบหรือยอด มีกลีบดอกประมาณ 8 กลีบ เรียงซ้อนกัน กลีบดอกเป็นจักรเล็กน้อย สีขาวนวลมีกลิ่นหอมมาก ผลรูปไข่หรือกลมรีผลแก่มีสีแสด เนื้อในเหลืองรสหวาน ภายในมีเมล็ดเดียว
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม : ดินทุกชนิด แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด : อินเดีย, พม่า และมาเลเซีย

ชัยนาท-ชัยพฤกษ์

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Poem2

ชัยพฤกษ์ เป็นไม้มงคล ตามชื่อ หมายถึงต้นไม้แห่งชัยชนะ ใบใช้ประดิษฐ์เป็นพวงมาลัยสวมศีรษะ เพื่อเป็นเกียรติยศยิ่งใหญ่ แก่กวีและนักดนตรีในสมัยโบราณ สำหรับของไทย ช่อชัยพฤกษ์ประดับเป็นมงคลหลายที่ เช่น บนอินทรธนูข้าราชการ และประดับประกอบดาวบนอินทรธนูและหมวกของทหารและตำรวจทั้งหลาย
ดอกไม้ประจำจังหวัด : ชัยนาท
ชื่อสามัญ : Javanese Cassia, Rainbow Shower
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cassia javanica L.
วงศ์ : LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น : ขี้เหล็กยะวา
ลักษณะทั่วไป : ลำต้นสูง 15–25 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดรูปร่ม แผ่กว้าง ใบประกอบขนนก รูปไข่แกมรูปรี ใต้ใบมีขน ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง มี 5 กลีบ สีชมพู โคนคอดเป็นก้านดอกจำนวนมากออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน
การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : ดินทราย ชอบแสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด : อินโดนีเซีย และแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประโยชน์ : เนื้อในฝักเป็นยาระบายอ่อน ๆ ปลูกประดับดอกสวยงาม

นครนายก-สุพรรณนิการ์ (ฝ้ายคำ)



ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Supannika01

สุพรรณิการ์ หรือ ฝ้ายคำเป็นไม้ผลัดใบ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ
ดอกไม้ประจำจังหวัด : นครนายก, บุรีรัมย์ , สระบุรี, สุพรรณบุรี, อุทัยธานี
ชื่อสามัญ : Yellow Cotton Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cochlospermum regium (Mart. & Schrank) Pilg.
วงศ์ : BIXACEAE (COCHLOSPERMACEAE)
ชื่ออื่น : ฝ้ายคำ (ภาคเหนือ), สุพรรณิการ์ (ภาคกลาง)
ลักษณะทั่วไป : ต้นสูง 7–15 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดค่อนข้างกลม ใบเดี่ยว รูปหัวใจหรือทรงกลม ใบจักเป็นแฉกแหลมลึก 3–5 แฉก ก้านใบยาวสีแดงอมน้ำตาล ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง สีเหลือง ออกดอกช่วง เดือนธันวาคม-มีนาคม
การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด ปักชำ
สภาพที่เหมาะสม : ดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย อากาศเย็น แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด : อเมริกากลาง และอเมริกาใต้
ประโยชน์ : นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ใบอ่อน นำมาต้มเอาน้ำสระผม ยางจากต้นทำครีมทาบำรุงผิว ประโยชน์ทางยา รับประทานเป็นยาระบาย

นครสวรรค์-เสลา

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Seelaa

เป็นต้นไม้ออกดอกสีม่วงในหน้าร้อนถิ่นกำเนิดอยู่ในเอชียเขตร้อน อาจจะเป็นประเทศไทยก็ได้
ดอกไม้ประจำจังหวัด : นครสวรรค์
ชื่อสามัญ : Salao, Salao khaao, Salao plueakbaang, Salao dam
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lagerstroemia loudonii Binn.
วงศ์ : LYTHRACEAE
ชื่ออื่น : เกรียบ ตะเกรียบ (ชอง-จันทบุรี), ตะแบกขน (นครราชสีมา), เสลาใบใหญ่ (ทั่วไป), อินทรชิต
ลักษณะทั่วไป : ต้นสูงได้ถึง 20 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดกลมหรือทรงกระบอก หนาทึบ ใบเดี่ยวรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลมเป็นติ่งโคนมน ใบหนา และมีขนนุ่มทั้งสองด้าน ออกดอกเป็นช่อตามกิ่ง มี 6 กลีบ โคนคอดเป็นก้านสั้น มีหลายสี เช่น ขาว ม่วง ม่วงอมแดงกลีบดอกบาง ยับย่นออกดอก เดือนธันวาคม–มีนาคม ผลกลมรี เปลือกแข็ง เมื่อแก่จะแตกออกเป็น 5–6 พู เมล็ดจำนวนมาก มีปีก
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : ดินร่วนซุย แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด : เอเชียเขตร้อน
ประโยชน์ : ไม้ใช้ทำเครื่องแกะสลัก ทำด้ามเครื่องมือ

นครปฐม-ไม่มี

นนทบุรี-นนทรี

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Fl_18

นนทรีนั้นเป็นต้นไม้พื้นเมืองของไทย อินโดจีน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดจีน ออสเตรเลีย หากได้รับการตัดแต่งกิ่งดูแลให้ตามควรแล้วจะเป็นต้นไม้ที่ให้ดอกสวยงามมากจนมีผู้นำไปปลูกประดับทั้งในสวนและตามริมถนนใหญ่หลายสาย ให้ทั้งร่มเงาและให้ทั้งความสวยงามของดอก
ดอกไม้ประจำจังหวัด : ฉะเชิงเทรา, นนทบุรี, พิษณุโลก
ชื่อสามัญ : Yellow Flamboyant
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Peltophorum pterocarpum (DC.) K. Heyne
วงศ์ : LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น : กระถินป่า กระถินแดง (ตราด), นนทรี (ทั่วไป) สารเงิน (แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นทรงพุ่มสูงได้ถึง 25 เมตร กึ่งผลัดใบ เรือนยอดรูปร่ม แผ่กว้าง ใบเป็นใบประกอบขนนกสองชั้นรูปไข่ ออกดอกเป็นช่อตั้งขนาดใหญ่ที่ปลายกิ่ง สีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกดอกในฤดูแล้ง ช่วง เดือนมีนาคม-มิถุนายน
การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : ดินทั่วไป ชอบแสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด : เอเชียเขตร้อน
ประโยชน์ : ประโยชน์อย่างหนึ่งซึ่งไม่ค่อยมีใครคิดถึงนั้นก็คือเปลือก เปลือกต้นนนทรีนั้น เมื่อนำไปต้มแล้วจะให้สีน้ำตาลเหลือง ใช้ในการย้อมผ้าฝ้ายบาติกในเกาะชวา อินโดนีเซีย นอกจากนี้เปลือกนนทรียังมีขายกันในร้านสมุนไพรในเกาะชวาด้วย เพราะเป็นแหล่งที่มาของแทนนิน ใช้รักษษโรคท้องร่วง หรือนำไปเคี่ยวเข้าน้ำมัน นวดแก้ตะคริว กล้ามเนื้ออักเสบ ปลูกเป็นไม้ประดับ ลำต้นไม้ ใช้ทำสิ่งก่อสร้าง เรื่องเรือน เปลือก มีรสรับประทานเป็นยากล่อมเสมหะ แก้โรคท้องร่วง เป็นยาขับลมปลูกเป็นไม้ประดับ

ปทุมธานี-บัวหลวง

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Lotus2_zhaoyang

เป็นดอกไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย เช่น ประเทศไทยอินเดีย เป็นดอกไม้ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนา และเป็นดอกไม้ประจำชาติของเวียดนาม อินเดีย อีกด้วย
ดอกไม้ประจำจังหวัด : ปทุมธานี, พิจิตร, สุโขทัย, หนองบัวลำภู, อุบลราชธานี
ชื่อสามัญ : Nelumbo nucifera
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nymphaea lotus Linn.
วงศ์ : NYMPHACACEAE
ชื่ออื่น : บุณฑริก, สัตตบงกช
ลักษณะทั่วไป : เป็นพรรณไม้น้ำประเภทพืชล้มลุก มีลำต้นและหัวอยู่ในดินใต้น้ำ การเจริญชูก้านใบและดอกขึ้นมาบนผิวน้ำ ใบมีลักษณะกลมกว้างใหญ่ ผิวใบเรียบ สีเขียวขอบน้ำตาล ดอกเป็นกลีบซ้อนกันหลายชั้น มีสีขาว ชมพู เหลือง ลักษณะ สีสัน ขนาดของใบและดอกขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์
การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด แยกกอจากหัวหรือเหง้า
สภาพที่เหมาะสม : ดินเหนียว ดินนา ดินผสมอินทรีย์ ต้องการน้ำมากเพราะเป็นพืชเจริญในน้ำ แสงแดดอ่อน จนถึง แดดจัด
ถิ่นกำเนิด : แถบทวีปเอเชีย เช่น ประเทศจีน อินเดีย และไทย
ประโยชน์ : เป็นไม้ประดับ เสริมสิริมงคล ใช้ในทางพิธีกรรมทางศาสนา ใช้ทำอาหาร เป็นสมุนไพร

พระนครศรีอยุธยา-โสน

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย 184082

เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ใบประกอบแบบขนนก ดอกช่อ สีเหลือง รูปร่างแบบดอกแคหรือดอกถั่ว ในใบมีสารสีเหลืองกลุ่มแคโรทีนอยด์ ใช้แต่งสีเหลืองในขนมหลายชนิด เช่น ขนมดอกโสน ขนมขี้หนู ขนมบัวลอย โดยนำดอกโสนมาบดหรือโม่ผสมกับแป้ง นอกจากนั้น ดอกโสน
ดอกไม้ประจำจังหวัด : พระนครศรีอยุธยา
ชื่อสามัญ : Sesbania
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sesbania aculeata
วงศ์ : LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น : โสน, โสนหิน, โสนกินดอก (ภาคกลาง), ผักฮองแฮง (ภาคเหนือ)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ล้มลุก เป็นพุ่มขนาดกลาง ลำต้นสูงเปราะบางเพราะไม่มีแก่น สูงประมาณ 2–3 เมตร มีกิ่งก้านห่างๆ ใบเล็กฝอยคล้าย กับใบมะขามหรือใบกระถิน ดอกสีเหลืองคล้ายดอกแค แต่ดอกเล็กกว่า มีฝักยาว มีเมล็ดในฝักคล้ายกับถั่วเขียวแต่ฝักยาวกว่า
การขยายพันธุ์ : โดยเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : ที่ชื้นแฉะ ริมคลอง ริมคูน้ำ
ถิ่นกำเนิด : เอเชียเขตร้อน
ประโยชน์ : กินเป็นผักสดหรือลวกจิ้มน้ำพริก ผัดน้ำมันซุบไข่ทอดทำแกงส้ม หรือทำขนมดอกโสน ประโยชน์ทางยา ราก แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ใบ แก้พิษฝี แก้ปวดถอนพิษ ต้น ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ คุณค่าทางโภชนาการ พลังงาน เส้นใย แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ วิตามินบีหนึ่ง วิตามินบีสอง ไนอาซิน วิตามินซี วิตามินซี

เพชรบูรณ์-ดอกมะขาม

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย M169192

เป็นไม้เขตร้อน มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกาแถบประเทศซูดาน ต่อมามีการนำเข้ามาในประเทศแถบเขตร้อนของเอเชีย และประเทศแถบละตินอเมริกา และในปัจจุบันมีมากในเม็กซิโกดอกประจำจังหวัด : เพชรบูรณ์
ชื่อสามัญ : Tamarind, Indian date
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tamarindus indica Linn.
วงศ์ : LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น : มะขามไทย ตะลูบ (นครราชสีมา), ม่องโคล้ง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), มอดเล ส่ามอเกล (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), มะขาม (ทั่วไป), หมากแกง (ละว้า-แม่ฮ่องสอน), อำเปียล (เขมร-สุรินทร์)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ใบเป็นใบประกอบ ออกเป็นคู่ เรียงกันตามก้านใบ ปลายใบและโคนใบมน ออกดอกเป็นช่อเล็กๆ อยู่ตามบริเวณปลายกิ่ง ขนาดเล็ก มีกลีบสีเหลือง ผลมี 2 ชนิด คือ ชนิดฝักกลมเล็กยาวเรียกว่า “มะขามขี้แมว” ชนิดฝักใหญ่แบนเรียกว่า “มะขามกระดาน” เมล็ดเป็นรูปค่อนข้างกลม ผิวเปลือกเกลี้ยงสีน้ำตาลเข้ม
ขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด หรือตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม : สภาพดินทุกชนิด ชอบแสงแดด
ถิ่นกำเนิด : แอฟริกาเขตร้อน ประเทศซูดาน
ประโยชน์ : มะขามเปียก - ใช้เป็นยาถ่าย และยาแก้ไอกัดเสมหะที่เหนียวข้น เนื่องจากมีกรดอินทรีย์ เช่น กรด trataric และกรด citric เปลือกต้น - เป็นยาสมานคุมธาตุ เนื้อในเมล็ด - ใช้เป็นยาฆ่าพยาธิไส้เดือน ใบและยอดอ่อน - มีรสเปรี้ยว ใช้ในการอาบ อบสมุนไพร

พิจิตร-บัวหลวง

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Beawloung

เป็นดอกไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย เช่น ประเทศไทยอินเดีย เป็นดอกไม้ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนา และเป็นดอกไม้ประจำชาติของเวียดนาม อินเดีย อีกด้วย
ดอกไม้ประจำจังหวัด : ปทุมธานี, พิจิตร, สุโขทัย, หนองบัวลำภู, อุบลราชธานี
ชื่อสามัญ : Nelumbo nucifera
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nymphaea lotus Linn.
วงศ์ : NYMPHACACEAE
ชื่ออื่น : บุณฑริก, สัตตบงกช
ลักษณะทั่วไป : เป็นพรรณไม้น้ำประเภทพืชล้มลุก มีลำต้นและหัวอยู่ในดินใต้น้ำ การเจริญชูก้านใบและดอกขึ้นมาบนผิวน้ำ ใบมีลักษณะกลมกว้างใหญ่ ผิวใบเรียบ สีเขียวขอบน้ำตาล ดอกเป็นกลีบซ้อนกันหลายชั้น มีสีขาว ชมพู เหลือง ลักษณะ สีสัน ขนาดของใบและดอกขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์
การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด แยกกอจากหัวหรือเหง้า
สภาพที่เหมาะสม : ดินเหนียว ดินนา ดินผสมอินทรีย์ ต้องการน้ำมากเพราะเป็นพืชเจริญในน้ำ แสงแดดอ่อน จนถึง แดดจัด
ถิ่นกำเนิด : แถบทวีปเอเชีย เช่น ประเทศจีน อินเดีย และไทย
ประโยชน์ : เป็นไม้ประดับ เสริมสิริมงคล ใช้ในทางพิธีกรรมทางศาสนา ใช้ทำอาหาร เป็นสมุนไพร

พิษณุโลก-นนทรี

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Nontri_1

นนทรีนั้นเป็นต้นไม้พื้นเมืองของไทย อินโดจีน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดจีน ออสเตรเลีย หากได้รับการตัดแต่งกิ่งดูแลให้ตามควรแล้วจะเป็นต้นไม้ที่ให้ดอกสวยงามมากจนมีผู้นำไปปลูกประดับทั้งในสวนและตามริมถนนใหญ่หลายสาย ให้ทั้งร่มเงาและให้ทั้งความสวยงามของดอก
ดอกไม้ประจำจังหวัด : ฉะเชิงเทรา, นนทบุรี, พิษณุโลก
ชื่อสามัญ : Yellow Flamboyant
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Peltophorum pterocarpum (DC.) K. Heyne
วงศ์ : LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น : กระถินป่า กระถินแดง (ตราด), นนทรี (ทั่วไป) สารเงิน (แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นทรงพุ่มสูงได้ถึง 25 เมตร กึ่งผลัดใบ เรือนยอดรูปร่ม แผ่กว้าง ใบเป็นใบประกอบขนนกสองชั้นรูปไข่ ออกดอกเป็นช่อตั้งขนาดใหญ่ที่ปลายกิ่ง สีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกดอกในฤดูแล้ง ช่วง เดือนมีนาคม-มิถุนายน
การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : ดินทั่วไป ชอบแสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด : เอเชียเขตร้อน
ประโยชน์ : ประโยชน์อย่างหนึ่งซึ่งไม่ค่อยมีใครคิดถึงนั้นก็คือเปลือก เปลือกต้นนนทรีนั้น เมื่อนำไปต้มแล้วจะให้สีน้ำตาลเหลือง ใช้ในการย้อมผ้าฝ้ายบาติกในเกาะชวา อินโดนีเซีย นอกจากนี้เปลือกนนทรียังมีขายกันในร้านสมุนไพรในเกาะชวาด้วย เพราะเป็นแหล่งที่มาของแทนนิน ใช้รักษษโรคท้องร่วง หรือนำไปเคี่ยวเข้าน้ำมัน นวดแก้ตะคริว กล้ามเนื้ออักเสบ ปลูกเป็นไม้ประดับ ลำต้นไม้ ใช้ทำสิ่งก่อสร้าง เรื่องเรือน เปลือก มีรสรับประทานเป็นยากล่อมเสมหะ แก้โรคท้องร่วง เป็นยาขับลมปลูกเป็นไม้ประดับ

ลพบุรี-พิกุล

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Maulsari_%28Mimusops_elengi%29_in_Hyderabad_W_IMG_7161

เป็นดอกไม้ที่มีประวัติไม่มากนัก
ดอกไม้ประจำจังหวัด : กำแพงเพชร, ยะลา, ลพบุรี
ชื่อสามัญ : Bullet Wood, Spanish Cherry
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mimusops elengi Linn.
วงศ์ : SAPOTACEAE
ชื่ออื่น : กุน (ภาคใต้), แก้ว (ภาคเหนือ), ซางดง (ลำปาง), พิกุลป่า (สตูล), พิกุลเขา พิกุลเถื่อน (นครศรีธรรมราช), พิกุล (ทั่วไป)
ลักษณะทั่วไป : พิกุลเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ 8–15 เมตร เป็นพุ่มทรงกลมใบออกเรียงสลับกันใบมนรูปไข่ปลายแหลม ลักษณะโคนใบมน สอบขอบใบโค้งเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบเป็นมันสีเขียว ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกดอกเป็นกระจุกตามง่ามใบหรือยอด มีกลีบดอกประมาณ 8 กลีบ เรียงซ้อนกัน กลีบดอกเป็นจักรเล็กน้อย สีขาวนวลมีกลิ่นหอมมาก ผลรูปไข่หรือกลมรีผลแก่มีสีแสด เนื้อในเหลืองรสหวาน ภายในมีเมล็ดเดียว
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม : ดินทุกชนิด แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด : อินเดีย, พม่า และมาเลเซีย

สมุทรปราการ-ดาวเรือง

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Dawreug

นิยมปลูกตัดดอก เป็นดาวเรืองในกลุ่ม African หรือ American marigold เป็นพันธุ์ดอกใหญ่ พันธุ์ที่ใช้เป็นการค้าในประเทศไทยได้แก่พันธุ์ซอเวอร์เรน (soverign) นอกจากนี้ยังมีสายพันธุ์ใหม่ๆที่นำเข้ามาได้แก่ พันธุ์จาไมก้า (jamaica) และอื่นๆอีกหลายพันธุ์
ดอกไม้ประจำจังหวัด : สมุทรปราการ
ชื่อสามัญ : Marigold
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tagetes erecta Linn.
วงศ์ : COMPOSITAE
ชื่ออื่น : ดาวเรือง
ลักษณะทั่วไป ดาวเรืองเป็นไม้ล้มลุกทรงพุ่มอายุสั้นหรือหลายปี มีความสูงตั้งแต่ 30–60 ซม. ใบมีลักษณะเป็นใบประกอบเหมือนขนนก ออกตรงข้ามกัน ใบย่อยรูปรีหรือรูปหอกแกมขอบขนาน โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ออกดอกเป็นดอกเดี่ยวกระจุกอยู่ปลายยอด สีเหลืองหรือสีส้ม กลีบดอกวงนอกมีลักษณะเป็นรูปรางน้ำ โคนดอกเป็นหลอดเล็ก ปลายดอกเป็นรอยหยัก กลิ่นหอมฉุน
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : ดินร่วนซุย และอุ้มน้ำได้ดี แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด : เม็กซิโก และสหรัฐอเมริกา
ประโยชน์ : ดอกดาวเรืองใช้ร้อยพวงมาลัยชนิดต่างๆเพื่อการบูชาพระและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อ กลีบดอกดาวเรืองมีสารสีเหลืองที่เรียกว่า xanthophyll สูง จึงมีการปลูกเพื่อเก็บดอกเพื่อเอาไปเป็นส่วนผสมของอาหารไก่ไข่เพื่อให้ไข่แดงมีสีแดงสวยทดแทนสารสังเคราะห์ ดาวเรืองสะสมสารหนูได้ 42% ในใบ จึงมีประโยชน์ในการฟื้นฟูดินที่ปนเปื้อนสารหนู

สมุทรสงคราม-จิกทะเล

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย จิกทะเล004

เป็นต้นไม้ที่ขึ้นตามชายทะเล ถิ่นกำเนิดมาจากประเทศมาดากัสการ์ดอกไม้ประจำจังหวัด : สมุทรสงคราม
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Barringtonia asiatica (Linn.) Kurz
วงศ์ : MRYTACEAE
ชื่ออื่น : จิกเล (ทั่วไป), โคนเล (ภาคใต้), อามุง (มลายู-นราธิวาส)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีลำต้นสูง 10 เมตร แผ่กิ่งก้านสาขาไปทั่วต้น กิ่งมีขนาดใหญ่ มีรอยแผลอยู่ทั่วไป เป็นรอยแผลที่เกิดจากใบที่ร่วงหล่นไป เปลือกต้นมีสีน้ำตาลหรือสีเทา ใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียวเข้มสลับกันไปตามข้อต้น ผิวใบเกลี้ยงเป็นมัน ขอบใบเรียบ ออกดอกเป็นช่อสั้นๆ อยู่ตามปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว เกสรสีชมพูอยู่ตรงกลาง ออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ผลขนาดใหญ่ โคนเป็นสี่เหลี่ยมป้าน ปลายสอบ
ขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : ดินร่วนปนทราย หรือดินทราย เป็นไม้กลางแจ้ง
ถิ่นกำเนิด : หมู่เกาะมาดากัสการ์
ประโยชน์ : ปลูกเป็นไม้ดอก ไม้ประดับ

สมุทรสาคร-ไม่มี

สระบุรี-สุพรรณนิการ์ (ฝ้ายคำ)

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Yellow_Silk_Cotton_%28Cochlospermum_religiosum%29_flowers_in_Kolkata_W_IMG_4246

สุพรรณิการ์ หรือ ฝ้ายคำเป็นไม้ผลัดใบ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ
ดอกไม้ประจำจังหวัด : นครนายก, บุรีรัมย์ , สระบุรี, สุพรรณบุรี, อุทัยธานี
ชื่อสามัญ : Yellow Cotton Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cochlospermum regium (Mart. & Schrank) Pilg.
วงศ์ : BIXACEAE (COCHLOSPERMACEAE)
ชื่ออื่น : ฝ้ายคำ (ภาคเหนือ), สุพรรณิการ์ (ภาคกลาง)
ลักษณะทั่วไป : ต้นสูง 7–15 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดค่อนข้างกลม ใบเดี่ยว รูปหัวใจหรือทรงกลม ใบจักเป็นแฉกแหลมลึก 3–5 แฉก ก้านใบยาวสีแดงอมน้ำตาล ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง สีเหลือง ออกดอกช่วง เดือนธันวาคม-มีนาคม
การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด ปักชำ
สภาพที่เหมาะสม : ดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย อากาศเย็น แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด : อเมริกากลาง และอเมริกาใต้
ประโยชน์ : นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ใบอ่อน นำมาต้มเอาน้ำสระผม ยางจากต้นทำครีมทาบำรุงผิว ประโยชน์ทางยา รับประทานเป็นยาระบาย

สิงห์บุรี-ไม่มี

สุโขทัย-บัวหลวง

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย 1249043586

เป็นดอกไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย เช่น ประเทศไทยอินเดีย เป็นดอกไม้ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนา และเป็นดอกไม้ประจำชาติของเวียดนาม อินเดีย อีกด้วย
ดอกไม้ประจำจังหวัด : ปทุมธานี, พิจิตร, สุโขทัย, หนองบัวลำภู, อุบลราชธานี
ชื่อสามัญ : Nelumbo nucifera
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nymphaea lotus Linn.
วงศ์ : NYMPHACACEAE
ชื่ออื่น : บุณฑริก, สัตตบงกช
ลักษณะทั่วไป : เป็นพรรณไม้น้ำประเภทพืชล้มลุก มีลำต้นและหัวอยู่ในดินใต้น้ำ การเจริญชูก้านใบและดอกขึ้นมาบนผิวน้ำ ใบมีลักษณะกลมกว้างใหญ่ ผิวใบเรียบ สีเขียวขอบน้ำตาล ดอกเป็นกลีบซ้อนกันหลายชั้น มีสีขาว ชมพู เหลือง ลักษณะ สีสัน ขนาดของใบและดอกขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์
การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด แยกกอจากหัวหรือเหง้า
สภาพที่เหมาะสม : ดินเหนียว ดินนา ดินผสมอินทรีย์ ต้องการน้ำมากเพราะเป็นพืชเจริญในน้ำ แสงแดดอ่อน จนถึง แดดจัด
ถิ่นกำเนิด : แถบทวีปเอเชีย เช่น ประเทศจีน อินเดีย และไทย
ประโยชน์ : เป็นไม้ประดับ เสริมสิริมงคล ใช้ในทางพิธีกรรมทางศาสนา ใช้ทำอาหาร เป็นสมุนไพร

สุพรรณบุรี-สุพรรณนิการ์ (ฝ้ายคำ)

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Ru_tree

สุพรรณิการ์ หรือ ฝ้ายคำเป็นไม้ผลัดใบ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ
ดอกไม้ประจำจังหวัด : นครนายก, บุรีรัมย์ , สระบุรี, สุพรรณบุรี, อุทัยธานี
ชื่อสามัญ : Yellow Cotton Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cochlospermum regium (Mart. & Schrank) Pilg.
วงศ์ : BIXACEAE (COCHLOSPERMACEAE)
ชื่ออื่น : ฝ้ายคำ (ภาคเหนือ), สุพรรณิการ์ (ภาคกลาง)
ลักษณะทั่วไป : ต้นสูง 7–15 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดค่อนข้างกลม ใบเดี่ยว รูปหัวใจหรือทรงกลม ใบจักเป็นแฉกแหลมลึก 3–5 แฉก ก้านใบยาวสีแดงอมน้ำตาล ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง สีเหลือง ออกดอกช่วง เดือนธันวาคม-มีนาคม
การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด ปักชำ
สภาพที่เหมาะสม : ดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย อากาศเย็น แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด : อเมริกากลาง และอเมริกาใต้
ประโยชน์ : นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ใบอ่อน นำมาต้มเอาน้ำสระผม ยางจากต้นทำครีมทาบำรุงผิว ประโยชน์ทางยา รับประทานเป็นยาระบาย

อ่างทอง-ไม่มี

อุทัยธานี-สุพรรณนิการ์ (ฝ้ายคำ)

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย IMG_0241

สุพรรณิการ์ หรือ ฝ้ายคำเป็นไม้ผลัดใบ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ
ดอกไม้ประจำจังหวัด : นครนายก, บุรีรัมย์ , สระบุรี, สุพรรณบุรี, อุทัยธานี
ชื่อสามัญ : Yellow Cotton Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cochlospermum regium (Mart. & Schrank) Pilg.
วงศ์ : BIXACEAE (COCHLOSPERMACEAE)
ชื่ออื่น : ฝ้ายคำ (ภาคเหนือ), สุพรรณิการ์ (ภาคกลาง)
ลักษณะทั่วไป : ต้นสูง 7–15 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดค่อนข้างกลม ใบเดี่ยว รูปหัวใจหรือทรงกลม ใบจักเป็นแฉกแหลมลึก 3–5 แฉก ก้านใบยาวสีแดงอมน้ำตาล ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง สีเหลือง ออกดอกช่วง เดือนธันวาคม-มีนาคม
การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด ปักชำ
สภาพที่เหมาะสม : ดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย อากาศเย็น แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด : อเมริกากลาง และอเมริกาใต้
ประโยชน์ : นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ใบอ่อน นำมาต้มเอาน้ำสระผม ยางจากต้นทำครีมทาบำรุงผิว ประโยชน์ทางยา รับประทานเป็นยาระบาย

อ้างอิง
www.panyathai.or.th
th.wikipedia.org
www.panmai.com
www.school.net.th
www.uru.ac.th
en.wikipedia.org
www.doctor.or.th
www.krudang.com
fwmail.teenee.com
http://61.19.145.8/student/web2003/401-17/etc.htm
agkc.lib.ku.ac.th
zh.wikipedia.org
www.kroobannok.com
www.sirikitdam.egat.com


แก้ไขล่าสุดโดย Volwar เมื่อ Tue Dec 07, 2010 8:31 pm, ทั้งหมด 3 ครั้ง
Volwar
Volwar
Webmaster
Webmaster

จำนวนข้อความ : 572
คะแนน : 770
คะแนนชื่อเสียง : 14
Join date : 23/01/2010
Age : 30
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ถนนไม่มีรถเมล์ กทม.

ขึ้นไปข้างบน Go down

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Empty Re: ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย

ตั้งหัวข้อ by *!!~AlFeiLai~!!* Sun May 16, 2010 3:00 pm

ว้าว ดอกชัยพฤกษ์สวยอ่าๆ ,,>w<,,
*!!~AlFeiLai~!!*
*!!~AlFeiLai~!!*
B Class
B Class

จำนวนข้อความ : 265
คะแนน : 299
คะแนนชื่อเสียง : 21
Join date : 28/03/2010
Age : 28
ที่อยู่ : Thailand

https://twitter.com/spellsunnn

ขึ้นไปข้างบน Go down

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Empty ดอกไม้ไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ตั้งหัวข้อ by Volwar Mon May 17, 2010 4:06 pm

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย %E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%9E%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%A1

กาฬสินธุ์-พะยอม

คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นพะยอมไว้ประจำบ้าน จะทำให้มีอุปนิสัยที่อ่อนน้อม เพราะ พะยอม คือ การยินยอม ตกลง ผ่อนผันประณีประนอมนอกจากนี้ยังเชื่ออีกว่าจะไม่ขัดสนเพราะบุคคลทั่วไปมีความเห็นใจและยอมให้ในสิ่งที่ดีงามและยังเชื่ออีกว่าถ้าปลูกต้นพะยอมทองก็จะทำให้ไม่ขันสนเงินทองนอกจากนี้ลักษณะของดอกยังมีสีเหลืองทองและมีกลิ่นหอมหวลยวนใจอีกด้วย
ดอกไม้ประจำจังหวัด กาฬสินธุ์, พัทลุง
ชื่อสามัญ : Shorea white Meranti
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Shorea talura Roxb.
วงศ์ : DIPTEROCARPACEAE
ชื่ออื่น : กะยอม (เชียงใหม่), ขะยอม (ลาว), ขะยอมดง พะยอมดง (ภาคเหนือ), แคน (ลาว), เชียง เซี่ยว (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), พะยอม (ภาคกลาง), พะยอมทอง (สุราษฎร์ธานี, ปราจีนบุรี), ยางหยวก (น่าน)
ลักษณะทั่วไป : พะยอมเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 15–20 เมตร ทรงพุ่มกลม ผิวเปลือกสีน้ำหรือเทา เนื้อไม้มีสีเหลืองแข็ง ลำต้นแตกเป็นร่องตามยาวมีสะเก็ดหนา ใบเป็นรูปมนรี ปลายใบแหลม โคนใบสอบมน ขอบใบเรียบ ด้านหลังใบมีเส้นใบชัด ดอกออกเป็นช่อ ใหญ่ส่วนยอดของต้น ดอกมีกลีบ 3 กลีบ โคนกลีบดอกติดกับก้านดอกมีลักษณะกลม กลีบดอกเรียบโค้งเล็กน้อย มีสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม
การขยายพันธุ์ : การเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : สภาพดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง สามารถปรับเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีมาก
ถิ่นกำเนิด : พบตามป่าผลัดใบ และป่าดิบ เป็นไม้พื้นเมืองของเอเชีย ไทย, พม่า, มาเลเซีย
ประโยชน์ : เนื้อไม้ไปใช้ในการก่อสร้าง เช่น ใช้ทำหมอนรองรางรถไฟ พื้น เป็นต้น มีสรรพคุณทางยา เปลือกต้น รสฝาด ต้มดื่มแก้ท้องร่วง แก้ลำไส้อักเสบ ฝนทาสมานบาดแผล ชำระแผลทุบใส่น้ำตาลสดกันบูด ดอก รสหอมสุขุม ปรุงเป็นยาแก้ลม บำรุงหัวใจ ลดไข้ ดอกสามารถนำมาประกอบอาหารได้

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Fl_32

ขอนแก่น-ดอกราชพฤกษ์

เป็นพืชพื้นเมืองของเอเชียใต้ ตั้งแต่ทางตอนใต้ของปากีสถาน ไปจนถึงอินเดีย พม่า และศรีลังกา นิยมปลูกเป็นไม้ประดับในพื้นที่เขตร้อนและกึ่งเขตร้อน เจริญเติบโตได้ดีที่สุดในที่โล่งแจ้ง สามารถปลูกได้ทั้งดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียว ทนต่อความแห้งแล้งและดินเค็มได้ดี แต่ไม่ทนในอากาศหนาวจัด ซึ่งอาจติดเชื้อราหรือโรคใบจุดได้
ดอกไม้ประจำจังหวัด : ขอนแก่น, นครศรีธรรมราช
ชื่อสามัญ : Golden Shower Tree, Purging Cassia
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cassis fistula Linn.
วงศ์ : LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น : คูน(อีสาน), ลมแล้ง(ภาคเหนือ), ลักเกลือ ลักเคย(ปัตตานี), อ้อดิบ(ภาคใต้), กุเพยะ(กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ชัยพฤกษ์ ราชพฤกษ์(ภาคกลาง)
ลักษณะทั่วไป : ราชพฤกษ์เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ 12–15 เมตร ลำต้นสีขาวปนเทา ผิวเรียบมีรอยเส้นรอบต้น และ รอยปมอยู่บริเวณที่เกิดกิ่ง ใบเป็นใบประกอบมีใบย่อยเป็นคู่ออกจากก้านใบ ใบย่อยมีประมาณ 4–8 คู่ ใบรี รูปไข่ โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบสีเขียว ออกดอกสีเหลือง เป็นช่อห้อยระย้าตามก้านใบ เวลาออกดอกใบจะร่วง
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : ดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียว ต้องการน้ำน้อยทนแล้ง แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด : เอเชียใต้ พม่า
ประโยชน์ : ฝักแก่ เนื้อสีน้ำตาลดำและชื้นตลอดเวลา มีรสหวาน สามารถใช้เป็นยาระบายได้ โดยนำฝักมาต้มกับน้ำ และเติมเกลือเล็กน้อย ดื่มก่อนนอนหรือก่อนรับประทานอาหาร นอกจากนั้น ฝักแก่ยังมีสารที่ออกฤทธิ์ต่อระบบ ระสาทของแมลง เมื่อนำฝักมาบดผสมน้ำแช่ทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน สารละลายที่กรองได้สามารถฉีดพ่นกำจัดแมลงและหนอนในแปลงผักได้ ฝักแก่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้มด้วยเตาเศรษฐกิจ มีขนาดที่พอเหมาะ ไม่ต้องผ่า เลื่อยหรือตัด เนื้อของฝักแก่ใช้แทนกากน้ำตาลในการทำหัวเชื้อจุลินทรีย์และจุลินทรีย์ขยาย ฝักอ่อน สามารถใช้ขับเสมหะได้
ใบ สามารถนำมาใช้ในการฆ่าเชื้อโรคได้ ดอก แก้แผลเรื้อรัง

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย 2009052812434860181

ชัยภูมิ-ดอกกระเจียว (ดอกปทุมา)

มีอีกชื่อว่าดอกทิวลปสยาม เป็นดอกไม้ไทยแท้ สามารถกินได้
ดอกไม้ประจำจังหวัด : ชัยภูมิ
ชื่อสามัญ : Siam Tulip
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma
วงศ์ : ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่น : กาเตียว (ตะวันออกเฉียงเหนือ), จวด (ใต้), อาวแดง (เหนือ)
ลักษณะทั่วไป : กระเจียว เป็นพืชล้มลุกมีเหง้าอยู่ในดิน จะพักตัวในฤดูหนาวและร้อน เมื่อถึงฤดูฝนจึงจะเริ่มผลิใบและดอก ใบยาวคล้ายใบพาย ออกใบและดอกพร้อมกัน ต้นสูงประมาณ 2 ฟุต ดอกสีเหลืองในแดง กาบดอกสีม่วง ออกดอกพร้อมกัน
การขยายพันธุ์ : แยกหน่อ
สภาพที่เหมาะสม : อากาศชื้นเย็น
ถิ่นกำเนิด : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ตามเขตชายแดนไทย-ลาว และตามเขตชายแดนไทย-กัมพูชา
ประโยชน์ : ดอกกระเจียวมีสีสันและรูปร่างสวยงาม นิยมตัดดอกขาย นำมารับประทานได้

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Sakon01

นครพนม-กันเกรา (มันปลา)

เป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ขึ้นโดยทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย ในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายนจะออกดอกเป็น ช่อสีเหลือง มีกลิ่นหอมขจรขจาย
ดอกไม้ประจำจังหวัด : นครพนม, สุรินทร์
ชื่อสามัญ : Anan, Tembusu
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Fagraea fragrans Roxb.
วงศ์ : LOGANIACEAE
ชื่ออื่น : กันเกรา (ภาคกลาง), ตะมะซู ตำมูซู (มลายู-ภาคใต้), ตาเตรา (เขมร-ภาคตะวันออก), ตำเสา ทำเสา (ภาคใต้), มันปลา (ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
ลักษณะทั่วไป : ต้นสูงประมาณ 20–30 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดรูปไข่หรือรูปกรวยคว่ำ หนาทึบ ใบเดี่ยว รูปรีหรือแกมใบหอก สีเขียวเข้มเป็นมัน ใต้ใบสีอ่อน ออกดอกเป็นช่อจำนวนมากที่ปลายกิ่ง ดอกสีขาว แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเมื่อใกล้โรย มีกลิ่นหอมเย็น ลักษณะดอกคล้ายแจกัน ออกดอกตลอดปี
การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : เติบโตได้ดีในที่ชื้นแฉะ แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด : ป่าเบญจพรรณและตามที่ใกล้แหล่งน้ำใน ประเทศอินเดีย, มาเลเซีย, พม่า, เวียดนาม และประเทศไทย
ประโยชน์ : ประโยชน์ได้แก่ เนื้อไม้สีเหลืองอ่อน เสี้ยนตรง เนื้อละเอียด เหนียว แข็ง ทนทาน ใช้ในการก่อสร้าง นิยมใช้ทำเสาเรือน แก่นมีรสฝาดใช้เข้ายาบำรุงธาตุ แน่นหน้าอก เปลือกใช้บำรุงโลหิต ผิวหนังพุพอง ปลูกเป็นไม้ประดับ ลักษณะลำต้นที่สวยงามทั้งลวดลายของเปลือกและเนื้อไม้ เหมาะแก่การนำไปใช้ประโยชน์ทำเครื่องเรือนและเครื่องใช้ต่าง ๆ มีน้ำมันหอมระเหยที่เปลือก


ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Doksatorn

นครราชสีมา-ดอกสาธร

สาธร เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลของจังหวัดนครราชสีมา
ดอกไม้ประจำจังหวัด : นครราชสีมา
ชื่อสามัญ : Yellow cotton tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Millettia leucantha Kurz
วงศ์ : LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น : กระเจาะ ขะเจาะ (ภาคเหนือ), กระพีเขาควาย (ประจวบคีรีขันธ์), กะเชาะ (ภาคกลาง), ขะแมบ คำแมบ (เชียงใหม่), สาธร (ภาคเหนือ)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 18-19 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ ค่อนข้างกลมหรือทรงกระบอก เปลือกสีเทาเรียบหรือ แตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ ใบเป็นใบประกอบเรียงสลับ ใบย่อยติดเป็นคู่ตรงกันข้าม 3-5 คู่ ปลายสุดเป็นใบเดี่ยว แผ่นใบ ย่อยรูปรี กว้าง 3-5 ซม. ยาว 5-12 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมน ใบและยอดอ่อนมีขนยาว ดอกสีขาว รูปดอกถั่ว สีชมพูอ่อน ออกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง ออกดอกระหว่างเดือนมีนาคม-เดือนพฤษภาคม
การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : เป็นไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินร่วน ต้องการน้ำและความชื้นมาก
ถิ่นกำเนิด : ในไทยทางภาคกลาง ภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ ต่างประเทศพบที่พม่าและลาว

บึงกาฬ-ยังไม่มี

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย 1233042571

บุรีรัมย์-สุพรรณิการ์

สุพรรณิการ์ หรือ ฝ้ายคำเป็นไม้ผลัดใบ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ
ดอกไม้ประจำจังหวัด : นครนายก, บุรีรัมย์ , สระบุรี, สุพรรณบุรี, อุทัยธานี
ชื่อสามัญ : Yellow Cotton Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cochlospermum regium (Mart. & Schrank) Pilg.
วงศ์ : BIXACEAE (COCHLOSPERMACEAE)
ชื่ออื่น : ฝ้ายคำ (ภาคเหนือ), สุพรรณิการ์ (ภาคกลาง)
ลักษณะทั่วไป : ต้นสูง 7–15 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดค่อนข้างกลม ใบเดี่ยว รูปหัวใจหรือทรงกลม ใบจักเป็นแฉกแหลมลึก 3–5 แฉก ก้านใบยาวสีแดงอมน้ำตาล ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง สีเหลือง ออกดอกช่วง เดือนธันวาคม-มีนาคม
การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด ปักชำ
สภาพที่เหมาะสม : ดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย อากาศเย็น แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด : อเมริกากลาง และอเมริกาใต้
ประโยชน์ : นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ใบอ่อน นำมาต้มเอาน้ำสระผม ยางจากต้นทำครีมทาบำรุงผิว ประโยชน์ทางยา รับประทานเป็นยาระบาย

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย ลีลาวดีxx

มหาสารคาม-ลีลาวดีขาว

ลีลาวดี ความจริงชื่อนี้ไม่ใช่ชื่อพระราชทาน ในอดีตมีชื่อว่า ลั่นทม เหมือนคำว่า ระทม เป็นไม้อัปมงคล ต่อมาจึงมีการเปลี่ยนชื่อมาเป็นลีลาวดีเมื่อให้กลายมาเป็นไม้มงคล
ดอกไม้ประจำจังหวัด : มหาสารคาม
ชื่อสามัญ : Frangipani
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Plumeria ssp.
วงศ์ : APOCYNACEAE
ชื่ออื่น : จำปาขาว
ลักษณะทั่วไป : ลีลาวดีเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง เปลือกลำต้นหนา กิ่งอ่อนดูอวบน้ำ มียางสีขาวเหมือนนม ใบใหญ่สีเขียว ออกดอกเป็นช่อช่อละ หลายดอก ดอกหนึ่งมี 5 กลีบ ดอกมีหลายสีแล้วแต่ละชนิดของพันธุ์ เช่น สีขาว แดง ชมพู เหลือง และสีส้ม ออกดอกตลอดปี
การขยายพันธุ์ : ปักชำ
สภาพที่เหมาะสม : แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด : อเมริกาใต้
ประโยชน์ : น้ำยางใช้ใส่แผล ทาแก้โรคงูสวัด หิด เมล็ดเป็นยาระบาย ขับน้ำเหลือง แก้โรคงูสงัด แผลจากฟิลิส

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย 90943p26

มุกดาหาร-ช้างน้าว

เป็นดอกไม้สีเหลืองสวยงามชนิดหนึ่ง เป็นสมุนไพรพื้นบ้านอีสาน และเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดมุกดาหาร
ดอกไม้ประจำจังหวัด : มุกดาหาร
ชื่อสามัญ : ไม่ทราบแน่ชัด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ochna integerrima (Lour.) Merr.
วงศ์ : OCHNACEAE
ชื่ออื่น : กระแจะ (ระนอง), กำลังช้างสาร (กลาง), ขมิ้นพระต้น (จันทบุรี), ควุ (กะเหรี่ยง-นครสวรรค์), แง่ง (บุรีรัมย์), ช้างน้าว ตานนกกรด (นครราชสีมา), ช้างโน้ม (ตราด), ช้างโหม (ระยอง), ตาชีบ้าง (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), ตาลเหลือง (เหนือ), ฝิ่น (ราชบุรี), โว้โร้ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)
ลักษณะทั่วไป : ต้นสูง 3–8 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดรูปใบหอก ขอบใบจักถี่ ใบเรียบเกลี้ยงเป็นมัน ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง 2–8 ดอก มี 5–10 กลีบ สีเหลืองดอกร่วงง่าย มีกลิ่นหอมอ่อน ออกดอก เดือนมกราคม–พฤษภาคม ผลกลม เมื่อแก่เป็นสีดำมัน กลีบเลี้ยงยังคงติดอยู่บนผล แล้วเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นแดง
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง, ตัดชำ
สภาพที่เหมาะสม : ดินร่วน ระบายน้ำดี แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประโยชน์ : ยาพื้นบ้านภาคอีสาน ใช้ลำต้น ต้มน้ำดื่ม ต่างน้ำชา เป็นยาแก้ปวดเมื่อยดีมาก ตำรายาแผนไทยทั่วไป ราก ใช้เป็นยาขับพยาธิ แก้โรคน้ำเหลือง

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Spd_2008013194416_b

ยโสธร-บัวแดง

เป็นดอกไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย เช่น ประเทศไทยอินเดีย เป็นดอกไม้ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนา และเป็นดอกไม้ประจำชาติของเวียดนาม อินเดีย อีกด้วย
ดอกไม้ประจำจังหวัด : ปทุมธานี, พิจิตร, สุโขทัย, หนองบัวลำภู, อุบลราชธานี
ชื่อสามัญ : Nelumbo nucifera
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nymphaea lotus Linn.
วงศ์ : NYMPHACACEAE
ชื่ออื่น : บุณฑริก, สัตตบงกช
ลักษณะทั่วไป : เป็นพรรณไม้น้ำประเภทพืชล้มลุก มีลำต้นและหัวอยู่ในดินใต้น้ำ การเจริญชูก้านใบและดอกขึ้นมาบนผิวน้ำ ใบมีลักษณะกลมกว้างใหญ่ ผิวใบเรียบ สีเขียวขอบน้ำตาล ดอกเป็นกลีบซ้อนกันหลายชั้น มีสีขาว ชมพู เหลือง ลักษณะ สีสัน ขนาดของใบและดอกขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์
การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด แยกกอจากหัวหรือเหง้า
สภาพที่เหมาะสม : ดินเหนียว ดินนา ดินผสมอินทรีย์ ต้องการน้ำมากเพราะเป็นพืชเจริญในน้ำ แสงแดดอ่อน จนถึง แดดจัด
ถิ่นกำเนิด : แถบทวีปเอเชีย เช่น ประเทศจีน อินเดีย และไทย
ประโยชน์ : เป็นไม้ประดับ เสริมสิริมงคล ใช้ในทางพิธีกรรมทางศาสนา ใช้ทำอาหาร เป็นสมุนไพร

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย 08

ร้อยเอ็ด-ดอกประดู่

ต้นไม้ที่ชื่อประดู่นั้น ปัจจุบันมีอยู่หลายต้น ทั้งของดั้งเดิมในไทยเอง และที่เข้ามาจากต่างประเทศ
ดอกไม้ประจำจังหวัด : ชลบุรี, ร้อยเอ็ด, ระยอง, อุตรดิตถ์
ชื่อสามัญ : Angsana, Padauk
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pterocarpus indicus Willd
วงศ์ : LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น : สะโน (ภาคใต้)
ลักษณะทั่วไป : ลำต้นสูง 10–20 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดกลมหรือรูปเจดีย์เตี้ย แผ่กว้าง หนาทึบ ใบประกอบขนนก รูปไข่ เรียบหนา ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง มี 5 กลีบ สีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกบานแล้วร่วงพร้อมๆ กัน ออกดอกช่วงเดือน เมษายน-สิงหาคม
การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : ดินทั่วไป ชอบแสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด : อินเดีย, พม่า, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์
ประโยชน์ : ใบ รสฝาด ใช้สระผม พอก ฝี พอกแผล แก้ผดผื่นคัน เปลือก รสฝาดจัด สมานบาดแผล แก้ท้องเสีย บำรุงร่างกาย แก่น รสขมฝาดร้อน แก้คุดทะราด แก้เสมหะ เลือดกำเดาไหล แก้ไข้ บำรุงเลือด บำรุงกำลัง ขับปัสสาวะ แก้ผื่นคัน ผล แก้อาเจียน แก้ท้องร่วง มีรสฝาดสมาน เนื้อไม้ประดู่ทั้ง 2 ชนิด เป็นไม้มีค่าทางเศษฐกิจ มีคุณภาพดี เพราะเนื้อแข็ง ปลวกไม่ทำลาย สีสวย ลวดลายงดงาม เนื้อละเอียดปานกลาง ตกแต่งขัดเงาได้ดี ใช้สร้างบ้านเรือน ทำเครื่องเรือน ทำเกวียน เรือ เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ เครื่องดนตรี เป็นต้น

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Lery0

เลย-รองเท้านารีเหลืองเลย
เป็นดอกไม้พื้นเมืองอีสานของไทย
ดอกไม้ประจำจังหวัด : เลย
ชื่อสามัญ : ไม่ทราบแน่ชัด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Paphiopedilum hirsutissimum
วงศ์ : ORCHIDACEAE
ชื่ออื่น : -
ลักษณะทั่วไป : เป็นกล้วยไม้แบบ sympodial แบบไม่มีลำลูกกล้วย ระบบรากเป็นแบบรากกึ่งดิน ออกเป็นกระจุกที่โคนต้นและมักทอดไปทางด้านราบมาก กว่าหยั่งลึกลงไปในดิน ใบรูปขอบขนาน ออกดอกเดี่ยว กว้างประมาณ 8 ซม. ก้านดอกยาวและตั้งตรงสีเขียว มีขนสั้นสีม่วงแดงจำนวนมาก กลีบเลี้ยงบนรูปไข่กลับ โคนกลีบสีน้ำตาลอมเหลือง ปลายกลีบสีเขียว กลีบดอกรูปแถบแกมรูปไข่กลับ โคนสีเขียว ปลายสีม่วงอมชมพู ขอบ ด้านบนหยักเป็นคลื่น มีขนปกคลุมทั่วทั้งกลีบ กลีบปากเป็นถุงลึก สีเหลืองอมเขียวมีจุดเล็กๆ สีน้ำตาล ออกดอกช่วงเดือนธันวาคมถึงมีนาคม
การขยายพันธุ์ : แยกหน่อ
สภาพที่เหมาะสม : เติบโตได้ดีในที่มีอากาศเย็น
ถิ่นกำเนิด : ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แถบจังหวัดเพชรบูรณ์ เลย และชัยภูมิ
ประโยชน์ : ใช้เป็นไม้ดอกไม้ประดับ

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย 520303don

ศรีษะเกษ-ลำดวน

คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นลำดวลไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดความคิดถึง ความสดชื่น เพราะ ลำดวล หรือ ลำดวล คือ ความกลมกลืน ดความดูดดื่ม ความชื่นฉ่ำ นอกจากนี้ดอกของลำดวนยังมีลักษณะสีนวลสว่างกลิ่นหอมเย็น กระจายไปไกลมิรู้คลาย และยังเชื่ออีกว่าเกสรของลำดวนเป็นยาวิเศษอย่างหนึ่ง สำหรับบำรุงสุขภาพจิตที่ดีอีกด้วย
ดอกไม้ประจำจังหวัด : ศรีสะเกษ
ชื่อสามัญ : Lamdman, Devil Tree, White Cheesewood
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Melodorum fruticosum Lour.
วงศ์ : ANNONACEAE
ชื่ออื่น : ลำดวน (ภาคกลาง), หอมนวล (ภาคเหนือ)
ลักษณะทั่วไป : ลำดวนเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ 5–10 เมตร ผิวเปลือกลำต้นเป็นสีเทา ผิวต้นเรียบ มีรอยแตกเล็กน้อยแตก ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันตามข้อ ลำต้น ใบเป็นรูปหอก ยาวรี ปลายใบแหลม โคนใบมนแหลม ขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย ผิวใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม ดอกเป็นดอกเดี่ยวออกตามส่วนยอด และตามง่ามใบ มีกลีบดอก 6 กลีบ ซ้อนกันเป็นชั้น ปลายกลีบแหลม โคนกลีบดอกกว้าง ดอกมีขนาดเล็กสีเหลือง กลิ่นหอมเย็น ออกดอกช่วง เดือนธันวาคม-มีนาคม
การขยายพันธุ์ : การเพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม : ดินร่วนซุย แสงแดดจัด เติบโตได้ดีในที่ชุ่มชื้น
ถิ่นกำเนิด : ประเทศแถบอินโดจีน
ประโยชน์ : ผลมีรสหวานรับประทานได้ ดอกแก้ไข้ แก้วิงเวียน บำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Zinthaninnaam

สกลนคร-อินทนิลน้ำ

เป็นไม้ยืนต้น เป็นพรรณไม้ที่พบขึ้นทั่วไปตามที่ราบลุ่มและบริเวณริมฝั่งแม่น้ำ ลำห้วย ในป่าเบญจพรรณชื้นและป่าดงดิบทั่วทุกภาค จะพบมากในป่าดงดิบภาคใต้ มีดอกสีม่วง สวยงาม มีชื่อในแต่ละท้องถิ่นต่างๆ
ดอกไม้ประจำจังหวัด : สกลนคร
ชื่อสามัญ : Queen’s Flower, Queen’s Crape Myrtle, Pride of India
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lagerstroemia speciosa Pers.
วงศ์ : LYTHRACEAE
ชื่ออื่น : ฉ่วงมู (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ตะแบกดำ (กรุงเทพฯ), บางอ บะซา (มลายู-ยะลา, นราธิวาส), บาเอ บาเย (ปัตตานี), อินทนิล (ภาคกลาง), อินทนิลน้ำ (ภาคกลาง, ภาคใต้)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นสูง 10–15 เมตร ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ผิวเปลือกนอกสีเทา ใบเป็นใบเดี่ยว รูปรีหรือรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบมน ดอกย่อยขนาดใหญ่ กลีบดอกสีชมพู สีม่วงแกมชมพู หรือสีม่วง ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน ผลเป็นผลแห้ง มีขนาดใหญ่
การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : ดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง
ถิ่นกำเนิด : ที่ราบลุ่มริมน้ำ ป่าเบญจพรรณชื้นและป่าดิบทั่วไป ในประเทศไทย
ประโยชน์ : เนื้อไม้ เนื้อไม้ นิยมใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน โดยมากใช้ทำกระดานพื้น ฝา กระเบื้อง มุงหลังคา ใช้ต่อเรือใบ เรือแจว เรือเดินทะเล ทำเกวียน เครื่องตบแต่งบ้าน ทำแจว พาย เปียโน หีบใส่ของ ถังไม้ กังหันน้ำ เครื่องมือการเกษตรต่าง ๆ เช่น ทำไถ ไม้นวดข้าว ครก สาก กระเดื่อง ลูกหีบ ซี่ล้อ ทำไม้คาน ไม้กั้นบ่อน้ำ ร่องน้ำ ทำหีบศพอย่างดี สรรพคุณทางยา เปลือก รสฝาดขม แก้ไข้ แก้ท้องเสีย ใบ รสจืดขมฝาดเย็น ต้มหรือชงน้ำร้อนดื่ม แก้โรคเบาหวาน ขับปัสสาวะ เป็นยาลดความดัน เมล็ด รสขม แก้โรคเบาหวาน แก้นอนไม่หลับ แก่น รสขม ต้มดื่มแก้โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ แก้โรคเบาหวาน ราก รสขม แก้แผลในปาก ในคอ เป็นยาสมานท้อง

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย E01

สุรินทร์-กันเกรา (มันปลา)

เป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ขึ้นโดยทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย ในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายนจะออกดอกเป็น ช่อสีเหลือง มีกลิ่นหอมขจรขจาย
ดอกไม้ประจำจังหวัด : นครพนม, สุรินทร์
ชื่อสามัญ : Anan, Tembusu
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Fagraea fragrans Roxb.
วงศ์ : LOGANIACEAE
ชื่ออื่น : กันเกรา (ภาคกลาง), ตะมะซู ตำมูซู (มลายู-ภาคใต้), ตาเตรา (เขมร-ภาคตะวันออก), ตำเสา ทำเสา (ภาคใต้), มันปลา (ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
ลักษณะทั่วไป : ต้นสูงประมาณ 20–30 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดรูปไข่หรือรูปกรวยคว่ำ หนาทึบ ใบเดี่ยว รูปรีหรือแกมใบหอก สีเขียวเข้มเป็นมัน ใต้ใบสีอ่อน ออกดอกเป็นช่อจำนวนมากที่ปลายกิ่ง ดอกสีขาว แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเมื่อใกล้โรย มีกลิ่นหอมเย็น ลักษณะดอกคล้ายแจกัน ออกดอกตลอดปี
การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : เติบโตได้ดีในที่ชื้นแฉะ แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด : ป่าเบญจพรรณและตามที่ใกล้แหล่งน้ำใน ประเทศอินเดีย, มาเลเซีย, พม่า, เวียดนาม และประเทศไทย
ประโยชน์ : ประโยชน์ได้แก่ เนื้อไม้สีเหลืองอ่อน เสี้ยนตรง เนื้อละเอียด เหนียว แข็ง ทนทาน ใช้ในการก่อสร้าง นิยมใช้ทำเสาเรือน แก่นมีรสฝาดใช้เข้ายาบำรุงธาตุ แน่นหน้าอก เปลือกใช้บำรุงโลหิต ผิวหนังพุพอง ปลูกเป็นไม้ประดับ ลักษณะลำต้นที่สวยงามทั้งลวดลายของเปลือกและเนื้อไม้ เหมาะแก่การนำไปใช้ประโยชน์ทำเครื่องเรือนและเครื่องใช้ต่าง ๆ มีน้ำมันหอมระเหยที่เปลือก

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย ชิงชัน

หนองคาย-ดอกชิงชัน

เป็นไม้ยืนต้นขนาดลกางถึงขนาดใหญ่
ดอกไม้ประจำจังหวัด : หนองคาย
ชื่อสามัญ : Rosewood
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dalbergia oliveri Gamble
วงศ์ : LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น : ชิงชัน ประดู่ชิงชัน (ภาคกลาง), ดู่สะแดน (เหนือ)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 15–25 เมตร เปลือกสีน้ำตาลอมเทาล่อนเป็นแว่น ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ใบย่อยเรียงสลับ แผ่นใบรูปรีแกมรูปไข่ โคนใบและปลายใบมน ท้องใบสีจางกว่าหลังใบ ดอกขนาดเล็ก สีขาวแกมม่วง ผลเป็นฝักแบน รูปหอก หัวท้ายแหลม
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : ดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำปานกลาง
ถิ่นกำเนิด : ป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณทั่วไป ยกเว้นภาคใต้ ในประเทศไทย
ประโยชน์ : เนื่องจากไม้ชิงชันนั้นมีลักษณะที่แข็งและเหนียวรวมถึงมีลักษณะที่ดูสวยงามมากดังนั้นจึงนิยมนำมาทำเป็น เครื่องเรือน เครื่องดนตรีต่างๆ ฯลฯ นอกจากประโยชน์ทางด้านอุตสาหกรรมพื้นบ้านแล้วต้นไม้ชิงชันยังให้ประโยชน์ทางด้านสมุนไพรอีกด้วย

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย 016

หนองบัวลำภู-บัวหลวง

เป็นดอกไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย เช่น ประเทศไทยอินเดีย เป็นดอกไม้ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนา และเป็นดอกไม้ประจำชาติของเวียดนาม อินเดีย อีกด้วย
ดอกไม้ประจำจังหวัด : ปทุมธานี, พิจิตร, สุโขทัย, หนองบัวลำภู, อุบลราชธานี
ชื่อสามัญ : Nelumbo nucifera
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nymphaea lotus Linn.
วงศ์ : NYMPHACACEAE
ชื่ออื่น : บุณฑริก, สัตตบงกช
ลักษณะทั่วไป : เป็นพรรณไม้น้ำประเภทพืชล้มลุก มีลำต้นและหัวอยู่ในดินใต้น้ำ การเจริญชูก้านใบและดอกขึ้นมาบนผิวน้ำ ใบมีลักษณะกลมกว้างใหญ่ ผิวใบเรียบ สีเขียวขอบน้ำตาล ดอกเป็นกลีบซ้อนกันหลายชั้น มีสีขาว ชมพู เหลือง ลักษณะ สีสัน ขนาดของใบและดอกขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์
การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด แยกกอจากหัวหรือเหง้า
สภาพที่เหมาะสม : ดินเหนียว ดินนา ดินผสมอินทรีย์ ต้องการน้ำมากเพราะเป็นพืชเจริญในน้ำ แสงแดดอ่อน จนถึง แดดจัด
ถิ่นกำเนิด : แถบทวีปเอเชีย เช่น ประเทศจีน อินเดีย และไทย
ประโยชน์ : เป็นไม้ประดับ เสริมสิริมงคล ใช้ในทางพิธีกรรมทางศาสนา ใช้ทำอาหาร เป็นสมุนไพร

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย 4_1268566780nj23

อำนาจเจริญ-ทองกวาวเหลือง

คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นทองกวาวไว้ประจำบ้านจะทำให้มีเงินมีทองมาก เพราะทองกวาวเป็นไม้มงคลนาม คือสามารถมีทองได้ตามธรรมชาติหรือมีทองมากนั่นเอง นอกจากนี้ดอกยังมีความสวยเรืองรองดั่งทองธรรมชาติ
ดอกไม้ประจำจังหวัด : เชียงใหม่, ลำพูน, อำนาจเจริญ, อุดรธานี
ชื่อสามัญ : Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Butea monosperma
วงศ์ : LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น : กวาว ก๋าว (ภาคเหนือ), จอมทอง (ภาคใต้), จ้า (เขมร), ทองธรรมชาติ ทองพรหมชาติ ทองต้น (ภาคกลาง), ดอกจาน (อิสาน)
ลักษณะทั่วไป : ทองกวาวเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูงประมาณ 10–15 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดรูปทรงไม่แน่นอน ส่วนใหญ่จะกลม หรือเป็นทรงกระบอก ใบประกอบมี 3 ใบ ขนาดไม่เท่ากัน ใบหนาและมีขน ใต้ใบสีเขียวอมเทา ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง คล้ายดอกถั่ว สีแสดแดงหรือเหลือง มีขน ออกดอก เดือนธันวาคม–มีนาคม ผลเป็นฝักแบน มีขนนุ่ม เมล็ด 1 เมล็ดอยู่ที่ปลายฝัก
การขยายพันธุ์ : การเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : ดินร่วนซุย แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด : อินเดีย
ประโยชน์ : ดอก ต้มดื่มเป็นยาแก้ปวด ถอนพิษไข้ ขับปัสสาวะ ฝัก ต้มเอาน้ำเป็นยาขับพยาธิ ยาง แก้ท้องร่วง เปลือก มีงานวิจัยพบว่า สารสกัดจากเปลือก ช่วยเพิ่มขนาดหน้าอกให้ใหญ่ขึ้น แต่จะลดจำนวนอสุจิ เมล็ด บดผสมมะนาว ทาบริเวณผื่นคัน ใบ ต้มกับน้ำ แก้ปวด ขับพยาธิ ท้องขึ้น ริดสีดวงทวาร ราก ต้มรักษาโรคประสาท บำรุงธาตุ

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย STS_001_Butea_monosperma

อุดรธานี-ทองกวาว

คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นทองกวาวไว้ประจำบ้านจะทำให้มีเงินมีทองมาก เพราะทองกวาวเป็นไม้มงคลนาม คือสามารถมีทองได้ตามธรรมชาติหรือมีทองมากนั่นเอง นอกจากนี้ดอกยังมีความสวยเรืองรองดั่งทองธรรมชาติ
ดอกไม้ประจำจังหวัด : เชียงใหม่, ลำพูน, อำนาจเจริญ, อุดรธานี
ชื่อสามัญ : Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Butea monosperma
วงศ์ : LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น : กวาว ก๋าว (ภาคเหนือ), จอมทอง (ภาคใต้), จ้า (เขมร), ทองธรรมชาติ ทองพรหมชาติ ทองต้น (ภาคกลาง), ดอกจาน (อิสาน)
ลักษณะทั่วไป : ทองกวาวเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูงประมาณ 10–15 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดรูปทรงไม่แน่นอน ส่วนใหญ่จะกลม หรือเป็นทรงกระบอก ใบประกอบมี 3 ใบ ขนาดไม่เท่ากัน ใบหนาและมีขน ใต้ใบสีเขียวอมเทา ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง คล้ายดอกถั่ว สีแสดแดงหรือเหลือง มีขน ออกดอก เดือนธันวาคม–มีนาคม ผลเป็นฝักแบน มีขนนุ่ม เมล็ด 1 เมล็ดอยู่ที่ปลายฝัก
การขยายพันธุ์ : การเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : ดินร่วนซุย แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด : อินเดีย
ประโยชน์ : ดอก ต้มดื่มเป็นยาแก้ปวด ถอนพิษไข้ ขับปัสสาวะ ฝัก ต้มเอาน้ำเป็นยาขับพยาธิ ยาง แก้ท้องร่วง เปลือก มีงานวิจัยพบว่า สารสกัดจากเปลือก ช่วยเพิ่มขนาดหน้าอกให้ใหญ่ขึ้น แต่จะลดจำนวนอสุจิ เมล็ด บดผสมมะนาว ทาบริเวณผื่นคัน ใบ ต้มกับน้ำ แก้ปวด ขับพยาธิ ท้องขึ้น ริดสีดวงทวาร ราก ต้มรักษาโรคประสาท บำรุงธาตุ

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Bouluang5

อุบลราชธานี-บัวหลวง

เป็นดอกไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย เช่น ประเทศไทยอินเดีย เป็นดอกไม้ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนา และเป็นดอกไม้ประจำชาติของเวียดนาม อินเดีย อีกด้วยดอกไม้ประจำจังหวัด : ปทุมธานี, พิจิตร, สุโขทัย, หนองบัวลำภู, อุบลราชธานี
ชื่อสามัญ : Nelumbo nucifera
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nymphaea lotus Linn.
วงศ์ : NYMPHACACEAE
ชื่ออื่น : บุณฑริก, สัตตบงกช
ลักษณะทั่วไป : เป็นพรรณไม้น้ำประเภทพืชล้มลุก มีลำต้นและหัวอยู่ในดินใต้น้ำ การเจริญชูก้านใบและดอกขึ้นมาบนผิวน้ำ ใบมีลักษณะกลมกว้างใหญ่ ผิวใบเรียบ สีเขียวขอบน้ำตาล ดอกเป็นกลีบซ้อนกันหลายชั้น มีสีขาว ชมพู เหลือง ลักษณะ สีสัน ขนาดของใบและดอกขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์
การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด แยกกอจากหัวหรือเหง้า
สภาพที่เหมาะสม : ดินเหนียว ดินนา ดินผสมอินทรีย์ ต้องการน้ำมากเพราะเป็นพืชเจริญในน้ำ แสงแดดอ่อน จนถึง แดดจัด
ถิ่นกำเนิด : แถบทวีปเอเชีย เช่น ประเทศจีน อินเดีย และไทย
ประโยชน์ : เป็นไม้ประดับ เสริมสิริมงคล ใช้ในทางพิธีกรรมทางศาสนา ใช้ทำอาหาร เป็นสมุนไพร

อ้างอิง

www.maipradabonline.com
th.wikipedia.org
www.panmai.com
www.moohin.com
www.sahavicha.com
gotoknow.org
www.shc.ac.th
th88db.com
www.forumkhonbaakpae.com
www.tarad.com
www.doctor.or.th
content.tarad.com
www.sopon.ac.th
thaigoodview.com
www.dnp.go.th
ipc5.dip.go.th
www.tourdoi.com
www.encyclopediathai.org
www.baanmaha.com


แก้ไขล่าสุดโดย Volwar เมื่อ Fri May 06, 2011 2:03 pm, ทั้งหมด 5 ครั้ง
Volwar
Volwar
Webmaster
Webmaster

จำนวนข้อความ : 572
คะแนน : 770
คะแนนชื่อเสียง : 14
Join date : 23/01/2010
Age : 30
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ถนนไม่มีรถเมล์ กทม.

ขึ้นไปข้างบน Go down

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Empty Re: ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย

ตั้งหัวข้อ by *!!~AlFeiLai~!!* Mon May 17, 2010 5:22 pm

แต่ชอบดอกลีลาวดีมากกว่าอะ(ถึงจะชื่อเก่าจะเป็นลั่นทมก็เถอะ- -")ของอุบลสวยที่สุด>w<(บ้าละ- -")
*!!~AlFeiLai~!!*
*!!~AlFeiLai~!!*
B Class
B Class

จำนวนข้อความ : 265
คะแนน : 299
คะแนนชื่อเสียง : 21
Join date : 28/03/2010
Age : 28
ที่อยู่ : Thailand

https://twitter.com/spellsunnn

ขึ้นไปข้างบน Go down

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Empty ดอกไม้ไทยภาคตะวันออก

ตั้งหัวข้อ by Volwar Tue May 18, 2010 10:43 am

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย 06

จันทบุรี-ดอกเหลืองจันทบูร

เหลืองจันทบูร เป็นกล้วยไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ ชนิดหนึ่ง ออกดอกในช่วง เดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน ดอกเหลืองจันทบูรเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดจันทบุรี แหล่งกำเนิดอยู่ที่เทือกเขาคิชฌกูฏและเทือกเขาสอยดาว ลำลูกกล้วยยาว ต้นแก่เป็นสีเหลือง โดยออกดอกตามข้อ มีสองพันธุ์คือพันธุ์ที่ดอกเหลืองล้วน เมื่อแก่สีเข้มเหมือนสีจำปา กับพันธุ์ที่มีแต้มสีม่วงแดง
ดอกไม้ประจำจังหวัด : จันทบุรี
ชื่อสามัญ : ไม่ทราบแน่ชัด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrodium friedericksianum Rchb. f.
วงศ์ : ORCHIDACEAE
ชื่ออื่น : หวายเหลืองจันทบูร
ลักษณะทั่วไป : เป็นกล้วยไม้ที่มีลำลูกกล้วยลักษณะเป็นโคนเล็กแล้วค่อยโป่งไปทางตอนปลายขนาดลำยาวมาก บางต้นยาวถึง 75 เซนติเมตร เมื่อลำแก่จะเป็นสีเหลืองโดยด้านข้างของลำจะมีใบอยู่ทั้งสองข้าง ออกดอกในเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน ช่อดอกออกตามข้อของลำ ออกดอกเป็นช่อๆ ละ 2–4 ดอก กลีบดอกเป็นมัน รอบแรกดอกจะเป็นสีเหลืองอ่อนแล้วจะค่อยๆ เข้มขึ้นจนเป็นสีจำปา ปากสีเข้มกว่ากลีบ ในคอมีสีแต้มเป็นสีเลือดหมู 2 แต้ม ขนาดดอกโตประมาณ 5 เซนติเมตร
การขยายพันธุ์ : แยกลำ
สภาพที่เหมาะสม : เป็นกล้วยไม้รากอากาศ ชอบอากาศชื้น
ถิ่นกำเนิด : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและภาคตะวันออกของประเทศไทย
ประโยชน์ : ใช้เป็นไม้ดอกประดับ

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย 3

ฉะเชิงเทรา-ดอกนนทรี

นนทรีนั้นเป็นต้นไม้พื้นเมืองของไทย อินโดจีน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดจีน ออสเตรเลีย หากได้รับการตัดแต่งกิ่งดูแลให้ตามควรแล้วจะเป็นต้นไม้ที่ให้ดอกสวยงามมากจนมีผู้นำไปปลูกประดับทั้งในสวนและตามริมถนนใหญ่หลายสาย ให้ทั้งร่มเงาและให้ทั้งความสวยงามของดอก
ดอกไม้ประจำจังหวัด : ฉะเชิงเทรา, นนทบุรี, พิษณุโลก
ชื่อสามัญ : Yellow Flamboyant
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Peltophorum pterocarpum (DC.) K. Heyne
วงศ์ : LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น : กระถินป่า กระถินแดง (ตราด), นนทรี (ทั่วไป) สารเงิน (แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นทรงพุ่มสูงได้ถึง 25 เมตร กึ่งผลัดใบ เรือนยอดรูปร่ม แผ่กว้าง ใบเป็นใบประกอบขนนกสองชั้นรูปไข่ ออกดอกเป็นช่อตั้งขนาดใหญ่ที่ปลายกิ่ง สีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกดอกในฤดูแล้ง ช่วง เดือนมีนาคม-มิถุนายน
การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : ดินทั่วไป ชอบแสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด : เอเชียเขตร้อน
ประโยชน์ : ประโยชน์อย่างหนึ่งซึ่งไม่ค่อยมีใครคิดถึงนั้นก็คือเปลือก เปลือกต้นนนทรีนั้น เมื่อนำไปต้มแล้วจะให้สีน้ำตาลเหลือง ใช้ในการย้อมผ้าฝ้ายบาติกในเกาะชวา อินโดนีเซีย นอกจากนี้เปลือกนนทรียังมีขายกันในร้านสมุนไพรในเกาะชวาด้วย เพราะเป็นแหล่งที่มาของแทนนิน ใช้รักษษโรคท้องร่วง หรือนำไปเคี่ยวเข้าน้ำมัน นวดแก้ตะคริว กล้ามเนื้ออักเสบ ปลูกเป็นไม้ประดับ ลำต้นไม้ ใช้ทำสิ่งก่อสร้าง เรื่องเรือน เปลือก มีรสรับประทานเป็นยากล่อมเสมหะ แก้โรคท้องร่วง เป็นยาขับลมปลูกเป็นไม้ประดับ

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย B

ชลบุรี-ประดู่

ต้นไม้ที่ชื่อประดู่นั้น ปัจจุบันมีอยู่หลายต้น ทั้งของดั้งเดิมในไทยเอง และที่เข้ามาจากต่างประเทศ
ดอกไม้ประจำจังหวัด : ชลบุรี, ร้อยเอ็ด, ระยอง, อุตรดิตถ์
ชื่อสามัญ : Angsana, Padauk
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pterocarpus indicus Willd
วงศ์ : LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น : สะโน (ภาคใต้)
ลักษณะทั่วไป : ลำต้นสูง 10–20 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดกลมหรือรูปเจดีย์เตี้ย แผ่กว้าง หนาทึบ ใบประกอบขนนก รูปไข่ เรียบหนา ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง มี 5 กลีบ สีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกบานแล้วร่วงพร้อมๆ กัน ออกดอกช่วงเดือน เมษายน-สิงหาคม
การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : ดินทั่วไป ชอบแสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด : อินเดีย, พม่า, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์
ประโยชน์ : ใบ รสฝาด ใช้สระผม พอก ฝี พอกแผล แก้ผดผื่นคัน เปลือก รสฝาดจัด สมานบาดแผล แก้ท้องเสีย บำรุงร่างกาย แก่น รสขมฝาดร้อน แก้คุดทะราด แก้เสมหะ เลือดกำเดาไหล แก้ไข้ บำรุงเลือด บำรุงกำลัง ขับปัสสาวะ แก้ผื่นคัน ผล แก้อาเจียน แก้ท้องร่วง มีรสฝาดสมาน เนื้อไม้ประดู่ทั้ง 2 ชนิด เป็นไม้มีค่าทางเศษฐกิจ มีคุณภาพดี เพราะเนื้อแข็ง ปลวกไม่ทำลาย สีสวย ลวดลายงดงาม เนื้อละเอียดปานกลาง ตกแต่งขัดเงาได้ดี ใช้สร้างบ้านเรือน ทำเครื่องเรือน ทำเกวียน เรือ เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ เครื่องดนตรี เป็นต้น

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Fl_09

ตราด-กฤษณา

เป็นไม้ที่มีกลิ่นหอมหายากเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ และมีการลักลอบตัด
ดอกไม้ประจำจังหวัด : ตราด
ชื่อสามัญ : Eagle Wood, Lignum Aloes, Agarwood, Aloe Wood, Calambac, Aglia, Akyaw
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aquilaria subintegra Ding Hau
วงศ์ : THYMELAEACEAE
ชื่ออื่น : กฤษณา (ภาคตะวันออก), กายูการู กายูกาฮู (มาเลเซีย ปัตตานี), ไม้หอม (ภาคตะวันออก ภาคใต้)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 20-30 เมตร ไม่ผลัดใบ ลำต้นตรง เรือนยอดเป็นพุ่มทรงเจดีย์ เนื้อไม้มีสีขาว ต้นไม้ชนิดนี้หากมีบาดแผลซึ่งอาจเกิดจากการตัด แมงเจาะใช หรือเป็นโรคจะขับสารชนิดหนึ่งที่อยู่ในลำต้น ออกมาทำหน้าที่ต้านความผิดปกติเหล่านั้น ทำให้บริเวณที่เกิดแผลดังกล่าวเปลี่ยน เป็นสีดำและก่อตัวเป็นผลึก ทำให้เกิดความ แข็งแกร่งของเนื้อไม้ ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า กฤษณา มีกลิ่นหอม ความผิดปกติ จะขยายไปเรื่อยๆ ทำให้สีดำมีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งแก่นกฤษณา ที่มีสีดำนั้น ถือว่าเป็นไม้คุณภาพชั้นหนึ่ง มีราคาสูงมาก หากมีสีน้ำตาลเทา คุณภาพจะรองลงมา ถ้ามีสีเหลืองปนดำ ถือว่าเป็นคุณภาพต่ำ ซึ่งไม้กฤษณาเป็นสินค้าที่นำมาทำ หัวน้ำหอม ตลอดจนเครื่องหอมหลายชนิด
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : ที่ชุ่มชื้นตามป่าดงดิบชื้นและแล้ง หรือที่ราบใกล้กับแม่น้ำ ลำธาร สามารถขึ้นได้ในที่สูงถึง 1,100 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลางหรือมากกว่า
ถิ่นกำเนิด : เอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประโยชน์ : ใช้ทำเป็นเครื่องเรือน ทำเป็นสมุนไพร นำไปทำผลิตภัณฑ์ที่มีกลิ่นหอมต่างๆ เช่น น้ำหอม ธูป

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย 22

ปราจีนบุรี-ปีป

ปีบเป็นต้นไม้มีดอกหอมที่มีชื่อเสียงมาตั้งแต่โบราณ วรรณคดีในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นหลายเรื่องได้บรรยายถึงปีบในตอนชมดง เช่น ในบทประพันธ์ของสุนทรภู่ และเรื่องอิเหนาของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) เป็นต้น ปัจจุบันปีบเป็นต้นไม้ที่รู้จักกันดี เพราะมีร่มเงา ร่มรื่น รูปทรงต้นงดงาม ปลูกง่าย ทนทาน ให้ดอกสม่ำเสมอ มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ ขยายพันธุ์และดูแลรักษาได้ง่าย นิยมปลูกในสวนสาธารณะ ทางเท้า 2 ข้างถนน และตามโรงแรม โรงเรียน หรือบ้านเรือนที่มีบริเวณสนามกว้างพอสมควร เมืองไทยของเรามีต้นไม้ดอกหอมอยู่มากมายให้ชื่นชม ทั้งรูปทรง สีสัน และกลิ่นหอมตลอดทั้งปี น่าเสียหายที่คนไทยอีกมากมายไม่ทราบ และไม่ใช้ประโยชน์ในสิ่งมีค่าของตนอย่างที่ควรจะเป็น ก่อนหมดฤดูฝนปีนี้ขอให้ผู้อ่านหาโอกาสชื่นใจกับรูปทรงและกลิ่นหอมของดอกปีบกันทุกท่าน ถ้าจะให้ดีกว่านั้นก็คือเดินทางไปเยี่ยมเยียนปีบถึงท้องถิ่นต้นกำเนิด คือผืนป่าภาคตะวันตกอันสมบูรณ์และทรงคุณค่าของมวลมนุษยชาติ
ดอกไม้ประจำจังหวัด : ปราจีนบุรี
ชื่อสามัญ : Cork Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Millingtonia hortensis Linn. F.
วงศ์ : BIGNONIACEAE
ชื่ออื่น : กาซะลอง กาดสะลอง (ภาคเหนือ), เต็กตองโพ่ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ปีบ (ภาคกลาง)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ลำต้นสูงประมาณ 10–20 เมตร เปลือกลำต้นสีเทา ขรุขระ ใบออกเป็นช่อ ลักษณะใบกลมรี ขอบใบเรียบ โคนใบมนใต้ใบเห็นเส้นใบชัดเจน ดอกออกเป็นช่อ ตั้งตรงลักษณะเป็นท่อยาวประมาณ 2–3 นิ้ว สีขาวปนเหลืองขนาด 2 เซนติเมตร ปลายกลีบ ดอกเป็นแฉก 5 แฉก ตรงกลางดอกมีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียติดอยู่ด้านในใกล้ปากท่อ ผลมีลักษณะเป็นฝักแบน ภายในมีเมล็ดลักษณะแบน
การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด และการปักชำ
สภาพที่เหมาะสม : ดินร่วนซุย แสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง
ถิ่นกำเนิด : ไทย, พม่า
ประโยชน์ : ดอก ดอกแห้ง รสหวาน ขม หอม ใช้สูบแก้ริดสีดวงจมูก ปรุงเป็นยาบำรุงน้ำดี บำรุงเลือด บำรุงกำลัง แก้ลม ขยายหลอดลม รักษาโรคหืด ราก รสเผื่อน บำรุงปอด แก้ปอดพิการ แก้วัณโรค แก้เหนื่อย หอบ เปลือกของลำต้นใช้ทำจุกก๊อก (จึงเรียกว่า INDIAN CORK TREE) เนื้อไม้อ่อน สีเหลืองอ่อน ใช้ทำเครื่องเรือน และเครื่องตกแต่งบ้าน ใช้ก่อสร้างในร่มได้

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Y1p8sDQsrdwd3FHrglFT-xN6INe00GvhqciUlOSr-0T69Mga8uiBmwWGwqHMtn_8UNhJkH3nEYYkec

ระยอง-ประดู่

ต้นไม้ที่ชื่อประดู่นั้น ปัจจุบันมีอยู่หลายต้น ทั้งของดั้งเดิมในไทยเอง และที่เข้ามาจากต่างประเทศ
ดอกไม้ประจำจังหวัด : ชลบุรี, ร้อยเอ็ด, ระยอง, อุตรดิตถ์
ชื่อสามัญ : Angsana, Padauk
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pterocarpus indicus Willd
วงศ์ : LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น : สะโน (ภาคใต้)
ลักษณะทั่วไป : ลำต้นสูง 10–20 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดกลมหรือรูปเจดีย์เตี้ย แผ่กว้าง หนาทึบ ใบประกอบขนนก รูปไข่ เรียบหนา ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง มี 5 กลีบ สีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกบานแล้วร่วงพร้อมๆ กัน ออกดอกช่วงเดือน เมษายน-สิงหาคม
การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : ดินทั่วไป ชอบแสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด : อินเดีย, พม่า, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์
ประโยชน์ : ใบ รสฝาด ใช้สระผม พอก ฝี พอกแผล แก้ผดผื่นคัน เปลือก รสฝาดจัด สมานบาดแผล แก้ท้องเสีย บำรุงร่างกาย แก่น รสขมฝาดร้อน แก้คุดทะราด แก้เสมหะ เลือดกำเดาไหล แก้ไข้ บำรุงเลือด บำรุงกำลัง ขับปัสสาวะ แก้ผื่นคัน ผล แก้อาเจียน แก้ท้องร่วง มีรสฝาดสมาน เนื้อไม้ประดู่ทั้ง 2 ชนิด เป็นไม้มีค่าทางเศษฐกิจ มีคุณภาพดี เพราะเนื้อแข็ง ปลวกไม่ทำลาย สีสวย ลวดลายงดงาม เนื้อละเอียดปานกลาง ตกแต่งขัดเงาได้ดี ใช้สร้างบ้านเรือน ทำเครื่องเรือน ทำเกวียน เรือ เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ เครื่องดนตรี เป็นต้น

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย 2008-05-13-3846

สระแก้ว-แก้ว

คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นแก้วไว้ประจำบ้านจะทำให้คนในบ้านมีความดี มีคุณค่าสูง เพราะคำว่า แก้ว นั้นหมายถึง สิงที่ดีมีค่าสูงเป็นที่นับถือบูชาของบุคคลทั่วไปซึ่งโบราณได้เปรีบเทียบของที่มีค่าสูงนี้เสมือนดั่งดวงแก้วนอกจากนี้คนโบราณยัง มีความเชื่ออีกว่า บ้านใดปลูกต้นแก้วไว้ประจำบ้านจะทำให้เป็นคนที่มีจิตใจบริสุทธิ์ มีความเบิกบาน เพราะแก้วคือความใสสะ อาดความสดใสนอกจากนี้ดอกแก้วยังมีสีขาวสะอาดสดใสมีกลิ่นหอมนวลไปไกลและยังนำดอกแก้วไปใช้ในพิธีบูชาพระในพิธี ทางศาสนาได้เป็นสิริมงคลยิ่งอีกด้วย
ดอกไม้ประจำจังหวัด สระแก้ว
ชื่อสามัญ Orang Jessamine
ชื่อวิทยาศาสตร์ Murraya paniculata
วงศ์ RUTACEAE
ชื่ออื่น แก้ว, แก้วขาว (ภาคกลาง), แก้วขี้ไก่ (ยะลา), แก้วพริก, ตะไหลแก้ว (ภาคเหนือ)
ลักษณะทั่วไป แก้วเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางสูงประมาณ 5–10 เมตร ทรงพุ่มไม่เป็นระเบียบ ใบออกเป็นช่อ เป็นแผงเรียงสลับกัน ใบเป็นมันสีเขียวเข้ม ขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย ออกดอกเป็นช่อใหญ่ ช่อสั้น ออกตามปลายกิ่ง กลิ่นหอม ดอกบานเต็มที่ขนาด 2–3 เซนติเมตร ผลรูปไข่ รี ปลายทู่ มีสีส้ม ภายในมีเมล็ด 1–2 เมล็ด
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม ดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, อินเดีย และภูมิภาคอินโดจีน
ประโยชน์ : การใช้ประโยชน์ทางด้านเนื้อไม้ เนื้อไม้ที่ีแปรรูปใหม่สีเหลืองอ่อน พอนานเข้ากลายเป็นสีเหลืองแกมเทา เสี้ยนอาจตรงหรือสน มักมีลายพื้นหรือลายกาบในบางต้น เนื้อละเอียดสม่ำเสมอเป็นมันเลื่อย ผ่า ไส ขัด ตบแต่งได้ดี ใช้ทำเครื่องเรือนเครื่องกลึง ด้ามเครื่องมือ ไม้บรรทัด ด้ามปากกา มีลายสวยงาม กรอบรูป ภาชนะ ซอ ด้ามเครื่องมือต่างๆ การใช้ประโยชน์ทางด้านนิเวศน์ การใช้ประโยชน์ทางด้านภูมิสถาปัตย์ เป็นไม้พุ่มที่มีทรงตัดแต่งได้สวยงาม ใบเขียวตลอดปีและมีดอกที่สวยงาม กลิ่นหอมแรกมาก ใช้ปลูกประดับเพื่อความสวยงาม ก้านและใบ รสเผ็ด สุขุม ขม ใช้เป็นยาชาระงับปวด แก้ผื่นคันที่เกิดขึ้นจากความชื้น แก้แผลเจ็บปวดเกิดจากการกระทบกระแทก ต้มอมบ้วนปาก แก้ปวดฟันโดยใช้ใบสดตำพอแหลกแช่เหล้าโรง ในอัตราส่วน 15 ใบย่อยหรือ 1 กรัมต่อเหล้าโรง 1 ช้อนชา หรือ 5 มิลลิลิตร เอาน้ำจิ้มบริเวณที่ปวด ราก รสเผ็ด ขม สุขุม ใช้แก้ปวดเอว แก้ผื่นคันที่เกิดจากชื้นและที่เกิดจากแมลงกัดต่อย ใบ ขับพยาธิตัดตืด แก้บิด แก้ท้องเสีย ราก, ใบ เป็นยาขับประจำเดือน ดอก, ใบ ช่วยย่อย แก้ไขข้ออักเสบ แก้ไอ เวียนศรีษะ ผลสุก รับประทานเป็นอาหารได้

อ้างอิง

www.kpflower.ob.tc
th.wikipedia.org
www.panmai.com
www.touchwood.com
www.bloggang.com
www.dnp.go.th
Volwar
Volwar
Webmaster
Webmaster

จำนวนข้อความ : 572
คะแนน : 770
คะแนนชื่อเสียง : 14
Join date : 23/01/2010
Age : 30
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ถนนไม่มีรถเมล์ กทม.

ขึ้นไปข้างบน Go down

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Empty Re: ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย

ตั้งหัวข้อ by *!!~AlFeiLai~!!* Tue May 18, 2010 8:50 pm

ดอกแก้วสวยๆๆ>.< เวลาฝนตกหอมอะชอบๆๆ,,=w=,,(เกี่ยว...?)
*!!~AlFeiLai~!!*
*!!~AlFeiLai~!!*
B Class
B Class

จำนวนข้อความ : 265
คะแนน : 299
คะแนนชื่อเสียง : 21
Join date : 28/03/2010
Age : 28
ที่อยู่ : Thailand

https://twitter.com/spellsunnn

ขึ้นไปข้างบน Go down

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Empty ดอกไม้ไทยภาคตะวันตก

ตั้งหัวข้อ by Volwar Wed May 19, 2010 11:24 am

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Fl_04

กาญจนบุรี-ดอกกาญจนิกา

กาญจนิกาเป็นพืชถิ่นเดียวของไทย พบเฉพาะตามแนวตะวันตกตั้งแต่จังหวัดกำแพงเพชรลงไปทางจังหวัดอุทัยธานี กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ขึ้นกระจายห่างๆ บนเขาหินปูนเตี้ยๆ แห้งแล้งหรือใกล้ชายทะเล ระดับความสูง 10-200 เมตร
ดอกไม้ประจำจังหวัด : กาญจนบุรี
ชื่อสามัญ : Night Flower Jasmin
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Santisukia pagetii (Craib) Brummit
วงศ์ : Bignoniaceae
ชื่ออื่น : แคขาว (กรุงเทพ); ลั่นทมขาว (กาญจนบุรี)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ 15 เมตร ใบเดี่ยวออกเป็นคู่ สลับกันไปตามข้อของต้น สีเขียวมีขนอ่อนๆ ออกดอกเป็นช่อ ตามส่วนยอดและโคนก้านใบ แต่ละช่อมีดอกประมาณ 5-8 ดอก ดอกสีขาวมี 6 กลีบ กลีบดอกจะบิดเวียนไปทางขวางคล้ายกังหัน ปลายกลีบเหมือนหางปลา วงในดอกเป็นสีแดงแสด หลอดดอกสีแง เกสรเป็นเส้นเล็กละเอียดซ้อนอยู่ในหลอดดอก มีกลิ่นหอม บานกลางคืน ออกดอกตลอดปี
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำ
สภาพที่เหมาะสม : ดินร่วนซุยระบายน้ำได้ดี ความชื้นปานกลาง แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด : ประเทศอินเดีย
ประโยชน์ : ใช้เป็นไม้ดอกประดับ

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Nan

ตาก-ดอกเสี้ยวดอกขาว

เป็นดอกไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดียและมาเลเซีย
ดอกไม้ประจำจังหวัด : ตาก, น่าน
ชื่อสามัญ : Orchid Tree, Purple Bauhinia
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bauhinia variegata L.
วงศ์ : LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น : เสี้ยวป่าดอกขาว
ลักษณะทั่วไป : ต้นสูง 5–10 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดกลม ใบเดี่ยวค่อนข้างกลม ปลายและโคนใบเว้า คล้ายใบแฝดติดกัน ใต้ใบมีขน ออกดอกเป็นช่อที่ซอกใบและปลายกิ่ง 6–10 ดอก มี 5 กลีบคล้ายดอกกล้ายไม้มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกดอกตลอดปี ดอกดกช่วง เดือนพฤศจิกายน–มีนาคม ผลเป็นฝักแบน เมื่อแก่จะแตกเป็น 2 ซีก
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : เติบโตได้ดีในดินที่ระบายน้ำดี ความชื้นสูง แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด : อินเดีย, มาเลเซีย
ประโยชน์ : ฝักแก่ เนื้อในสีน้ำตาลดำ รสหวาน เอียน ใช้เป็นยาถ่าย การทื่เนื้อฝักคูนช่วยระบายได้ เพราะในเนื้อมีสาร แอนทราควิโนน อยู่หลายชนิด วิธีการใช้โดยการใช้เนื้อในฝักแก่สีน้ำตาลดำ ประมาณ 2 หัวแม่มือ น้ำหนัก 4-5 กรัม ต้มกับน้ำ เติมเกลือเล็กน้อย ดื่มครั้งเดียวหมด ก่อนนอน หรือเช้ามืดก่อนรับประทานอาหาร เหมาะสำหรับผู้ที่ท้องผูกประจำ สตรีมีครรภ์ใช้ได้

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย %E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%94

ประจวบคิรีขันธ์-ดอกเกด

ดอกไม้ประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชื่อเกดปรากฏในเรื่อง ขุนช้างขุนแผน และ รามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 1
ดอกไม้ประจำจังหวัด : ประจวบคีรีขันธ์
ชื่อสามัญ : Milkey Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Manilkara hexandra
วงศ์ : SAPOTACEAE
ชื่ออื่น : ครินี ไรนี (ฮินดู), เกด (กลาง)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้น สูงประมาณ 8-15 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ใบสีเขียวเข้มเป็นมัน รูปทรงคล้ายรูปหัวใจ ออกดอกเป็นกลุ่ม ตามง่ามใบ ดอกสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม แต่ละดอกมี 18 กลีบ มีกลีบรองดอก 6 กลีบเรียงซ้อนกันเป็น 2 ชั้น ออกดอกช่วงเดือนมกราคม ถึง เดือนกรกฎาคม
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด และตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม : ป่าดงดิบแล้ง และป่าชายหาดทางใต้ ต้องการแสงแดดจัด ต้องการน้ำน้อย
ถิ่นกำเนิด : เอเชีย ประเทศไทยตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไป และตามเกาะต่างๆ
ประโยชน์ : ใช้เป็นไม้ดอกไม้ประดับ

เพชรบุรี-ไม่มี

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Kanlapaphruk_3

ราชบุรี-กัลปพฤกษ์

ชื่อ กัลปพฤกษ์ ในวรรณคดีถือว่าเป็น 1 ใน 5 ของไม้สวรรค์ ที่เป็นไม้สมมติเพื่อใช้ในการโปรยทาน ทิ้งทาน หรือเสียงทายเพื่อให้ได้สิ่งของใดๆ ภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Wishing tree” กัลปพฤกษ์บางครั้งเรียกว่ากำมพฤกษ์ ซึ่งลูกกัลปพฤกษ์มักใช้ลูกมะกรูดหรือมะนาว ไม้กัลปพฤกษ์ในความหมายดังกล่าวมีกล่าวในหนังสือไตรภูมิพระร่วงของพญาลิไทว่า “แลในแผ่นดินอุตรกุรุทวีปนั้น มีต้นกัลปพฤกษ์ต้นหนึ่งสูงได้ 100 โยชน์ โดยกว้างได้ ๑๐๐ โยชน์ โดยรอบบริเวณมณฑลได้ 300 โยชน์ แลต้นกัลปพฤกษ์นั้น ผู้ใดจะปรารถนาหาทุนทรัพย์ สรรพเหตุอันใด ๆ ก็ดี ย่อมได้สำเร็จในต้นไม้นั้นทุกประการแล ถ้าแลคนผู้ใดปรารถนาจะใคร่ได้เงินและทองของแก้วและเครื่องประดับนี้ทั้งหลาย เป็นต้นว่าเสื้อสร้อยสนิมพิมพาภรณ์ ก็ดี แลผ้าผ่อนแพรพรรณสิ่งใด ๆ ก็ดี แลข้าวน้ำโภชนาหารของกินสิ่งใดก็ดี ก็ย่อมบังเกิดปรากฏขึ้น แต่ค่าคบกัลปพฤกษ์นั้น ก็ให้สำเร็จความปรารถนาแก่ชนทั้งหลายนั้นแล ฯ” และมีบางตำราว่า กัลปพฤกษ์ คือต้นมะพร้าว มาจากภาษาสันสกฤต Kalapavriksha ซึ่งหมายถึงต้นไม้ที่ให้สิ่งจำเป็นแก่มนุษย์ อนึ่ง ไม้กัลปพฤกษ์มักใช้ในงานพิธีมงคลต่างๆ หรือพิธีศพของพระมหากษัตริย์
ดอกไม้ประจำจังหวัด : ราชบุรี
ชื่อสามัญ : Pink Cassia, Pink Shower, Wishing Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cassia bakeriana Craib.
วงศ์ : LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น : กัลปพฤกษ์ (ภาคกลาง, ภาคเหนือ), กานล์ (เขมร-สุรินทร์), เปลือกขม (ปราจีนบุรี)
ลักษณะทั่วไป : กัลปพฤกษ์เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 5–15 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดกลมหรือรูปร่ม แผ่กว้าง ใบประกอบขนนก ใบย่อย 5–8 คู่ ใบรูปไข่แกมขอบขนาน หรือแกมใบหอก โคนใบเบี้ยว ใบมีขนนุ่มทั้งสองด้าน ออกดอกเป็นช่อพร้อมใบอ่อนตามกิ่ง มี 5 กลีบ สีชมพู แล้วซีดจนเป็นสีขาวเมื่อใกล้โรย ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์–เมษายน ผลเป็นฝักกลมยาวมีขนนุ่ม สีเทา เมล็ด จำนวนมาก
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : เติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ทนแล้งได้ดี
ถิ่นกำเนิด : ไทย ลาว พม่า และเวียดนาม
ประโยชน์ : ฝักใช้ทำยา เนื้อไม้และเปลือกมีสารฝาดใช้ฟอกหนัง เนื้อในฝักเป็นยาระบายอ่อน ๆ ไม้เป็นไม้มงคล ปลูกประดับ

อ้างอิง

www.panmai.com
th.wikipedia.org
web3.dnp.go.th
kri.onab.go.th
www.kpflower.com
www.panyathai.or.th
www.panmai.com
th.wikipedia.org
web3.dnp.go.th
kri.onab.go.th
www.kpflower.com
www.panyathai.or.th


แก้ไขล่าสุดโดย Volwar เมื่อ Thu May 20, 2010 11:31 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
Volwar
Volwar
Webmaster
Webmaster

จำนวนข้อความ : 572
คะแนน : 770
คะแนนชื่อเสียง : 14
Join date : 23/01/2010
Age : 30
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ถนนไม่มีรถเมล์ กทม.

ขึ้นไปข้างบน Go down

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Empty Re: ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย

ตั้งหัวข้อ by *!!~AlFeiLai~!!* Wed May 19, 2010 8:55 pm

ดอกกัลปพฤกษ์ เพิ่งเคยเห็นอ่า ได้ยินแต่ชื่อTvT
ดอกกาญจนิกา สวยๆๆ เพิ่งเคยเห็น+ได้ยิน>"<
แต่อีกชื่อเป็นลั่นทมขาวซะงั้น=[ ]=;;
*!!~AlFeiLai~!!*
*!!~AlFeiLai~!!*
B Class
B Class

จำนวนข้อความ : 265
คะแนน : 299
คะแนนชื่อเสียง : 21
Join date : 28/03/2010
Age : 28
ที่อยู่ : Thailand

https://twitter.com/spellsunnn

ขึ้นไปข้างบน Go down

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Empty ดอกไม้ไทยภาคเหนือ

ตั้งหัวข้อ by Volwar Thu May 20, 2010 12:04 pm

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย 41

เชียงราย-ดอกพวกแสด

ไม้เถาเลื้อย เนื้อแข็ง อายุหลายปี ใช้มือพันเลื้อยพัน กิ่งก้านเป็นเหลี่ยม ใบเป็นใบประกอบ เรียงสลับ มีใบย่อย 3 ใบ
ดอกไม้ประจำจังหวัด : เชียงราย
ชื่อดอกไม้ : ดอกพวงแสด
ชื่อสามัญ : Orange Trumpet, Flame Flower.
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pyrostegia venusta., Miers.
วงศ์ : BIGNONIACEAE
ชื่ออื่น : พวงแสดเครือ
ลักษณะทั่วไป : พวงแสดเป็นพันธุ์ไม้เถาเลื้อยที่มีขนาดใหญ่ สามารถเลื้อยเกาะได้ไกลมากกว่า 40 ฟุต เถาอ่อนสีเขียว เมื่อแก่จะกลายเป็นสีน้ำตาล ใบเป็นใบประกอบ มี 3 ใบย่อย แต่จะมีบางใบที่เป็นคู่โดยใบย่อยที่สามที่อยู่ตรงกลางจะเปลี่ยนจากใบเป็นมือเกาะ ใบออกสลับกัน สีเขียวเข้ม ก้านใบสั้นเกือบชิดกิ่ง ใบรูปไข่ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบไม่มีจัก ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ และตามปลายกิ่งส่วนยอดดอกดกจนดูแน่นช่อ มีกลีบรองดอก เป็นรูปถ้วย หรือรูปกระดิ่งหงาย ดอกเป็นรูปทรงกรวย เรียวยาว ปลายดอกจะบานออกเป็น 4 กลีบ เมื่อดอกบานเต็มที่กลีบดอกจะงอโค้งลงข้างล่าง ดอกยาวประมาณ 5–6 เซนติเมตร ภายในดอกมีเกสรตัวผู้ 4 อัน สั้นยาวไม่เท่ากัน สั้น 2 อัน และยาว 2 อัน เกสรตัวเมีย 1 อัน อยู่ตรงกลาง สีตองอ่อน และยาวกว่าเกสรตัวผู้ พวงแสดออกดอกช่วง เดือนธันวาคม–มีนาคม ของทุกปี
การขยายพันธุ์ : ปักชำกิ่ง, ตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม : ดินร่วน ไม่ต้องการน้ำมาก แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด : ประเทศบราซิลและอาเจนตินา
ประโยชน์ : การใช้งานด้านภูมิทัศน์

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Kaw

เชียงใหม่-ทองกวาว
คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นทองกวาวไว้ประจำบ้านจะทำให้มีเงินมีทองมาก เพราะทองกวาวเป็นไม้มงคลนาม คือสามารถมีทองได้ตามธรรมชาติหรือมีทองมากนั่นเอง นอกจากนี้ดอกยังมีความสวยเรืองรองดั่งทองธรรมชาติ
ดอกไม้ประจำจังหวัด : เชียงใหม่, ลำพูน, อำนาจเจริญ, อุดรธานี
ชื่อสามัญ : Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Butea monosperma
วงศ์ : LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น : กวาว ก๋าว (ภาคเหนือ), จอมทอง (ภาคใต้), จ้า (เขมร), ทองธรรมชาติ ทองพรหมชาติ ทองต้น (ภาคกลาง), ดอกจาน (อิสาน)
ลักษณะทั่วไป : ทองกวาวเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูงประมาณ 10–15 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดรูปทรงไม่แน่นอน ส่วนใหญ่จะกลม หรือเป็นทรงกระบอก ใบประกอบมี 3 ใบ ขนาดไม่เท่ากัน ใบหนาและมีขน ใต้ใบสีเขียวอมเทา ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง คล้ายดอกถั่ว สีแสดแดงหรือเหลือง มีขน ออกดอก เดือนธันวาคม–มีนาคม ผลเป็นฝักแบน มีขนนุ่ม เมล็ด 1 เมล็ดอยู่ที่ปลายฝัก
การขยายพันธุ์ : การเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : ดินร่วนซุย แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด : อินเดีย
ประโยชน์ : ดอก ต้มดื่มเป็นยาแก้ปวด ถอนพิษไข้ ขับปัสสาวะ ฝัก ต้มเอาน้ำเป็นยาขับพยาธิ ยาง แก้ท้องร่วง เปลือก มีงานวิจัยพบว่า สารสกัดจากเปลือก ช่วยเพิ่มขนาดหน้าอกให้ใหญ่ขึ้น แต่จะลดจำนวนอสุจิ เมล็ด บดผสมมะนาว ทาบริเวณผื่นคัน ใบ ต้มกับน้ำ แก้ปวด ขับพยาธิ ท้องขึ้น ริดสีดวงทวาร ราก ต้มรักษาโรคประสาท บำรุงธาตุ

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย เสี้ยวดอกขาว%201

น่าน-ดอกเสี้ยวดอกขาว
เป็นดอกไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดียและมาเลเซีย
ดอกไม้ประจำจังหวัด : ตาก, น่าน
ชื่อสามัญ : Orchid Tree, Purple Bauhinia
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bauhinia variegata L.
วงศ์ : LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น : เสี้ยวป่าดอกขาว
ลักษณะทั่วไป : ต้นสูง 5–10 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดกลม ใบเดี่ยวค่อนข้างกลม ปลายและโคนใบเว้า คล้ายใบแฝดติดกัน ใต้ใบมีขน ออกดอกเป็นช่อที่ซอกใบและปลายกิ่ง 6–10 ดอก มี 5 กลีบคล้ายดอกกล้ายไม้มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกดอกตลอดปี ดอกดกช่วง เดือนพฤศจิกายน–มีนาคม ผลเป็นฝักแบน เมื่อแก่จะแตกเป็น 2 ซีก
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : เติบโตได้ดีในดินที่ระบายน้ำดี ความชื้นสูง แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด : อินเดีย, มาเลเซีย
ประโยชน์ : ฝักแก่ เนื้อในสีน้ำตาลดำ รสหวาน เอียน ใช้เป็นยาถ่าย การทื่เนื้อฝักคูนช่วยระบายได้ เพราะในเนื้อมีสาร แอนทราควิโนน อยู่หลายชนิด วิธีการใช้โดยการใช้เนื้อในฝักแก่สีน้ำตาลดำ ประมาณ 2 หัวแม่มือ น้ำหนัก 4-5 กรัม ต้มกับน้ำ เติมเกลือเล็กน้อย ดื่มครั้งเดียวหมด ก่อนนอน หรือเช้ามืดก่อนรับประทานอาหาร เหมาะสำหรับผู้ที่ท้องผูกประจำ สตรีมีครรภ์ใช้ได้

พะเยา-ไม่มี

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย 8

แพร่-ดอกยมหิน

เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดแพร่จังหวัดเดียว
ดอกไม้ประจำจังหวัด : แพร่
ชื่อสามัญ : Almond-wood, Chickrassy Chittagong-wood
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Chukrasia velutina Roem.
วงศ์ : MELIACEAE
ชื่ออื่น : โค้โย่ง (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), ช้ากะเดา (ใต้), ยมขาว (เหนือ), ยมหิน มะเฟืองต้น สะเดาช้าง สะเดาหิน (กลาง), ริ้งบ้าง รี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), เสียดค่าย (สุราษฎร์ธานี)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบแต่ผลิใบใหม่เร็ว เรือนยอดเป็นพุ่มรูปกรวยต่ำ เปลือกสีน้ำตาลคล้ำ สีเทาหรือ เทาปนดำ แตกเป็นร่องลึกตามยาวของลำต้น ใบเป็นใบประกอบออกเยื้องกันเล็กน้อย แผ่นใบรูปดาบ ท้องใบมีขนนุ่ม หลังใบ เกลี้ยง ดอกขนาดเล็ก สีเขียวแกมเหลือง ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ออกดอกระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์
การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : เป็นไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินทุกชนิด ต้องการน้ำและความชุ่มชื้นปานกลาง
ถิ่นกำเนิด : ป่าเบญจพรรณแล้งและชื้นทั่วไปในไทย
ประโยชน์ : ใช้เป็นไม้ดอกประดับ

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย 8

แม่ฮ่องสอน-บัวตอง

บัวตองมีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้เขตร้อน นำมาปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไปในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และแผ่กระจายอย่างรวดเร็วในธรรมชาติ กลายเป็นวัชพืชในปัจจุบัน
ดอกไม้ประจำจังหวัด : แม่ฮ่องสอน
ชื่อสามัญ : Mexican Sunflower Weed
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tithonia diversifolia (Hemsl.) A. Gray.
วงศ์ : COMPOSITAE
ชื่ออื่น : พอหมื่อนี่
ลักษณะทั่วไป : บัวตองเป็นไม้ดอกมีอายุยืนยาวหลายปีสามารถสูงได้ถึง 5 เมตร ออกดอกเป็นช่อเดี่ยวบริเวณปลายกิ่ง มีสีเหลืองคล้าย ดอกทานตะวัน แต่มีขนาดเล็กกว่า ดอกวงนอกเป็นหมัน กลีบดอกเรียวมีประมาณ 12–14 กลีบ ดอกวงในสีเหลืองส้ม เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ใบบัวตองเป็นใบเดี่ยว รูปไข่หรือแกมขอบขนาน มีขนขึ้นเล็กน้อยประปราย ปลายใบเว้าลึก 3–5 แฉก
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด : เม็กซิโก
ประโยชน์ : ใช้เป็นไม้ดอกประดับ

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย ดอกธรรมรักษา

ลำปาง-ดอกธรรมรักษา

ดอกธรรมรักษาหรือภาษาอังกฤษเรียกว่าดอก เฮลิโคเนีย มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาและหมู่เกาะคาริเบียน โดยชื่อ เฮลิโคเนียนำมาจากชื่อ เฮลิคอน ที่เป็นภูเขาสถิตของเทพธิดา 9 พระองค์ที่เรียกว่า มิวส์ (Muses) ซึ่งมีความงามเป็นอมตะเช่นเดียวกับ เฮลิโคเนียที่มีอายุยืนยาว
ดอกไม้ประจำจังหวัด : ลำปาง
ชื่อสามัญ : Heliconia
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Heliconia spp.
วงศ์ : HELICONIACEAE
ชื่ออื่น : ก้ามกุ้ง, ก้ามกั้ง, สร้อยกัทลี
ลักษณะทั่วไป : ธรรมรักษาเป็นพรรณไม้ล้มลุก อวบน้ำ มีลำต้นใต้ดิน เรียกว่า เหง้า ลักษณะคล้ายกับกล้วย ลำต้นสูงประมาณ 1–2 เมตร เจริญเติบโตโดยการแตกหน่อออกมาเป็นกอ ลักษณะใบคล้ายใบกล้วย เรียงสลับกัน มีสีเขียว ผิวเรียบเป็นมัน ขนาดของใบ ขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์ ออกดอกเป็นช่อตรงส่วนยอดของลำต้น ลักษณะช่อดอกตั้งและห้อยลงแล้วแต่ชนิดพันธุ์ ในแต่ละช่อดอกมี 4–8 ดอก ดอกมีสีส้ม แดง เหลือง และชมพู ผลคือส่วนของดอกเมื่อแก่ก็จะกลายเป็นเมล็ด
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด, แยกกอ, เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
สภาพที่เหมาะสม : ดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย แสงแดดรำไร จนถึงแสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด : อเมริกาใต้
ประโยชน์ : ใช้ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับสวยงาม และเป็นสิริมงคล

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย 21732173

ลำพูน-ดอกทองกวาว

คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นทองกวาวไว้ประจำบ้านจะทำให้มีเงินมีทองมาก เพราะทองกวาวเป็นไม้มงคลนาม คือสามารถมีทองได้ตามธรรมชาติหรือมีทองมากนั่นเอง นอกจากนี้ดอกยังมีความสวยเรืองรองดั่งทองธรรมชาติ
ดอกไม้ประจำจังหวัด : เชียงใหม่, ลำพูน, อำนาจเจริญ, อุดรธานี
ชื่อสามัญ : Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Butea monosperma
วงศ์ : LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น : กวาว ก๋าว (ภาคเหนือ), จอมทอง (ภาคใต้), จ้า (เขมร), ทองธรรมชาติ ทองพรหมชาติ ทองต้น (ภาคกลาง), ดอกจาน (อิสาน)
ลักษณะทั่วไป : ทองกวาวเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูงประมาณ 10–15 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดรูปทรงไม่แน่นอน ส่วนใหญ่จะกลม หรือเป็นทรงกระบอก ใบประกอบมี 3 ใบ ขนาดไม่เท่ากัน ใบหนาและมีขน ใต้ใบสีเขียวอมเทา ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง คล้ายดอกถั่ว สีแสดแดงหรือเหลือง มีขน ออกดอก เดือนธันวาคม–มีนาคม ผลเป็นฝักแบน มีขนนุ่ม เมล็ด 1 เมล็ดอยู่ที่ปลายฝัก
การขยายพันธุ์ : การเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : ดินร่วนซุย แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด : อินเดีย
ประโยชน์ : ดอก ต้มดื่มเป็นยาแก้ปวด ถอนพิษไข้ ขับปัสสาวะ ฝัก ต้มเอาน้ำเป็นยาขับพยาธิ ยาง แก้ท้องร่วง เปลือก มีงานวิจัยพบว่า สารสกัดจากเปลือก ช่วยเพิ่มขนาดหน้าอกให้ใหญ่ขึ้น แต่จะลดจำนวนอสุจิ เมล็ด บดผสมมะนาว ทาบริเวณผื่นคัน ใบ ต้มกับน้ำ แก้ปวด ขับพยาธิ ท้องขึ้น ริดสีดวงทวาร ราก ต้มรักษาโรคประสาท บำรุงธาตุ

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Padauk-myanmar

อุตรดิตถ์-ดอกประดู่

ต้นไม้ที่ชื่อประดู่นั้น ปัจจุบันมีอยู่หลายต้น ทั้งของดั้งเดิมในไทยเอง และที่เข้ามาจากต่างประเทศ
ดอกไม้ประจำจังหวัด : ชลบุรี, ร้อยเอ็ด, ระยอง, อุตรดิตถ์
ชื่อสามัญ : Angsana, Padauk
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pterocarpus indicus Willd
วงศ์ : LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น : สะโน (ภาคใต้)
ลักษณะทั่วไป : ลำต้นสูง 10–20 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดกลมหรือรูปเจดีย์เตี้ย แผ่กว้าง หนาทึบ ใบประกอบขนนก รูปไข่ เรียบหนา ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง มี 5 กลีบ สีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกบานแล้วร่วงพร้อมๆ กัน ออกดอกช่วงเดือน เมษายน-สิงหาคม
การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : ดินทั่วไป ชอบแสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด : อินเดีย, พม่า, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์
ประโยชน์ : ใบ รสฝาด ใช้สระผม พอก ฝี พอกแผล แก้ผดผื่นคัน เปลือก รสฝาดจัด สมานบาดแผล แก้ท้องเสีย บำรุงร่างกาย แก่น รสขมฝาดร้อน แก้คุดทะราด แก้เสมหะ เลือดกำเดาไหล แก้ไข้ บำรุงเลือด บำรุงกำลัง ขับปัสสาวะ แก้ผื่นคัน ผล แก้อาเจียน แก้ท้องร่วง มีรสฝาดสมาน เนื้อไม้ประดู่ทั้ง 2 ชนิด เป็นไม้มีค่าทางเศษฐกิจ มีคุณภาพดี เพราะเนื้อแข็ง ปลวกไม่ทำลาย สีสวย ลวดลายงดงาม เนื้อละเอียดปานกลาง ตกแต่งขัดเงาได้ดี ใช้สร้างบ้านเรือน ทำเครื่องเรือน ทำเกวียน เรือ เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ เครื่องดนตรี เป็นต้น

อ้างอิง

www.panmai.com
th.wikipedia.org
web3.dnp.go.th
www.chiangmai-thailand.net
gotoknow.org
www.moohin.com
www.thaipoem.com
www.akitia.com
Volwar
Volwar
Webmaster
Webmaster

จำนวนข้อความ : 572
คะแนน : 770
คะแนนชื่อเสียง : 14
Join date : 23/01/2010
Age : 30
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ถนนไม่มีรถเมล์ กทม.

ขึ้นไปข้างบน Go down

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Empty Re: ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย

ตั้งหัวข้อ by *!!~AlFeiLai~!!* Thu May 20, 2010 12:47 pm

ดอกทองกวาวสวยอ่า,,=w=,,
*!!~AlFeiLai~!!*
*!!~AlFeiLai~!!*
B Class
B Class

จำนวนข้อความ : 265
คะแนน : 299
คะแนนชื่อเสียง : 21
Join date : 28/03/2010
Age : 28
ที่อยู่ : Thailand

https://twitter.com/spellsunnn

ขึ้นไปข้างบน Go down

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Empty ดอกไม้ไทยภาคใต้

ตั้งหัวข้อ by Volwar Thu May 20, 2010 4:11 pm

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Tr_01

กระบี่-กระทุ้งฟ้า

ทุ้งฟ้ามีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบตั้งแต่จีน พม่า เวียดนาม กัมพูชา และภูมิภาคมาเลเซียจนถึงนิวกินี ในไทยพบทางภาคใต้ ขึ้นในป่าดิบชื้น ระดับความสูงจนถึงประมาณ 300 เมตร
ดอกไม้ประจำจังหวัด : กระบี่
ชื่อสามัญ : Indian Walnut
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alstonia macrophylla Wall.
วงศ์ : APOCYNACEAE
ชื่ออื่น :กระทุ้งฟ้าไห้, ทุ่งฟ้าไก่ (ชุมพร); ตีนเทียน (สงขลา); พรวมพร้าว (ปัตตานี)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้น สูง 15-25 เมตร ไม่ผลัดใบ ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีขาวอมเทา มีน้ำยางสีขาว ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงรอบข้อ ข้อละ 3-4 ใบ แผ่นใบรูปหอกกลับ กว้าง 3-8 ซม. ยาว 10-30 ซม. ปลายเป็นติ่งแหลม ท้องใบมีคราบสีขาว หลังใบสีขาว ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง จำนวนมาก กลีบดอกสีขาวหรือขาวอมเหลืองเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ออกดอกระหว่าง เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม
การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : เป็นไม้ที่ต้องการความชื้นมาก เจริญเติบโตได้ดีในดินที่ระบายน้ำได้ดี
ถิ่นกำเนิด : จีน พม่า เวียดนาม กัมพูชา ไทย มาเลเซีย ปาปัวนิวกินี
ประโยชน์ : ใช้เป็นดอกไม้ประดับ

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย 1176036958

ชุมพร-พุทธรักษา

พุทธรักษาเป็นดอกไม้มงคล และเป็นดอกไม้ประจำวันพ่อ มีความหมายว่าพระพุทธปกป้องรักษา
ดอกไม้ประจำจังหวัด : ชุมพร
ชื่อสามัญ : Butsarana
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Canna indica Linn.
วงศ์ : CANNACEAE
ชื่ออื่น : พุทธศร, บัวละวงศ์
ลักษณะทั่วไป : พุทธรักษาเป็นพรรณไม้ล้มลุก เนื้ออ่อนอวบน้ำ ลำต้นสูงประมาณ 1–2 เมตร มีลำต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่า เหง้า เจริญเติบโต โดยแตกหน่อเป็นกอคล้ายกล้วย ใบมีขนาดใหญ่สีเขียวโคนใบและปลายใบรีแหลม ขอบใบเรียบ กลางใบเป็นเส้นนูนเห็นชัด ใบมีก้านใบยาวเป็นกาบใบหุ้มลำต้นซ้อนสลับกัน ออกดอกเป็นช่อตรงส่วนยอดของลำต้น ช่อดอกยาวประมาณ 15–20 เซนติเมตร ประกอบด้วยดอก 8–10 ดอก และมีกลีบดอกบางนิ่ม ขนาดของดอกและสีสันแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์
การขยายพันธุ์ : การเพาะเมล็ด, แยกหน่อ
สภาพที่เหมาะสม ดินร่วนซุย : แสงแดดจัดกลางแจ้ง
ถิ่นกำเนิด : ประเทศอินเดีย
ประโยชน์ : ดอกตำพอกเพื่อห้ามเลือด รักษาหนองแผล ใบแก้จุกเสียดท้องเสีย

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย 1159073130

ตรัง-ศรีตรัง

เป็นดอกไม้และต้นไม้ประจำจังหวัดสตูลที่ปรากฏในคำขวัญประจำจังหวัดสตูล มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้
ดอกไม้ประจำจังหวัด : ตรัง
ชื่อดอกไม้ : ดอกศรีตรัง
ชื่อสามัญ : Jacaranda
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Jacaranda filicifolia D. Don.
วงศ์ : BIGNONIACEAE
ชื่ออื่น : แคฝอย (กรุงเทพฯ), ศรีตรัง (ตรัง)
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 5–10 เมตร เรือนยอดโปร่ง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกตรงกันข้าม ใบย่อยเล็ก ออกดอกเป็นช่อใหญ่ตามกิ่ง ดอกสีม่วง กลีบดอก 5 กลีบเชื่อมกันเป็นหลอด เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซ.ม. ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ผลเป็นฝักแบน เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดมีปีก
การขยายพันธุ์ : การเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : ดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
ถิ่นกำเนิด : เป็นไม้ท้องถิ่นของอเมริกาใต้
ประโยชน์ : ใช้เป็นดอกไม้ประดับ

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย ดอกราชพฤกษ์%20

นครศรีธรรมราช-ราชพฤกษ์

เป็นพืชพื้นเมืองของเอเชียใต้ ตั้งแต่ทางตอนใต้ของปากีสถาน ไปจนถึงอินเดีย พม่า และศรีลังกา นิยมปลูกเป็นไม้ประดับในพื้นที่เขตร้อนและกึ่งเขตร้อน เจริญเติบโตได้ดีที่สุดในที่โล่งแจ้ง สามารถปลูกได้ทั้งดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียว ทนต่อความแห้งแล้งและดินเค็มได้ดี แต่ไม่ทนในอากาศหนาวจัด ซึ่งอาจติดเชื้อราหรือโรคใบจุดได้
ดอกไม้ประจำจังหวัด : ขอนแก่น, นครศรีธรรมราช
ชื่อสามัญ : Golden Shower Tree, Purging Cassia
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cassis fistula Linn.
วงศ์ : LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น : คูน(อีสาน), ลมแล้ง(ภาคเหนือ), ลักเกลือ ลักเคย(ปัตตานี), อ้อดิบ(ภาคใต้), กุเพยะ(กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ชัยพฤกษ์ ราชพฤกษ์(ภาคกลาง)
ลักษณะทั่วไป : ราชพฤกษ์เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ 12–15 เมตร ลำต้นสีขาวปนเทา ผิวเรียบมีรอยเส้นรอบต้น และ รอยปมอยู่บริเวณที่เกิดกิ่ง ใบเป็นใบประกอบมีใบย่อยเป็นคู่ออกจากก้านใบ ใบย่อยมีประมาณ 4–8 คู่ ใบรี รูปไข่ โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบสีเขียว ออกดอกสีเหลือง เป็นช่อห้อยระย้าตามก้านใบ เวลาออกดอกใบจะร่วง
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : ดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียว ต้องการน้ำน้อยทนแล้ง แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด : เอเชียใต้ พม่า
ประโยชน์ : ฝักแก่ เนื้อสีน้ำตาลดำและชื้นตลอดเวลา มีรสหวาน สามารถใช้เป็นยาระบายได้ โดยนำฝักมาต้มกับน้ำ และเติมเกลือเล็กน้อย ดื่มก่อนนอนหรือก่อนรับประทานอาหาร นอกจากนั้น ฝักแก่ยังมีสารที่ออกฤทธิ์ต่อระบบ ระสาทของแมลง เมื่อนำฝักมาบดผสมน้ำแช่ทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน สารละลายที่กรองได้สามารถฉีดพ่นกำจัดแมลงและหนอนในแปลงผักได้ ฝักแก่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้มด้วยเตาเศรษฐกิจ มีขนาดที่พอเหมาะ ไม่ต้องผ่า เลื่อยหรือตัด เนื้อของฝักแก่ใช้แทนกากน้ำตาลในการทำหัวเชื้อจุลินทรีย์และจุลินทรีย์ขยาย ฝักอ่อน สามารถใช้ขับเสมหะได้
ใบ สามารถนำมาใช้ในการฆ่าเชื้อโรคได้ ดอก แก้แผลเรื้อรัง

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Yellow_Allamanda

นราธิวาส-บานบุรีสีเหลือง

เป็นดอกไม้ที่มีสีเหลืองสวยงาม มีถิ่นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกา
ดอกไม้ประจำจังหวัด : นราธิวาส
ชื่อสามัญ : Golden trumpet, Allamanda
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Allamanda cathartica Linn.
วงศ์ : APOCYNACEAE
ชื่ออื่น : บานบุรีหอม, บานบุรีแสด
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้เถาเล็ก ใบยาวกว้างปลายแหลม ดอกคล้ายดอกผักบุ้ง สีม่วง สีเหลือง หรือสีแสดตามพันธุ์ กลิ่นหอมอ่อน : ออกดอกตลอดปี
การขยายพันธุ์ : โดยการตอนกิ่ง หรือปักชำ
สภาพที่เหมาะสม ; ดินร่วนซุย แสงแดดปานกลาง
ถิ่นกำเนิด : บราซิล และอเมริกาเขตร้อน
ประโยชน์ : เปลือกและยาง ใช้แต่น้อยเป็นยาถ่ายขับน้ำดี ถ้าใช้มากจะมีฤทธิ์เป็นยาถ่ายอย่างแรง ทำให้อาเจียนได้
ใบ ใช้เป็นยาถ่าย ทำให้อาเจียน รักษาอาการจุกเสียด

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย ชบา

ปัตตานี-ดอกชบา

ดอกชบาเป็นดอกไม้เขตร้อน และเป็นดอกไม้ประจำชาติมาเลเซีย
ดอกไม้ประจำจังหวัด : ปัตตานี
ชื่อสามัญ : Shoe flower
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hibiscus spp.
วงศ์ : MALVACEAE
ชื่ออื่น : Hibiscus, Rose of China
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้พุ่มเตี้ย ดอกมีทั้งซ้อน และไม่ซ้อน มีสีต่างๆ กัน เช่น สีแดง สีเหลือง สีขาว สีชมพู สีงาช้าง มีทั้งดอกโต และดอกเล็ก ใบเป็นใบเดี่ยว รูปมน ขอบใบเป็นรอยหยัก ปลายใบแหลม ชบาเป็นไม้เนื้ออ่อนมีเปลือกไม้ค่อนข้างเหนียว
การขยายพันธุ์ : โดยการตอนกิ่ง หรือปักชำ
สภาพที่เหมาะสม : ดินร่วนซุย แสงแดดปานกลาง
ถิ่นกำเนิด : เขตร้อน จีน, อินเดีย และฮาวาย
ประโยชน์ : การจัดสวน ใช้ปลุกเป็นไม้รั้วแสดงอาณาเขตของบ้านเนื่องจากที่ทรงพุ่มค่อนข่างแน่นทึบ สามารถปลูกเป็นไม้พุ่มบังสายตาเพื่อความเป็นส่วนตัวหรือปลูกเป็นไม้ประดับแปลงให้สวยงามตลอดปี ไม้กระถาง สามารถปลูกเป็นไม้กระถางใช้ประดับอาคารหรือที่อยู่อาศัยขนาดเล็กได้ ไม้ดอกประดับเจกัน อาหารพืชในวงศ์เดียวกับชบา สามารถใช้ส่วนต่างๆ ในการทำอาหาร เช่นกระเจี๊ยบแดง (Hibiscus sabdariffa) สามารถนำกลีบเลี้ยงของผลมาต้มทำน้ำผลไม้หรือแยมได้ ใบก็สามารถใช้ทำแกงต่างๆ ได้ เป็นต้น อุตสาหกรรม สามารถสกัดเอาส่วนที่เป็นเมือกเหนียวในลำต้นของชบาทำเป็นเครื่องสำอางและน้ำยาขัดรองเท้าได้ และยังนำส่วนลำต้นที่โตเต็มที่ของ Hibiscus macrophyllus มาทำเป็ฯของเล่นเด็กได้ ยารักษาโรค รากของดอกชบา มีสารเมือกที่ใช้ทาผิวเพื่อเพิ่มความชุ่มชื่น พอกแก้ฝีและการอักเสบของแผลภายนอกได้ หรือใช้เป็นยาระบายอ่อนๆ หล่อลื่นลำไส้ เคลือบกระเพาะอาหารได้ ลำต้น นำมาต้มเป็นยาลดไข้ ยาขับประจำเดือน ดอก นำมาคั้นเอาน้ำผสมกับน้ำมันมะกอกหมักผม ช่วยให้ผมมีสุขภาพดี
การประยุกต์ใช้ในเชิงวิทยาศาสตร ชบาที่มีดอกสีม่วงสามารถนำมาทำสีน้ำหรือนำมาย้อมสีกระดาษใช้เป็นกระดาษลิตมัสสำหรับทดสอบความเป็นกรดเป็นด่างได้

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย M146602

พังงา-จำปูน

จำปูนมีเขตการกระจายพันธุ์เฉพาะแถบคาบสมุทรมลายู บอร์เนียว และชวา ในไทยพบทางภาคตะวันออก ที่จังหวัดจันทบุรี และทางภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป ขึ้นตามร่มเงาในป่าดิบชื้น ระดับความสูงไม่เกิน 200 เมตร

ดอกไม้ประจำจังหวัด : พังงา
ชื่อดอกไม้ : ดอกจำปูน
ชื่อสามัญ : Jum-poon
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anaxagorea siamensis
วงศ์ : ANNONACEAE
ชื่ออื่น : มณฑา
ลักษณะทั่วไป : เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง ต้นใบและกิ่งคล้ายๆ กระดังงา ลำต้นสูงประมาณ 10-15 เมตร กิ่งก้านจะเกลี้ยง ลำต้นตรง เปลือกเรียบมีสีเทาคล้ำ ใบสีเขียวเป็นมัน พื้นใบเกลี้ยง ยาวประมาณ 4-6 นิ้ว ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกตามยอดหรือโคนก้านใบ ลักษณะดอกจะแข็ง มีสีขาวเป็นมัน มี 3 กลีบ เมื่อบานเต็มที่ประมาณ 1 นิ้ว มีกลิ่นหอมแรงตอนกลางวัน
การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง แต่เพาะเมล็ดจะได้ผลดีกว่า
สภาพที่เหมาะสม : เป็นไม้กลางแจ้ง ขึ้นได้ในดินทุกชนิด
ถิ่นกำเนิด : ภาคใต้ของไทย มาเลเซีย เกาะบอร์เนียว เกาะชวาประเทศอินโดนีเซีย
ประโยชน์ : ใช้เป็นดอกไม้ประดับ

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Phayorm9

พัทลุง-พะยอม

คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นพะยอมไว้ประจำบ้าน จะทำให้มีอุปนิสัยที่อ่อนน้อม เพราะ พะยอม คือ การยินยอม ตกลง ผ่อนผันประณีประนอมนอกจากนี้ยังเชื่ออีกว่าจะไม่ขัดสนเพราะบุคคลทั่วไปมีความเห็นใจและยอมให้ในสิ่งที่ดีงามและยังเชื่ออีกว่าถ้าปลูกต้นพะยอมทองก็จะทำให้ไม่ขันสนเงินทองนอกจากนี้ลักษณะของดอกยังมีสีเหลืองทองและมีกลิ่นหอมหวลยวนใจอีกด้วย
ดอกไม้ประจำจังหวัด : กาฬสินธุ์, พัทลุง
ชื่อสามัญ : Shorea white Meranti
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Shorea talura Roxb.
วงศ์ : DIPTEROCARPACEAE
ชื่ออื่น : กะยอม (เชียงใหม่), ขะยอม (ลาว), ขะยอมดง พะยอมดง (ภาคเหนือ), แคน (ลาว), เชียง เซี่ยว (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), พะยอม (ภาคกลาง), พะยอมทอง (สุราษฎร์ธานี, ปราจีนบุรี), ยางหยวก (น่าน)
ลักษณะทั่วไป : พะยอมเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 15–20 เมตร ทรงพุ่มกลม ผิวเปลือกสีน้ำหรือเทา เนื้อไม้มีสีเหลืองแข็ง ลำต้นแตกเป็นร่องตามยาวมีสะเก็ดหนา ใบเป็นรูปมนรี ปลายใบแหลม โคนใบสอบมน ขอบใบเรียบ ด้านหลังใบมีเส้นใบชัด ดอกออกเป็นช่อ ใหญ่ส่วนยอดของต้น ดอกมีกลีบ 3 กลีบ โคนกลีบดอกติดกับก้านดอกมีลักษณะกลม กลีบดอกเรียบโค้งเล็กน้อย มีสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม
การขยายพันธุ์ : การเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : สภาพดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง สามารถปรับเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีมาก
ถิ่นกำเนิด : พบตามป่าผลัดใบ และป่าดิบ เป็นไม้พื้นเมืองของเอเชีย ไทย, พม่า, มาเลเซีย
ประโยชน์ : เนื้อไม้ไปใช้ในการก่อสร้าง เช่น ใช้ทำหมอนรองรางรถไฟ พื้น เป็นต้น มีสรรพคุณทางยา เปลือกต้น รสฝาด ต้มดื่มแก้ท้องร่วง แก้ลำไส้อักเสบ ฝนทาสมานบาดแผล ชำระแผลทุบใส่น้ำตาลสดกันบูด ดอก รสหอมสุขุม ปรุงเป็นยาแก้ลม บำรุงหัวใจ ลดไข้ ดอกสามารถนำมาประกอบอาหารได้

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Fl_30

ภูเก็ต-เฟื่องฟ้า

ถูกค้นพบครั้งแรกในประเทศบราซิลโดยนักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศสราว ค.ศ. 1766-1769 และได้ถูกนำไปปลูกยังส่วนต่าง ๆ ของโลก เริ่มจากยุโรป อเมริกาเหนือ และเอเชีย สำหรับในประเทศไทย มีการนำพันธุ์เฟื่องฟ้าเข้ามาจากสิงคโปร์ครั้งแรกราว พศ. 2423 ใน สมัยรัชกาลที่ 5 พันธุ์เฟื่องฟ้าในประเทศไทยมีไม่น้อยกว่าต่างประเทศ เนื่องจากเฟื่องฟ้าเจริญเติบโตได้ดีในประเทศไทย และกลายพันธุ์เกิดเป็นพันธุ์ใหม่ขึ้นมากมาย ที่จริงดอกเฟื้องฟ้าตรงใบที่เป็นสีสันต่างๆ ไม่ใช่ดอกไม้ แต่เป็นใบที่มีสีสันเพื่อล่อแมลงให้มาผสมเกสรดอกไม้ ดอกไม้ที่แท้จริงคือดอกขาวๆ ที่อยู่ข้างใน

ดอกไม้ประจำจังหวัด : ภูเก็ต
ชื่อสามัญ : Bougainvillea, Peper Flower, Kertas
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bougainvillea spp.
วงศ์ : NYCTAGINACEAE
ชื่ออื่น : ตรุษจีน, ดอกต่างใบ, ดอกกระดาษ
ลักษณะทั่วไป เฟื่องฟ้าเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางประเภทเถาเลื้อย ลำต้นมีความยาวประมาณ 1–10 เมตร มีลำเถาแข็งแรงเลื้อยไปได้ไกล ลำต้นมีหนามติดอยู่เป็นระยะๆ ลักษณะทรงพุ่มตัดแต่งได้ บังคับทิศทางการเจริญเติบโตได้ ใบเป็นใบเดี่ยวแตกตามเถา รูปไข่ปลาย ใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ พื้นใบเรียบสีเขียว ออกดอกเป็นช่อตามส่วนยอด มีกลีบดอกหรือใบประดับ 3 กลีบ ส่วนดอกจะมี ดอกเล็กสีขาว กลีบดอกจะมีขนาดและสีสันแตกต่างกันตามชนิดพันธุ์ ออกดอกตลอดปี โดยเฉพาะในฤดูแล้งจะให้ดอกดกมาก
การขยายพันธุ์ การตอน, การปักชำ, การเสียบยอด
สภาพที่เหมาะสม : ดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย แสงแดดจัด ทนแล้งได้ดี
ถิ่นกำเนิด : ประเทศบราซิล
ประโยชน์ : ดอกใช้ทำอาหาร

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย To0013a

ยะลา-พิกุล

เป็นดอกไม้ที่มีประวัติไม่มากนัก
ดอกไม้ประจำจังหวัด : กำแพงเพชร, ยะลา, ลพบุรี
ชื่อสามัญ : Bullet Wood, Spanish Cherry
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mimusops elengi Linn.
วงศ์ : SAPOTACEAE
ชื่ออื่น : กุน (ภาคใต้), แก้ว (ภาคเหนือ), ซางดง (ลำปาง), พิกุลป่า (สตูล), พิกุลเขา พิกุลเถื่อน (นครศรีธรรมราช), พิกุล (ทั่วไป)
ลักษณะทั่วไป : พิกุลเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ 8–15 เมตร เป็นพุ่มทรงกลมใบออกเรียงสลับกันใบมนรูปไข่ปลายแหลม ลักษณะโคนใบมน สอบขอบใบโค้งเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบเป็นมันสีเขียว ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกดอกเป็นกระจุกตามง่ามใบหรือยอด มีกลีบดอกประมาณ 8 กลีบ เรียงซ้อนกัน กลีบดอกเป็นจักรเล็กน้อย สีขาวนวลมีกลิ่นหอมมาก ผลรูปไข่หรือกลมรีผลแก่มีสีแสด เนื้อในเหลืองรสหวาน ภายในมีเมล็ดเดียว
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม : ดินทุกชนิด แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด : อินเดีย, พม่า และมาเลเซีย

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Ranon-002-1

ระนอง-โกมาชุม

เป็นดอกไม้ที่สวยงาม และเป้นดอกไม้ประจำจังหวัดระนอง

ดอกไม้ประจำจังหวัด ระนอง
ชื่อสามัญ : ไม่ทราบแน่ชัด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrodium formosum
วงศ์ : ORCHIDACEAE
ชื่ออื่น : เอื้องเงินหลวง
ลักษณะทั่วไป : เป็นกล้วยไม้ประเภทอิงอาศัย ลำต้นเจริญทางด้านข้าง มีลำลูกกล้วยตั้งตรง กลมค่อนข้างอ้วน ความยาวประมาณ 30–50 เซนติเมตร ที่กาบใบมีขนสีดำลักษณะใบรูปไข่ยาวรี ยาวประมาณ 10–15 เซนติเมตร ปลายใบมี 2 แฉกไม่เท่ากัน ออกดอกที่ยอด ช่อดอกสั้น ช่อหนึ่งๆ มี 3–5 ดอก กลีบดอกมีสีขาว ปากสีเหลืองส้มโคนปากสอบปลายปากเว้า มีสันนูนสองสันจากโคน ออกมาถึงกลางปาก ขนาดดอกโตประมาณ 10 เซนติเมตร มีกลิ่นหอมอ่อน ออกดอกเดือนตุลาคมถึงธันวาคม
การขยายพันธุ์ : แยกลำ
สภาพที่เหมาะสม : เป็นกล้วยไม้รากอากาศ ชอบอากาศชื้น
ถิ่นกำเนิด : บริเวณที่ราบต่ำและที่ราบสูงในประเทศอินเดีย พม่า เวียตนาม และไทย
ประโยชน์ : ใช้เป็นไม้ดอกประดับ

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Fl_44

สงขลา-สะเดาเทียม

เป็นดอกไม้สวยงาม พบตามหัวไร่ปลายนาทางภาคใต้ ตั้งแต่ชุมพรและสุราษฎร์ธานี ลงไป

ดอกไม้ประจำจังหวัด : สงขลา
ชื่อสามัญ : ไม่ทราบแน่ชัด
ชื่อวิทยาศาสตร์ Azadirachta excelsa (Jack) Jacobs
วงศ์ MELIACEAE
ชื่ออื่น ต้นเทียม ไม้เทียม สะเดาช้าง สะเดาเทียม สะเดาใบใหญ่ (ภาคใต้)
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นสูงตรงไม่มีกิ่งขนาดใหญ่ เมื่ออายุน้อยเปลือกต้นเรียบ เมื่ออายุมากเปลือกจะแตกเป็นแผ่นล่อนสีเทาปนดำ เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ ใบเป็นใบประกอบ ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ใบเบี้ยวไม่ได้สัดส่วน ปลายใบแหลมเป็นติ่ง ฐานใบเบี้ยวไม่เท่ากัน เนื้อใบหนา เกลี้ยง สีเขียวเป็นมัน ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบหรือปลายกิ่ง ดอกบานสีขาว ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม ผลทรงกลมรี ผลแก่สีเขียว เมื่อสุกจะเป็นสีเหลือง
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ดในถุงเพาะกล้าจนงอก และแข็งแรงก่อนจึงย้ายไปปลูกลงดิน
สภาพที่เหมาะสม ดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำและอากาศได้ดี
ถิ่นกำเนิด ตามเรือกสวนไร่นา แถบภาคใต้ของประเทศไทย
ประโยชน์ : ใบกับเมล็ด นำมาสกัดสารทำยาฆ่าแมลง เปลือก นำไปต้มดื่มน้ำทำเป็นยาแก้บิดและท้องร่วง

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย 36

สตูล-กาหลง

เป็นดอกไม้ที่ปรากฏในบทเห่เรือของเจ้าฟ้ากุ้ง สมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
ดอกไม้ประจำจังหวัด : สตูล
ชื่อดอกไม้ : ดอกกาหลง
ชื่อสามัญ : Galaong, Snowy Orchid Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bauhinia acuminata Linn.
วงศ์ : LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น : เสี้ยวดอกขาว, ส้มเสี้ยว (ภาคกลาง), เสี้ยวน้อย
ลักษณะทั่วไป : กาหลงเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ใบเป็นใบไม้แฝดออกสลับกันไปตามต้น ดอกขาวใหญ่ ดอกเป็นช่อมีกลิ่นหอมเล็กน้อย ดอกมี 6 กลีบ ซ้อนเหลื่อมกัน ช่อหนึ่งออกดอกประมาณ 5-8 ดอก ออกดอกตลอดปี
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม : ดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย
ถิ่นกำเนิด : ประเทศอินเดีย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ประวัติศาสตร์ 77 จังหวัดทั่วไทย Bua-Pud016-

สุราษฎร์ธานี-บัวผุด

เป็นดอกไม้ประจำชาติอินโดนีเซีย เป็นดอกไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก พบได้ใน พม่า ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เท่านั้น เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ บัวผุดที่พบในประเทศไทยได้รับการตั้งชื่อเป็นสปีชีส์ของโลกเมื่อ พ.ศ. 2527 โดย Dr.W.Meijer จากมหาวิทยาลัยเคนตักกี สหรัฐอเมริกา ตั้งชื่อพฤกษศาสตร์สากลเพื่อเป็นเกียรติแก่ Dr.A.F.G.Kerr นายแพทย์ชาวไอริช ผู้สำรวจพันธุ์ไม้ชนิดนี้เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2472 ดอกนี้ในประเทศไทยมีที่อุทยานแห่งชาติเขาสก จ.สุราษฎร์ธานี
ดอกไม้ประจำจังหวัด : สุราษฎร์ธานี
ชื่อสามัญ : Sapria Himalayana
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sapria himalayana Griff.
วงศ์ : RAFFLESIACEAE
ชื่ออื่น : กระโถนฤาษี, บัวตูม, บัวสวรรค์
ลักษณะทั่วไป : เป็นพืชกาฝากที่อาศัยน้ำเลี้ยงจากรากของเถาวัลย์น้ำอย่าง ส้มกุ้ง หรือ เครือเขาน้ำ ไม่มีใบ ไม่มีลำต้น มีเพียงดอกสีแดงประแต้มเหลืองใหญ่ราว 10 ซม. โผล่ขึ้นมาจากดินเท่านั้น
การขยายพันธุ์ : แมลงวันนำเกสรไปผสมพันธุ์กับอีกดอกหนึ่ง หากไม่มีแมลงวันพวกมันจะสูญพันธุ์
สภาพที่เหมาะสม : เป็นพืชเบียนที่อาศัยอยู่บนรากไม้อื่น เช่น ส้มกุ้ง เครือเขาน้ำ
ถิ่นกำเนิด : คายสมุทรมลายา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์
ประโยชน์ : ใช้ทำเป็นยาสมุนไพร

อ้างอิง

school.obec.go.th/
Th.wikipedia.org
www.panmai.com
www.bloggang.com
agkc.lib.ku.ac.th
brightlives.th.88db.com
www.trangzone.com
www.trangmarina.com
www.skn.ac.th
www.thainame.com
www.webindexthai.com
www.panyathai.or.th
www.thaigoodview.com
kanchanapisek.or.th
www.moohin.com


แก้ไขล่าสุดโดย Volwar เมื่อ Sat Jun 05, 2010 11:03 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
Volwar
Volwar
Webmaster
Webmaster

จำนวนข้อความ : 572
คะแนน : 770
คะแนนชื่อเสียง : 14
Join date : 23/01/2010
Age : 30
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ถนนไม่มีรถเมล์ กทม.

ขึ้นไปข้างบน Go down

หน้า 1 จาก 4 1, 2, 3, 4  Next

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ